-
Period: 9000 BCE to 2000 BCE
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
-
8000 BCE
ลุ่มแม่น้ำหวางเหอ
-วัฒนธรรมหยางเชา
-พบซากฟอสซิล "มนุษย์หลันเถียน"
-ขุดค้นมนุษย์หยวนโหม่ว -
5000 BCE
ซากโบราณสถานเมืองอุรุกซึ่งเป็นนครแห่งแรกๆ
ชาวสุเมเรียนสร้างนครรัฐที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ อูร์ (Ur) อุรุก (Uruk) ลากาซ (Lagash) และนิปเปอร์ (Nippur) เป็นต้น -
4000 BCE
แผนที่แสดงอาณาเขตรัฐที่สำคัญของชาวสุเมเรียน
ชาวสุเมเรียนคิดค้นนวัตกรรมที่สำคัญ อาทิ ตัวอักษรลิ่มคูนิสฟอร์ม (Cuneiform) ล้อเกวียน รวมไปถึงระบบตัวเลข -
4000 BCE
ลุ่มแม่น้ำฉางเจียง
-วัฒนธรรมหลงซาน
-รูปแบบภาชนะที่สำคัญ "ภาชนะ3ขา"
-เครื่องปั้นดินเผาไม่มีลวดลาย สีดำขัดเงา -
3300 BCE
ตัวอักษรลิ่มคูนิสฟอร์ม
ตามตำนานของสุเมเรียน เชื่อว่าเป็นช่วงยุคสมัยของ กิลกาเมซ (Gilgamesh) กษัตริย์กึ่งเทพตามตำนาน -
3300 BCE
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
เป็นอารยธรรมยุคสัมริดในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ ดำรงอยู่ตั้งแต่ราว 3300 BCE ถึง 1300 BCE และยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงปี 2600 BCE ถึง 1900 BCE อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ, อียิปต์โบราณ และ เมโสโปเตเมีย เป็นสามอารยธรรมยุคเริ่มแรกของโลก พื้นที่ที่เคยเป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ -
3150 BCE
อารยธรรมอียิปต์
ประมาณ 3,150 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าเมเนส (Menes) หรือนาเมอร์ (Narmer) สามารถรวบรวมเมืองต่างๆ ทั้งในอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และตั้งเมืองเมมฟิส (Memphis) เป็นเมืองหลวง ประวัติศาสตร์ของอียิปต์ยุคราชวงศ์จึงเริ่มต้นขึ้น ประวัติศาสตร์ของอียิปต์อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค -
2700 BCE
กิลกาเมซ กษัตริย์ตามตำนานของชาวสุเมเรียน
ซาร์กอนมหาราช (Sargon the Great) กษัตริย์แห่งเมืองอัคคาเดียน (Akkadian) ได้บุกพิชิตดินแดนของชาวสุเมเรียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิอัคคาเดียน (Akkadian Empire) ซึ่งเป็นจักรวรรดิแห่งแรกของโลก -
2686 BCE
ยุคราชวงศ์เริ่มแรก
โดยเริ่มตั้งแต่พระเจ้าเมเนส รวบรวมเมืองต่างๆ ได้ทั้งในอียิปต์ล้างและอียิปต์บนเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเข้าสู่ราชวงศ์ที่ 1 และ 2 ยุคนี้เป็นยุคการสร้างอียิปต์ให้มีความเป็นปึกแผ่นเข็มแข็ง -
2600 BCE
มหาปิรามิดแห่งกีซา (Giza) ของฟาโรห์คูฟู (Khufu)
เป็นพีระมิดในประเทศอียิปต์ที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุดในกลุ่มพีระมิดแห่งกีซา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัย ฟาโรห์คูฟู (Khufu) แห่ง ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งปกครองอียิปต์โบราณ เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพ ไว้รอการกลับมาคืนชีพ -
2532 BCE
สฟิงซ์ (Sphinx)
คือ องค์รักษ์ในรูปของรูปปั้นหิน ที่ถูกแกะสลักให้มีหัวและหน้าอกเป็นผู้ชาย และมีลำตัวเป็นสิงโต ชาวอียิปต์เชื่อกันว่าสฟิงซ์นั้นถูกสร้างขึ้น "เพื่อปกป้อง คุ้มครอง คอยขจัดวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารบกวน -
2500 BCE
อารยธรรมอินเดีย
อินเดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า “แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย -
2500 BCE
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในอารยธรรมอินเดีย
1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
(1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
(2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน -
2330 BCE
ซาร์กอนมหาราช (Sargon the Great)
ซาร์กอนมหาราช (Sargon the Great) กษัตริย์แห่งเมืองอัคคาเดียน (Akkadian) ได้บุกพิชิตดินแดนของชาวสุเมเรียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิอัคคาเดียน (Akkadian Empire) ซึ่งเป็นจักรวรรดิแห่งแรกของโลก -
2181 BCE
ยุคราชวงศ์เก่า
โดยเริ่มจากราชวงศ์ที่ 3 อียิปต์ประสบความวุ่นวายทางการเมือง มีการย้ายเมืองหลวงไปตามเมืองต่างๆ แต่หลังจากนั้นก็มีราชวงศ์อียิปต์ปกครองต่อมาอีก 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงษ์ที่ 9 และ 10 ในยุคนี้อียิปต์มีฟาโรห์ -
2100 BCE
อาณาเขตของจักรวรรดิอัคคาเดียน
จักรวรรดิอัคคาเดียนล่มสลาย ชาวสุเมเรียนกลับมามีอำนาจอีกครั้ง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่นครอูร์ (เรียกยุคสมัยนี้ว่า ยุคราชวงศ์อูร์ที่ 3 : Ur III) นอกจากนี้ชาวสุเมเรียน ยังริเริ่มในการสร้างศาสนสถานที่สำคัญ อย่างซิกกูแรต (Ziggurat) อีกด้วย -
2040 BCE
ยุคราชวงศ์กลาง
อยู่ในช่วง 2,040-1,782 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ อเมนเนมเฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I) จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ -
2000 BCE
ซิกูแรต ศาสนสถานของชาวสุเมเรียน
กลุ่มชนเผ่าทะเลทรายที่เรียกว่า ชาวอะมอไรต์ (Amorite) ได้บุกพิชิตดินแดนของชาวสุเมเรียน พวกเขาได้สร้างนครที่สำคัญอย่าง บาบิโลน (Babylon) -
1900 BCE
ชาวอัสซีเรีย (Assyrian)
ชาวอัสซีเรีย (Assyrian) เริ่มสร้างอำนาจอยู่ทางตอนเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย พวกเขาก่อตั้งจักรวรรดิอัสซีเรียแรก (First Assyrian Empire) -
1792 BCE
ฮัมมูราบี (Hammurabi)
ยุคสมัยแห่งฮัมมูราบี (Hammurabi) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของบาบิโลน พระองค์ได้ก่อตั้งจักรวรรดิบาบิโลน (Babylonian Empire) และเข้ายึดครองดินแดนเมโสโปเตเมียไว้ได้ทั้งหมด อีกหนึ่งผลงานชิ้นสำคัญ คือ ประมวลกฎหมายตาต่อตาฟันต่อฟัน -
1782 BCE
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่1
เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์แรกจากราชวงศ์ที่สิบสอง ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ถือว่าเป็นยุคทองของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์ -
1781 BCE
แผนที่จักรวรรดิบาบิโลน ภายใต้การนำของมูฮัมหมัด
จักรวรรดิบาบิโลน พิชิตจักรวรรดิอัสซีเรียแรก -
1776 BCE
ราชวงโจว
-แนวคิดโอรสแห่งสวรรค์ -กำเนิดลัทธิขอธิขงจื้อและลัทธิเต๋า -ประดิษฐ์เข็มและตะเกียบ -
1745 BCE
กฎหมายตาต่อตา ฟันต่อฟัน(an eye for eye, atooth for a tooth)
ในการลงโทษ กล่าวคือ ให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียวกัน -
1672 BCE
พวกฮิกโซส (Hyxsos)
การรุกรานของกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ร่อนคือ พวกฮิกโซส (Hyksos) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้ายึดครองซีเรีย ปาเลสไตน์ และเอเชียไมเนอร์ได้แล้ว เพราะพวกฮิกโซสมีความเก่งกาจในการรบกว่าชาวอียิปต์ ทำให้สามารถครอบครองอียิปต์ไว้ได้ตั้งแต่ 1,670-1,570 ปีก่อนคริสตกาล แต่เนื่องด้วยอียิปต์มีความเจริญที่เหนือกว่า พวกฮิกโซสจึงเป็นฝ่ายรับความเจริญไปจากอียิปต์ จึงทำให้อารยธรรมอียิปต์ไม่ขาดความต่อเนื่องแต่อย่างใด -
1595 BCE
ชาวคาสไซต์ (Kassite)
ชาวคาสไซต์ (Kassite) กลุ่มชนโบราณจากอิหร่าน บุกพิชิตจักรวรรดิบาบิโลน -
1570 BCE
ยุคราชวงศ์ใหม่
อยู่ในช่วง 1,570-332 ก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 18-31 เมื่อ ชาวอียิปต์ได้ก่อกบฏและมีชัยเหนือชาวฮิกโซส จึงเริ่มราชวงศ์ที่ 18 และขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนซีเรีย ปาเลสไตน์และฟินิเซีย เพาะมีอาณาเขตกว้างมากขึ้น สมัยนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “สมัยจักรพรรดิ” (Empire) -
1500 BCE
สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม) “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่
ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน -
1360 BCE
ชาวอัสซีเรีย
ชาวอัสซีเรียกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ก่อตั้งจักรวรรดิอัสซีเรียกลาง (Middle Assyrian Empire) -
1250 BCE
รถม้าศึกของชาวอัสซีเรีย
สัณนิษฐานว่า ชาวอัสซีเรียริเริ่มการใช้อาวุธที่ทำจากเหล็ก และใช้รถม้าในการทำสงคราม -
1115 BCE
ทิกลัธ พิเลเซอร์ที่ 1 (Tiglath Pileser I)
จักรวรรดิอัสซีเรียกลาง รุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัย ทิกลัธ พิเลเซอร์ที่ 1 (Tiglath Pileser I) -
Period: 1113 BCE to 1776 BCE
สมัยโบราณ
-
1112 BCE
ราชวงศ์ชาง
-ใช้ตัวหนังสือรูปภาพเขียนบนกระดองเต่าเรียกว่า"กระดูกเสี่ยงทาย"
-ทำเครื่องใช้ด้วยสำริด
-นับถือ"ชางตี้"เทพเจ้าการเพาะปลูก
-อาณัติแห่งสวรรค์ -
1000 BCE
จักรวรรดิอัสซีเรียกลางล่มสลาย
ในปลายศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช โดยถูกพิชิตจากพันธมิตรของบาบิโลนและมีดส์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอัสซีเรียมากประมาณศตวรรษหนึ่ง ถึงแม้ว่าใจกลางอัสซีเรียเสียหายหนักมากจากการพิชิตมีเดีย-บาบิโลเนียของจักรวรรดิอัสซีเรีย -
753 BCE
สองพี่น้องฝาแฝดได้รับการเลี้ยงดูจากแม่หมาป่า
ตำนานการก่อตั้งกรุงโรมปรากฏอยู่ในบันทึกของพลูทาร์ก นักปราชญ์กรีก และลิวี นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน โดยตำนานกล่าวว่า โรมุลุสและแรมุสถูกทิ้งไว้ริมแม่น้ำไทเบอร์มาตั้งแต่แบเบาะ และเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูของหมาป่า เมื่ออายุ 18 ปี โรมุลุสและแรมุสออกเดินทางจากหมู่บ้านเพื่อไปตั้งหมู่บ้านใหม่ หมู่บ้านของโรมุลุสชื่อ "โรม" หมู่บ้านของแรมุสชื่อ "รีมอเรีย" (ปัจจุบัน ไม่มีผู้ใดทราบตำแหน่งที่แน่นอนของหมู่บ้านนี้แล้ว) -
744 BCE
เริ่มต้นจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ (Neo Assyrian Empire)
-
744 BCE
ทิกลัธ พิเลเซอร์ที่ 3 (Tiglath Pileser III)
ชาวอัสซีเรียกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การนำของ ทิกลัธ พิเลเซอร์ที่ 3 (Tiglath Pileser III) เริ่มต้นจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ (Neo Assyrian Empire) -
722 BCE
ซาร์กอนที่ 2
ยุคทองของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ ภายใต้ ซาร์กอนที่ 2 (Sargon II) ผู้พิชิตบาบิโลนและอิสราเอล -
700 BCE
ชาวอัสซีเรียน
700 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ก็พ่ายแพ้ต่อชาวอัสซีเรียน และเมื่ออาณาจักรเปอร์เซียได้เข้ายึดครองเมโสโปเตเมีย อียิปต์ก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของเปอร์เซีย -
700 BCE
สมัยประวัติศาสตร์ในอารยธรรมอินเดีย
สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด – อารยัน ( Indo – Aryan ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
(1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า “บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ ( Gupta ) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว -
668 BCE
หอสมุดแห่งนิเนเวห์
ยุคสมัยของ อัสซูร์นาซิร์ปาล (Ashurbanipal) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอัสซีเรีย พระองค์ได้สร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญอย่าง หอสมุดแห่งนครนิเนเวห์ (Library of Nineveh) ) สถานที่ที่เก็บรวบรวมศาสตร์ความรู้ และบันทึกสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย -
616 BCE
นาโบโปลัสซาร์(Nabopolassar)
นาโบโปลัสซาร์ (Nabopolassar) ผู้นำของชาวคาลเดียน (Chaldean) บุกยึดครองบาบิโลน และตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลน -
612 BCE
แผนที่จักรวรรดิบาบิโลนใหม่
ต่อมานาโบโปลัสซาร์ ร่วมมือกับนครรัฐอื่น ๆ โค่นล้มจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ได้สำเร็จ นับเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ (Neo Babylonian Empire) -
600 BCE
สวนลอยบาบิโลน
เชื่อกันว่าในยุคสมัยของนาโบโปลัสซาร์ ได้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างอัศจรรย์อย่าง สวนลอยบาบิโลน (Hanging Garden of Babylon) อีกด้วย -
600 BCE
สมัยพระเวท
สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ( Indo-Aryan ) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์ -
550 BCE
ทางทิศตะวันออกของดินแดนเมโสโปเตเมีย
ทางทิศตะวันออกของดินแดนเมโสโปเตเมีย ไซรัสมหาราช (Cyrus the Great) ได้ก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซีย (Persian Empire) ขึ้นมา -
550 BCE
สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ
สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง -
539 BCE
พระเจ้าไซรัสมหาราช
จักรวรรดิเปอร์เซียของไซรัสมหาราช บุกพิชิตจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ นับแต่นั้นมา ดินแดนเมโสโปเตเมียจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย -
509 BCE
การประชุมวุฒิสภาชิกโรมัน
ระบอบกษัตริย์ของโรมันถูกล้มล้าง โรมันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) ที่ถูกปกครองโดยวุฒิสภาชิก (สภาซีเนต | Senate) ซึ่งมีกงสุล (Consult) จำนวนสองคนเป็นผู้นำ โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในแต่ละปี -
509 BCE
กษัตริย์ทั้ง 7 พระองค์ ในสมัยราชอาณาจักรโรมัน
ยุคสมัยของราชอาณาจักรโรมัน (Kingdom of Roman) ที่ถูกปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์ทั้งสิ้น 7 พระองค์ โดยมีโรมิวลุสเป็นปฐมกษัตริย์แห่งโรมัน -
332 BCE
การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
และประมาณ 332 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนอารยธรรมทั้งเมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และอียิปต์ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช -
320 BCE
สมัยจักรวรรดิคุปตะ
สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเท -
300 BCE
สมัยพุทธกาล
สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่น สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี -
264 BCE
สงครามพิวนิกระหว่างโรมันกับคาร์เทจ
โรมันทำสงครามกับจักรวรรดิคาร์เทจ (Carthage Empire) ในแอฟริกาเหนือ เกิดเป็นสงครามพิวนิก (Punic Wars) รวมทั้งสิ้นสามครั้ง สงครามจบลงด้วยชัยชนะของโรมัน -
Period: 222 BCE to
สมัยจักรวรรดิ
-
221 BCE
ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
-ปกครองแบบจิ๋นชีฮ่องเต้
-สร้างกำแพงเมืองจีน
-ใช้เหรียญกษาปณ์ -
218 BCE
ฮันนิบาลนำกองทัพช้างบุกกรุงโรม
แม่ทัพของคาร์เทจได้ยกกองทัพช้างข้ามเทือกเขาแอลป์และบุกโจมตีกรุงโรม แต่สุดท้ายกองทัพโรมันก็สามารถขับไล่กองทัพของฮันนิบาลได้ -
206 BCE
ราชวงศ์ฮั่น
-ยุคทองการค้า เส้นทางสายไหม
-ศาสนาพุทธเริ่มมา
-สอบคัดเลือกราชการ -
200 BCE
สมัยราชวงศ์กุษาณะ
สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana ) เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์ -
73 BCE
กบฏกลาดิเอเตอร์นำโดยสปาร์ตาคัสเข้าต่อสู้กับกองทัพโรมัน
สปาร์ตาคัส (Spartacus) นำเหล่านักสู้กลาดิเอเตอร์ (Gladiator) ก่อกบฏต่อโรมัน -
45 BCE
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโรมัน
ผู้เป็นคู่แข่งทางการเมืองของเขาได้ ซีซาร์สถาปนาตนเองเป็นผู้เผด็จการครองอำนาจเบ็ดเสร็จในกรุงโรมแต่เพียงผู้เดียว -
44 BCE
ซีซาร์ถูกลอบสังหารโดยเหล่าวุฒิสมาชิก
ก่อให้เป็นเกิดสงครามกลางเมืองในโรมันเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน -
31 BCE
Battle of Actium
ทายาทของซีซาร์นามว่า ออกตาเวียน (Octavian) มีชัยเหนือ มาร์ก แอนโทนี (Marc Anthony) และพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ (Cleopatra) ในยุทธนาวีแอกทีอุม (Battle of Actium) -
27 BCE
จักรพรรดิออกัสตัส จักรพรรดิพระองค์แรกของโรมัน
ออกตาเวียนเอาชนะคู่แข่งได้ทั้งหมด ยุติสงครามกลางเมืองในโรมัน ออกตาเวียนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของโรมันในนาม จักรพรรดิออกัสตัส (Augustus) จุดเริ่มต้นของยุคจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) -
43
กองทัพโรมันยึดครองเกาะอังกฤษ
โรมันยึดครองเกาะอังกฤษ -
64
จักรพรรดิเนโรเผากรุงโรม
จักรพรรดิเนโร (Nero) สั่งให้เผากรุงโรมเพื่อก่อสร้างพระราชวังใหม่ พระองค์เป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่โหดร้ายและวิปลาสมากที่สุดของโรมัน -
72
Colosseum
สนามกีฬาโคลอสเซียม (Colosseum) ถูกก่อสร้างขึ้น -
122
Hadrian Wall
โรมันก่อสร้างกำแพงฮาเดรียน (Hadrian Wall) ทางตอนเหนือของอังกฤษ เพื่อป้องกันจากการรุกรานของชนป่าเถื่อนชาวเคลต์ (Celt) -
256
ราชวงศ์จิ้น
-สิ้นสุดยุคสามก๊ก
-เหตุการณ์ 8 อ๋องชิงบัลลังก์ -
306
จักรพรรดิคอนสแตนติน
จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรกที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยก่อนหน้านั้น ศาสนาคริสต์ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในโรมัน ผู้นับถือศาสนาหลายแสนคนถูกสังหารและจับทรมาน -
380
จักรพรรดิทีโอโดเซียสที่ 1 (Theodosius)
จักรพรรดิทีโอโดเซียสที่ 1 (Theodosius) ประกาศรับรองให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำโรมัน กรุงโรมเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์นับตั้งแต่นั้น -
395
จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองส่วน
จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม กับจักรวรรดิโรมันตะวันออก (Eastern Roman Empire) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)ซึ่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือในเวลาต่อมาคือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) จะดำรงอยู่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี จนกระทั่งล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1453 -
476
กองทัพชนเผ่าเยอรมันบุกยึดกรุงโรม จุบจดจบของจักรวรรดิโรมันตะวันตก
จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายจากการรุกรานของชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribes) จุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลกยุคโบราณ และเริ่มต้นประวัติศาสตร์ยุคกลาง -
589
ราชวงศ์สุย
-ขุดคลองเชื่อมแม่น้ำหวางเหอกับแม่น้ำฉางเจียง
-สอบคัดเลือกราชการในตำแหน่ง"จอหงวน -
618
ราชวงศ์ถัง
-ยุคทองอารยธรรมจีน
-นครฉางอาน
-ศิลปะรุ่งเรือง -
960
ราชวงศ์ซ่ง
-การเดินเรือสำเภาก้าวหน้า
-ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
-รู้จักการใช้เข็มทิศ ลูกคิด
-ฝังเข็มรักษาโลก -
1206
สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี
สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี -
1279
ราชวงศ์หยวน
-มองโกลเข้ามาปกครอง(กุบไลข่าน)
-ตะวันตกติดต่อค้าขายมาก
-กุยไล ข่าน เป็นฮ่องเต้ -
1368
ราชวงศ์หมิง
-สามก๊กไซอิ๋ว
-ส่งเสริมการเดินเรือออกทะเล -
1526
สมัยจักรวรรดิโมกุล
สมัยจักรวรรดิโมกุล ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858
กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง -
ราชวงศ์ชิง
-เผ่าแมนจู
-เสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
-สงครามฝิ่น
-พระนางซูสี่ไทยเฮา เข้ามามีอิทธิพล -
Period: to
สมัยใหม่
-
สาธารณรัฐจีน
-ดร.ชุน บัตแฮน
-เป็นประชาธิปไตย
-โค่นล้มรัฐบาลแมนจูและจัดตั้งรัฐบาลประชาชน -
สมัยกลางและสมัยใหม่ในอารยธรรมอินเดีย
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947 -
สาธารณรัฐประชาชนจีน
-เหมา เจ๋อตุง ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
-ปฏิวัติทางวัฒนธรรม
-หนังสือปกแดง