Img 6959

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย-อารยธรรมอียิปต์

  • 4000 BCE

    สุเมเรียน (เมโสโปเตเมีย)

    สุเมเรียน (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นอารยธรรมโบราณและเขตบริเวณเมโสโปเตเมียตอนใต้ ชาวซูเมอร์เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณดังกล่าว เข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุก นิปเปอร์
  • 4000 BCE

    แม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส (เมโสโปเตเมีย)

    แม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาทางตะวันออกของประเทศตุรกี ยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตร ไหลผ่านชายแดนประเทศซีเรีย เข้าดินแดนอารยธรรมเมโสโปเตเมียเดิมหรือประเทศอิรักในปัจจุบัน แล้วมารวมกับแม่น้ำยูเฟรทีสใกล้เมืองบัสรา เกิดเป็นแม่น้ำใหม่คือ ชัฏฏุลอะร็อบ มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ก่อนไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย
  • 3600 BCE

    ยุคอูรุก (เมโสโปเตเมีย)

    ยุคอูรุก (เมโสโปเตเมีย)
    ยุคอูรุก (Uruk) ถือเป็นการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองในลักษณะนคร-รัฐ (city-state) และที่นี้มีวิหารสองแห่ง คือ วิหารสำหรับบูชาเทพอาทิตย์และวิหารสำหรับบูชาเทพอินันนา (Inanna) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์
  • Period: 3600 BCE to 2800 BCE

    ยุคอูรุก (เมโสโปเตเมีย)

  • 3500 BCE

    อียิปล่าง (อียิปต์)

    อียิปล่าง (อียิปต์)
    เป็นภูมิภาคทางเหนือสุดของอียิปต์ ประกอบด้วยพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์อันอุดมสมบูรณ์กั้นระหว่างอียิปต์บนกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในอดีตกาล แม่น้ำไนล์แยกออกเป็นเจ็ดสาขาที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในอียิปต์ล่าง
  • Period: 3500 BCE to 3100 BCE

    อียิปต์ล่าง (อียิปต์)

  • 3400 BCE

    อียิปต์บน (อียิปต์)

    อียิปต์บน (อียิปต์)
    เป็นภูมิภาคทางใต้ของอียิปต์ ประกอบด้วยพื้นที่หุบแม่น้ำไนล์ทางตอนใต้ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และเส้นขนานที่ 30 องศาเหนือ ดังนั้นจึงกินพื้นที่ของหุบแม่น้ำไนล์ทั้งหมดจากทางใต้ของกรุงไคโรไปจนถึงทะเลสาบนาศิร (ซึ่งเป็นทะเลสาบที่เกิดการสร้างเขื่อนอัสวาน)
  • Period: 3400 BCE to 3150 BCE

    อียิปต์บน (อียิปต์)

  • 3200 BCE

    อักษรคูนิฟอร์ม (เมโสโปเตเมีย)

    อักษรคูนิฟอร์ม (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน และอื่น ๆ
  • 3100 BCE

    ฟาโรห์เมเนส (อียิปต์)

    ฟาโรห์เมเนส (อียิปต์)
    ]) เป็นฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ตอนต้นของอียิปต์โบราณ ในบันทึกคลาสสิกระบุว่าพระองค์รวมอียิปต์บนและล่างและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์แรก
  • 3100 BCE

    ยุคก่อนราชวงศ์ (อียิปต์)

    ยุคก่อนราชวงศ์ (อียิปต์)
    อียิปต์ก่อนยุคราชวงศ์ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดจนถึงยุคราชวงศ์เริ่มแรกแห่งอียิปต์โบราณ ประมาณ 3,100 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเริ่มจากฟาโรห์องค์แรก คือ ฟาโรห์นาร์เมอร์ สำหรับนักประวัติศาสตร์อียิปต์บางคน หรือ ฟาโรห์ฮอร์-อฮา สำหรับคนอื่น ๆ โดยอาจจะหมายถึงฟาโรห์เมเนสด้วยเช่นกัน ยุคนี้เทียบเท่ากับช่วงสุดท้ายของยุคหินใหม่ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อราว 6,000 ปีก่อนคริสตศักราช และสิ้นสุดในยุค Naqada III ราว 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช
  • Period: 3100 BCE to 2686 BCE

    ฟาโรห์ปโตเลมี (อียิปต์)

  • Period: 3100 BCE to 2575 BCE

    ยุคก่อนราชวงศ์ (อียิปต์)

  • 2686 BCE

    สมัยพีระมิด (อียิปต์)

    สมัยพีระมิด (อียิปต์)
    พีระมิดในประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในพีระมิดที่เป็นที่รู้จักโดยมีหลายแห่งในประเทศอียิปต์ เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ
  • Period: 2686 BCE to 2181 BCE

    สมัยพีระมิด (อียิปต์)

  • 2334 BCE

    ซาร์กอนที่1 (เมโสโปเตเมีย)

    ซาร์กอนที่1 (เมโสโปเตเมีย)
    “ซาร์กอนที่ 1” เป็นผู้พิชิตและได้รวมเมืองต่างๆ
    เข้าด้วยกันและ ให้นครเออร์เป็นเมืองหลวง
    เมื่อชาวอัคคาเดียได้อ่อนแอลงเกิดการบุกรุกราน
    ของชนเผ่ากูติ และเปิดโอกาสอะมอไรต์มามีอำนาจ
  • 2025 BCE

    อัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)

    อัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นอารยธรรมหลักในเมโสโปเตเมียโบราณที่เริ่มต้นในฐานะนครรัฐในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช แล้วพัฒนาเป็นรัฐอาณาเขตและกลายเป็นจักรวรรดิในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช
  • Period: 2025 BCE to 609 BCE

    อัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)

  • 2000 BCE

    อมอไรต์ (เมโสโปเตเมีย)

    อมอไรต์ (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากทะเลทรายอาราเบีย โดยได้ยกกำลังเข้ายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ 1750 ก่อนคริสตกาล โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งทรงพระนามว่า ฮัมมูราบี (Hammurabi)
  • 2000 BCE

    อณาจักรบาบิโลนเก่า (เมโสโปเตเมีย)

    อณาจักรบาบิโลนเก่า (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบาบิโลนโบราณ ซึ่งอาจสื่อถึงสองจักรวรรดิต่างหากในเมโสโปเตเมียสมัยโบราณ จักรวรรดิทั้งสองนี้ประสบความสำเร็จในการครอบครองภูมิภาคในศตวรรษที่ 19 ถึง 15 ก่อน ค.ศ. และอีกครั้งในศตวรรษที่ 7 ถึง 6 ก่อน ค.ศ. นครนี้สร้างขึ้นริมแม่น้ำยูเฟรติสทั้งสองฝั่งที่มีทำนบสูงชันเพื่อกั้นน้ำหลากตามฤดูกาล พื้นที่นครโบราณตั้งอยู่ใต้ของแบกแดดในปัจจุบัน
  • Period: 2000 BCE to 1600 BCE

    อมอไรต์ (เมโสโปเตเมีย)

  • Period: 2000 BCE to 1600 BCE

    อณาจักรบาบิโลนเก่า (เมโสโปเตเมีย)

  • 1810 BCE

    ฮัมมูราบี (เมโสโปเตเมีย)

    ฮัมมูราบี (เมโสโปเตเมีย)
    กษัตริย์ชาวอามอไรท์องค์ที่ 6 และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งจักรวรรดิบาบิโลน รู้จักกันดีที่สุดในด้านกฎหมายในขณะเดียวกับความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้านการทหารที่ทำให้อาณาจักรบาบิโลนมีอำนาจมากที่สุดในแถบเมโสโปเตเมียโดยการเอาชนะพวกซูเมอร์และพวกอัคคาด
  • Period: 1810 BCE to 1750 BCE

    ฮัมมูราบี (เมโสโปเตเมีย)

  • 1750 BCE

    ฮิตไทต์ (เมโสโปเตเมีย)

    ฮิตไทต์ (เมโสโปเตเมีย)
    ฮิตไทต์ (อักษรโรมัน: Hittites) เป็นชนอานาโตเลียที่ก่อตั้งอาณาจักรแรกในคูสซารา (ก่อน 1750 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมาในกึลเทเป (ประมาณ 1750–1650 ปีก่อนคริสตกาล) ก่อนจะสถาปนาจักรวรรดิที่มีศูนย์กลางที่ฮัตทูซาทางภาคกลางตอนเหนือของอานาโตเลีย (ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล) จักรวรรดิฮิตไทต์รุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงกลางศตวรรษที่ 14 ก่อน
  • Period: 1750 BCE to 1650 BCE

    อิตไทต์ (เมโสโปเตเมีย)

  • 1600 BCE

    ยุคจักรวรรดิ (อียิปต์)

    ยุคจักรวรรดิ (อียิปต์)
    เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่รุ่งเรืองระหว่าง 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 1100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ที่สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า และยี่สิบ โดยการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีระบุจุดเริ่มต้นที่แน่นอนของราชอาณาจักรใหม่ระหว่าง 1570 ถึง 1544 ปีก่อนคริสตกาล[1] เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดของประวัติศาสตร์อียิปต์
  • Period: 1600 BCE to 1100 BCE

    ยุคจักรวรรดิ (อียิปต์)

  • 1400 BCE

    ฮิบรูหรือชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)

    ฮิบรูหรือชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนาพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่น ๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย
  • Period: 1400 BCE to 500 BCE

    ฮิบรูหรือชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)

  • 1085 BCE

    ราชวงศ์ปโตเลมี (อียิปต์)

    ราชวงศ์ปโตเลมี (อียิปต์)
    ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช
  • Period: 1085 BCE to 30 BCE

    ราชวงศ์ปโตเลมี (อียิปต์)

  • 668 BCE

    พระเข้าอัสซูร์บานิปาล (เมโสโปเตเมีย)

    พระเข้าอัสซูร์บานิปาล (เมโสโปเตเมีย)
    สมัย พระเจ้าอัสซูร์บานิปาล (668-629 B.C.) อัสซีเรียมีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด
    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
    เป็นชนเผ่าเซมิติกมาจากทะเลทรายอาหรับ
    -มีการปั้นประติมากรรมแบบนูนสูงและลอยตัว เพื่อให้อารมณ์สมจริง
    -มีความสามารถในการรบและการค้า
  • Period: 668 BCE to 629 BCE

    พระเจ้าอัสซูร์บานิปาล (เมโสโปเตเมีย)

  • 653 BCE

    ยุคปลายราชวงศ์ (อียิปต์)

    ยุคปลายราชวงศ์ (อียิปต์)
    สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ หมายถึง ช่วงเวลาความรุ่งโรจน์ช่วงสุดท้ายของผู้ปกครองแห่งอียิปต์พื้นเมือง หลังจากช่วงสมัยระหว่างกลางที่สามแห่งอียิปต์นับตั้งแต่การสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งซาอิสโดยฟาโรห์พซัมติกที่ 1 แต่รวมถึงช่วงเวลาของการปกครองโดยกษัตริย์เปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งปกครองอียิปต์
  • Period: 653 BCE to 332 BCE

    ยุคปลายราชวงศ์ (อียิปต์)

  • 612 BCE

    คาลเดียน (เมโสโปเตเมีย)

    คาลเดียน (เมโสโปเตเมีย)
    เมื่อ 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกคาลเดียน (Chaldean) ซึ่งเป็นชนเผ่าฮีบรูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสก็ สามารถเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ได้สำเร็จ และสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งและจัดตั้งเป็นอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นมา อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่เป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองมาก
  • Period: 612 BCE to 530 BCE

    คาลเดียน (เมโสโปเตเมีย)

  • 605 BCE

    พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ (เมโสโปเตเมีย)

    พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ (เมโสโปเตเมีย)
    เผ่าคาลเดีย ได่ร่วมมือกับศัตรูทางตะวันออกโจมตีและเข้ายึด
    เมืองนิเนเวห์ โดยตั้งอาณาจักรบาบิโลนขึ้นมาใหม่ กษัตริย์องค์สำคัญ คือ พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ (605-562 B.C.) สามารถโจมตีกรุงเยรูซาเลมและกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายัง
    บาบิโลนของตนได้มีการก่อสร้างและขยายเมือง
    บาบิโลนจนใหญ่โต
    ชื่อว่า “สวนลอยแห่งบาบิโลน”
  • Period: 605 BCE to 562 BCE

    พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ (เมโสโปเตเมีย)