อารยธรรมเมโสโปรเตเมีย วิชาประวัติศาสตร์ รหัส ส 22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คุณครูกมลทิพย์ สถิตย์พงษ์
-
1 CE
ข้อที่ 1 ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส
เมโสโปเตเมีย เป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม -
2
ข้อที่ 2 เป็นดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
บาบิโลเนีย อาณาจักรบาบิโลเนีย ขึ้นมา มีเมืองหลวงที่เมืองบาบิโลน ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส อาณาจักรบาบิโลเนียเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองแบบรวมศูนย์ (Centralization) มีการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์ทหาร รัฐควบคุมการค้าต่างๆ อย่างใกล้ชิด ผลงานที่สำคัญของอาณาจักรบาบิโลเนีย ได้แก่ การประมวลกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี -
3
ข้อที่ 3 ตัวอักษรของชาวสุเมเรียน
คูนิฟอร์ม หรืออักษรรูปลิ่ม หรือเป็นระบบการเขียน ที่หลากหลาย เป็นได้ทั้ง อักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ – พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” มาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่า ลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติค ตระกูลอินโด – ยุโรเปียน และอื่นๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น -
4
ข้อที่ 4 มหากาพย์เป็นวรรณกรรมของชาวสุเมเรียน
กิลกาเมช มหากาพย์กิลกาเมช (อังกฤษ: Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของเมโสโปเตเมียโบราณ เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมประเภทนิยายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นักวิชาการเชื่อว่ามหากาพย์เรื่องนี้มีกำเนิดมาจากตำนานกษัตริย์สุเมเรียนและบทกวีเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนานที่ชื่อว่า กิลกาเมช ซึ่งถูกรวบรวมเอาไว้กับบรรดาบทกวีอัคคาเดียนในยุคต่อมา มหากาพย์ชุดที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันปรากฏในแผ่นดินเหนียว 12 แท่งซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย -
5
ข้อที่ 5 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงนิเนเวห์มีความสามารถด้านการรบ
อัสซีเรียน (Assyrians) พวกอัสซีเรียนมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย เป็นชนชาตินักรบที่มีความสารถและโหดร้าย จึงเป็นที่คร้ามเกรงของชนชาติอื่น มีการควบคุมดินแดนที่อยู่ใต้การปกครองอย่างใกล้ชิด โดยสร้างถนนเชื่อมติดต่อกับดินแดนเหล่านั้นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการเดิน ทัพและติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการทหารและการรบ โดยเฉพาะการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และการใช้ทหารรับจ้างที่มีประสิทธิภาพสูง -
6
ข้อ 6 พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ได้สร้างสวนขนาดใหญ่เรียกว่า
สวนลอยบาบิโลน จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี ปัจจุบันสวนนี้ได้พังทลายไปหมดแล้ว -
7
ข้อ 7 พวกอินโดอารยันที่เข้ามารุกรานอาณาจักรบาบิโลเนียจนเสื่่อมอำนาจไป
ฮิตไทต์ ฮิตไทต์เป็นชนโบราณที่พูดภาษาตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและก่อตั้งอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ฮัตทูซา “ราชอาณาจักรฮิตไทต์” ก็รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดโดยอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตอนกลางของอานาโตเลีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียไปจนจรดอูการิต และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย หลังจากปี 1180 ก่อนคริสต์ศักราชท่ามกลางความวุ่นวายต่าง ๆ ในเลแวนต์ที่เกิดจากการรุกรานของชนทะเล จักรวรรดิฮิตไทต์ก็สลายตัวลงเป็นนครรัฐไซโรฮิตไทต์ -
8
ข้อที่ 8 ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
ฮัมบูราบี ประมวลกฎหมาย พระราชกฤษฎีกาของพระเจ้าฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้คัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำ โดยยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของคนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ "ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิด" -
9
ข้อที่ 9 ต้นกำเนิดของแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส
อาร์เมเนีย เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส (พื้นที่ของประเทศตุรกีฝั่งเอเชีย คือดินแดนที่เชื่อมต่อหรือคั่นกลางระหว่างยุโรปกับเอเชียนั่นเอง) หรือเรียกรวมเป็นที่ราบสูงอาร์มาเนียน จากนั้นไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้สู่อ่าวเปอร์เซีย ปัจจุบันนี้แม่น้ำทั้งสองไหลมารวมกันที่บาสรา แต่ในสมัยโบราณจะไหลตัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำออกจากกัน ตะกอนโคลนตมที่แม่น้ำทั้งสองพัดมาทับถมกันนั้นเป็นดินสมบูรณ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพาะปลูกและปศุสัตว์ -
10
ข้อที่ 10 ชนกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมีย
ชาวสุเมเรียน คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็น
พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ -
11
ข้อที่ 11 ชนกลุ่มนี้นิยมสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่
คาลเดียน ชาวคาลเดียนได้สวนลอยแห่งบาบิโลน ตำนานกล่าวไว้ว่า กษัตริย์"เนบูคัสเนซซาร์"เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์ โหราศาสตร์ ที่รับมาจากสุเมเรียน พระสามารถกำหนดดวงดาวสำคัญ7ดวง ได้คือดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดาวทั้ง 7 ดวงเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์ กำหนดให้ดวงดาวเหล่านี้เป็นชื่อของวันต่างๆในหนึ่งสัปดาห์แล้วพระยังให้ความสำคัญแก่ดวงดาวเพื่อใช้ในการพยากรณ์ชะตา ชีวิตมนุษย์อีกด้วย อันเป็นการวางหลักทางด้านโหราศาสตร์ให้มั่นคง -
12
ข้อที่ 12 เทวสถานขนาดใหญ่สร้างโดยชาวสุเมเรียน
ซิกกูแรต บริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur) -
13
ข้อที่ 13 พวกแอคคัด อมอไรต์ คาลเดียน
เซมิติก เป็นเผ่าเซมิติกพวกแอคคัด อมอไรต์ คาลเดียน อพยพมาจากทะเลทรายอาระเบียน มายึดครองนครรัฐของสุเมเรียน