Img 4614

เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20

  • สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น

    สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น
    สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เฉิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

  • Period: to

    สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น

    สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เฉิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง
  • การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.​ 1905

    การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.​ 1905
    เป็นคลื่นแห่งความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมในวงกว้างที่แผ่กระจายไปทั่วบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวรรดิรัสเซีย บางแห่งถูกกำกับที่รัฐบาล รวมถึงการนัดหยุดงานของคนงาน ความไม่สงบของชาวนา และการกบฏทางทหาร นำไปสู่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญรวมทั้งการจัดตั้งสภาดูมา, ระบบหลายพรรค และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญรัสเซียในปี 1906
  • Period: to

    การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905

    เป็นคลื่นแห่งความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมในวงกว้างที่แผ่กระจายไปทั่วบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวรรดิรัสเซีย บางแห่งถูกกำกับที่รัฐบาล รวมถึงการนัดหยุดงานของคนงาน ความไม่สงบของชาวนา และการกบฏทางทหาร นำไปสู่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญรวมทั้งการจัดตั้งสภาดูมา, ระบบหลายพรรค และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญรัสเซียในปี 1906
  • 1908 การปฏิวัติยานยนต์ ของเฮนรี่ ฟอร์ด

    1908 การปฏิวัติยานยนต์ ของเฮนรี่ ฟอร์ด
    1 ตุลาคม ค.ศ. 1908 บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ เปิดตัวรถยนต์ Model T ครั้งแรก ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์และกระบวนการผลิตในโรงงาน เพราะการผลิตรถยนต์รุ่นนี้ไม่ได้เน้นฝีมือมนุษย์อย่างเก่า แต่เน้นการใช้สายพานและเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานเดียวกันคราวละหลาย ๆ ชิ้น มาประกอบเป็นรถยนต์อย่างเป็นระบบ ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนการผลิตมากขึ้น วิธีดังกล่าวจึงกลายเป็นต้นแบบการผลิตของโรงงานหลากหลายประเภทมาจนถึงปัจจุบัน
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง การปฏิวัติยานยนต์ของแฮร์รี่ฟอร์ด

  • 29 ธันวาคม 1911 “ซุนยัตเซ็น” ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน

    29 ธันวาคม 1911 “ซุนยัตเซ็น” ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน
    วันที่ 29 ธันวาคม 1911 ดร.ซุนยัตเซ็น ได้รับเลือกเป็น ประธานาธิบดี ชั่วคราว ในวันที่ 1 เดือนมกราคมของปีถัดมา ดร.ซุนยัตเซ็นก็กล่าวคำปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งที่เมืองหนานจิง และประกาศสถาปนารัฐบาลจีนชั่วคราวขึ้น เนื่องจากปีคริสต์ศักราชที่ 1911 ตรงกับปีซินไฮ่ในปฏิทินจันทรคติ จึงเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติซินไฮ่” 12 กุมภาพันธ์ 1912 สิ้นสุดการปฏิวัติซินไฮ่ สงครามกลางเมืองจีนเปลี่ยนจีนกลายเป็นสาธารณรัฐ ก่อนจะล้มเหลวกลายเป็นยุคขุนศึก
  • Period: to

    29 ธันวาคม 1911 “ซุนยัตเซ็น” ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐ

    วันที่ 29 ธันวาคม 1911 ดร.ซุนยัตเซ็น ได้รับเลือกเป็น ประธานาธิบดี ชั่วคราว ในวันที่ 1 เดือนมกราคมของปีถัดมา ดร.ซุนยัตเซ็นก็กล่าวคำปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งที่เมืองหนานจิง และประกาศสถาปนารัฐบาลจีนชั่วคราวขึ้น เนื่องจากปีคริสต์ศักราชที่ 1911 ตรงกับปีซินไฮ่ในปฏิทินจันทรคติ จึงเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติซินไฮ่” 12 กุมภาพันธ์ 1912 สิ้นสุดการปฏิวัติซินไฮ่ สงครามกลางเมืองจีนเปลี่ยนจีนกลายเป็นสาธารณรัฐ ก่อนจะล้มเหลวกลายเป็นยุคขุนศึก
  • เรือไททาล่ม

    เรือไททาล่ม
    15 เม.ย. เรือไททานิก ล่ม
    (ค.ศ. 1912) เรือเดินสมุทร ไททานิก อับปางลงในมหาสมุทรแอตแลนติก หลังจากชนภูเขาน้ำแข็งเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 40 นาที ระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 ราย
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง เรือไททานิคล่ม

  • “ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์” แห่งออสเตรียถูกลอบปลงพระชนม์

    “ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์” แห่งออสเตรียถูกลอบปลงพระชนม์
    ในวันที่ 28 มิถุนายน 1914 ระหว่างเสด็จพระดำเนินด้วยรถเปิดประทุนในกรุงซาราเยโวของบอสเนีย อาร์ชดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ พร้อมด้วยพระชายาถูกลอบยิงสิ้นพระชนม์ ด้วยฝีมือของ กาฟริโล พรินซิป (Gavrilo Princip) ชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บ สมาชิกกลุ่ม Mlada Bosna (หรือ Young Bosnia ขบวนการปฏิวัติของคนรุ่นใหม่ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บ) เป็นจุดชนวนของสงครามโลกครั้งที่1
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ถูกลอบปลงพระชนม์

  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง สงครามโลกครั้งที่1

  • สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
    สงครามโลกที่กินเวลาตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นความขัดแย้งกันระหว่างสองขั้วมหาอำนาจพันธมิตร ได้แก่ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายดำเนินขึ้นในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา แปซิฟิก และพื้นที่บางส่วนของทวีปเอเชีย เป็นหนึ่งในสงครามที่มีความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยจำนวนทหารที่เสียชีวิต 9 ล้านนาย และบาดเจ็บ 23 ล้านนาย รวมทั้งพลเรือนที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่นอีก 5 ล้านคน
  • Period: to

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

    สงครามโลกที่กินเวลาตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นความขัดแย้งกันระหว่างสองขั้วมหาอำนาจพันธมิตร ได้แก่ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายดำเนินขึ้นในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา แปซิฟิก และพื้นที่บางส่วนของทวีปเอเชีย เป็นหนึ่งในสงครามที่มีความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยจำนวนทหารที่เสียชีวิต 9 ล้านนาย และบาดเจ็บ 23 ล้านนาย รวมทั้งพลเรือนที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่นอีก 5 ล้านคน
  • เรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย อับปาง

    เรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย อับปาง
    เรือลูซิเทเนียอับปางในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งที่ 202 ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 โดยเรือดำน้ำของเยอรมัน ห่างจากแหลมโอลด์เฮดออฟคินเซล ประเทศไอร์แลนด์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 11 ไมล์ (18 กิโลเมตร) ทำให้มีผู้โดยสาร ลูกเรือ และผู้ที่แอบขึ้นเรือเสียชีวิตจำนวน 1,197 คน[3] การอับปางเกิดขึ้นก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะประกาศสงครามกับเยอรมนีประมาณ 2 ปี แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้เพิ่มการสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกันภายในประเทศให้เข้าร่วมสงครามอย่างมีนัยสำคัญ
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง เรืออาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย อับปาง

  • การปฏิวัติรัสเซีย

    การปฏิวัติรัสเซีย
    การปฏิวัติค.ศ.1917เป็นช่วงเวลาของการปฏิวัติทางการเมืองและทางสังคม ที่เกิดขึ้นบนอดีตจักรวรรดิรัสเซียเดิม และเริ่มต้นขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ.1917ด้วยการล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ และสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1923 โดยการสถาปนาสหภาพโซเวียตโดยบอลเชวิค (เมื่อสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดลง)การปฏิวัติรัสเซียเกิดขึ้น2ครั้งคือการปฏิวัติครั้งแรกเป็นการล้มล้างรัฐบาลจักรวรรดิที่นำโดยจักรพรรดินีโคไลที่2และการปฏิวัติครั้งที่สองเป็นการล้มล้างอำนาจของรัฐบาลเฉพาะกาลและแทนที่ด้วยอำนาจของบอลเชวิค
  • Period: to

    การปฏิวัติรัสเซีย

    การปฏิวัติค.ศ.1917เป็นช่วงเวลาของการปฏิวัติทางการเมืองและทางสังคม ที่เกิดขึ้นบนอดีตจักรวรรดิรัสเซียเดิม และเริ่มต้นขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ.1917ด้วยการล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ และสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1923 โดยการสถาปนาสหภาพโซเวียตโดยบอลเชวิค (เมื่อสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดลง)การปฏิวัติรัสเซียเกิดขึ้น2ครั้งคือการปฏิวัติครั้งแรกเป็นการล้มล้างรัฐบาลจักรวรรดิที่นำโดยจักรพรรดินีโคไลที่2และการปฏิวัติครั้งที่สองเป็นการล้มล้างอำนาจของรัฐบาลเฉพาะกาลและแทนที่ด้วยอำนาจของบอลเชวิค
  • สิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ

    สิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ
    กลางดึกของวันที่ 17 กรกฎาคม 1918 มีคำสั่งประหารชีวิตทั้งครอบครัวของพระเจ้าซาร์ที่ห้องใต้ดิน โดยจักรพรรดินีอเล็กซานดราและแกรนด์ดัชเชสล้วนใส่เครื่องเพชรเย็บติดกับชุด ที่คาดหวังว่า จะเป็นเงินใช้จ่ายยามที่หลบหนีได้ แต่เครื่องเพชรเหล่านี้ก็กลายเป็นเกราะสะท้อนกระสุน ดังนั้น จึงเกิดการกระหน่ำกระสุนยิงซ้ำ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนเสียชีวิตจริง และถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบราชาธิปไตยในประเทศรัสเซีย
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง สิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ

  • ยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

    ยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยืดเยื้อยาวนานกว่า 4 ปี ในที่สุดเยอรมนี ในฐานะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขอเจรจาสงบศึกในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1918 จากนั้นทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ดังนั้นชาวโลกจึงนับให้วันที่ 11 เดือน 11 ของทุกปีเป็นวันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
  • สนธิสัญญาแวร์ซาย

    สนธิสัญญาแวร์ซาย
    เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับสำคัญที่สุดที่ยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้ลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แล้วก็ตาม การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสกินเวลานานกว่าหกเดือน จึงได้มีการสรุปสนธิสัญญาฯ
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง สนธิสัญญาแวร์ซาย

  • ยุทธการณ์วอร์ซอ

    ยุทธการณ์วอร์ซอ
    ยุทธการที่วอร์ซอซึ่งเป็นการสู้รบตั้งแต่วันที่ 12-25 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ในขณะที่กองทัพแดงซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาการโดยมีคาอิล ตูคาเชฟสกี ได้เคลื่อนทัพเข้าใกล้สู่กรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์และป้อมปราการมอลลินที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม กองทัพโปแลนด์ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาการโดยยูแซฟ ปิวซุดสกี ได้โจมตีตอบโต้กลับจากทางใต้ เข้าขัดขวางการรุกของข้าศึก ทำให้กองทัพรัสเซียต้องล่าถอยอย่างไม่เป็นระเบียบซึ่งไปทางตะวันออกและแนวหลังแม่น้ำเนมาน
  • การสังหารหมู่คนผิวดำที่ทัลซา

    การสังหารหมู่คนผิวดำที่ทัลซา
    ม็อบคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายและได้รับอาวุธจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลของเมืองทัลซาเข้าโจมตีผู้อยู่อาศัยผิวดำและทำลายบ้านเรือนและธุรกิจของคนผิวดำในอำเภอกรีนวูดเมืองทัลซารัฐโอคลาโฮมาของสหรัฐ บางทีเรียกการจลาจลเหตุสีผิวที่ทัลซาเหตุการณ์เดี่ยวที่เลวร้ายที่สุดใสความรุนแรงเหตุสีผิวในสหรัฐการโจมตีมีจากทั้งภาคพื้นดินและจากเครื่องบินส่วนตัวส่งผลให้ย่านคนผิวดำพื้นที่กว่า35บล็อกถูกเผาและทำลายย่านคนผิวดำที่กรีนวูดนี้ในขณะนั้นเป็นย่านคนผิวดำที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐจนเป็นที่รู้จักกันในชื่อวอลล์สตรีทของคนผิวดำ
  • ครบรอบ 100 ปี สงครามกลางเมืองไอร์แลนด์ ความขัดแย้งบนเส้นทางสู่เอกราช

    ครบรอบ 100 ปี สงครามกลางเมืองไอร์แลนด์ ความขัดแย้งบนเส้นทางสู่เอกราช
    เหตุปะทะกันระหว่างกองกำลังของผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์สองฝ่าย ที่สำนักงานศาลยุติธรรมสูงสุด 4 ศาล หรือที่เรียกกันว่า Four Courts ในกรุงดับลิน ได้กลายเป็นการจุดชนวนเริ่มต้นสงครามกลางเมืองที่ยาวนานถึงหนึ่งปีเต็ม
  • แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต

    แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต
    เป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรัชสมัยไทโชของญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1923 ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2466 เวลา 11:58:44 น. ตามเวลาในท้องถิ่น บริเวณภาคคันโต บนเกาะฮนชู มีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเล บริเวณเกาะอิซูโอชิมะ ในอ่าวซางามิ
  • “เอมิเลีย เอียร์ฮาร์ท” นักบินหญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคสำเร็จ

    “เอมิเลีย เอียร์ฮาร์ท” นักบินหญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคสำเร็จ
    "เอมิเลีย เอียร์ฮาร์ท"นักบินชาวอเมริกัน ผู้สร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้หญิงคนแรกที่บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยตัวคนเดียวได้สำเร็จ ด้วยเครื่องบินใบพัดเครื่องยนต์เดี่ยว “ลอกฮีด เวกา” โดยออกบินจากท่าเรือเกรซ เมืองนิวฟาวด์แลนด์ ประเทศแคนนาดา มุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจากที่บินมาได้ 14 ชั่วโมง 56 นาที เธอต้องพบกับสภาวะอากาศไม่ดีจึงต้องลงจอดกลางทุ่งหญ้าในเมือง Culmore ตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์
  • เปลี่ยนแปลงการปกครอง

    เปลี่ยนแปลงการปกครอง
    ในประเทศไทย เป็นปีที่ 151 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 8 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี พ.ศ. 2474 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 2475 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน ปีนี้เป็นปีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นปีที่มีการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน
  • อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

    อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
    เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933–1945 และเป็นฟือเรอร์ของเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1934–1945 ฮิตเลอร์เป็นผู้นำสูงสุดของไรช์เยอรมัน ผู้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป
  • เหตุการณ์สังหารหมู่นานกิง

    เหตุการณ์สังหารหมู่นานกิง
    เหตุการณ์สังหารหมู่นานกิงเกิดขึ้นหลังกองทัพญี่ปุ่นบุกยึดเมืองนานกิง เมืองหลวงของประเทศจีนในขณะนั้น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ก่อนจะปลดอาวุธทหารจีนเพื่อจับเป็นเชลย และเข่นฆ่าด้วยวิธีต่างๆ ทั้งการฝังทั้งเป็น ตัดศีรษะ เผา ยิง และข่มขืนผู้หญิงชาวจีนอย่างโหดเหี้ยม จนมีการขนานนามกันว่า ‘การข่มขืนนานกิง‘
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง เหตุการณ์สังหารหมู่นานกิง

  • คืนกระจกแตก

    คืนกระจกแตก
    กำลังกึ่งทหารและพลเรือนทั่วนาซีเยอรมนีระหว่างวันที่ 9–10 พฤศจิกายน 1938 ทางการเยอรมันไม่ได้เข้าแทรกแซงใด ๆ ชื่อ "คริสทัลล์นัคท์" (คืนคริสตัล) มาจากเศษกระจกแตกที่เกลื่อนพื้นถนนหลังหน้าต่างของห้างร้าน อาคารและธรรมศาลายิวถูกทุบทำลาย บริบทของเหตุดังกล่าวมาจากการลอบสังหารนักการทูตชาวเยอรมัน แอ็นสท์ ฟ็อม ราท โดย แฮร์มัน กรืนชปาน ยิวเชื้อสายเยอรมันและโปแลนด์ที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส
  • การบุกครองโปแลนด์

    การบุกครองโปแลนด์
    การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่1กันยายน1939,1สัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพอขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่17กันยายน1939หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโกซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่16กันยายนการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่6ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต
  • ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาคเอเชีย

    ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาคเอเชีย
    กองทัพญี่ปุ่นได้ส่งกำลังเข้าลอบโจมตีกองทัพสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ ณ เพิร์ลฮาร์เบอร์ บนเกาะโออาฮูของหมู่เกาะฮาวาย โดยที่สหรัฐฯ ยังไม่ทันได้ตั้งตัว เป็นการเปิดฉากสงครามของทั้งสองประเทศอย่างเต็มตัว
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง ญี่ปุ่นโจมตีเพอร์ฮาร์เบอร์

  • ยุทธการมิดเวย์

    ยุทธการมิดเวย์
    เป็นสมรภูมิสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น เป็นสงครามชี้ชะตาครั้งสำคัญ ซึ่งต่างฝ่ายต่างต้องการชัยชนะเพื่อสร้างความได้เปรียบใน สงครามโลกครั้งที่ 2 สมรภูมิแห่งนี้จึงนับว่าเป็นสมรภูมิที่มีผู้กล่าวถึงไม่น้อยไปกว่ายุทธการที่อ่าวเพิร์ล ยุทธการที่ดันเคิร์ก หรือยุทธการที่นอร์มังดี
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง ยุทธการมิดเวย์

  • การประชุมเตหะราน

    การประชุมเตหะราน
    เป็นการประชุมทางยุทธศาสตร์ของโจเซฟ สตาลิน, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากอังกฤษ-โซเวียตได้บุกเข้ายึดครองอิหร่าน ถูกจัดตั้งขึ้นในสถานทูตของสหภาพโซเวียตในเตหะราน, อิหร่าน เป็นครั้งแรกของการประชุมสงครามโลกครั้งที่สองของ
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง วันดีเดย์

  • วันดีเดย

    วันดีเดย
    เป็นวันที่ทหารกองกำลังสัมพันธมิตร 156,000 นาย ส่วนใหญ่เป็นทหารอเมริกัน อังกฤษ และแคนาดา ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีเพื่อเริ่มปฏิบัติการปลดปล่อยประเทศที่ถูกนาซียึดครอง
  • การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ

    การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
    ระเบิด Little Boy ถูกปล่อยลงมาจากระดับความสูง 9,600 เมตร เมื่อเวลาประมาณ 08.15 น. (JST) การจุดชนวนระเบิดเกิดขึ้นที่ระดับความสูง 580 เมตร และด้วยแรงระเบิด 15 กิโลตัน ส่งผลให้เมืองฮิโรชิมาทั้งเมืองถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง มีผู้เสียชีวิตทันทีกว่า 130,000 คน
  • วีดีโอเพิ่มเติมเรื่อง ระเบิดปรมาณู ถล่มฮิโรชิมา

  • สิ้นสุด “สงครามโลกครั้งที่ 2”

    สิ้นสุด “สงครามโลกครั้งที่ 2”
    สิ้นสุด “สงครามโลกครั้งที่ 2” อย่างเป็นทางการหลังญี่ปุ่นลงนามยอมจำนน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นลงนามในนามของพระจักรพรรดิ ยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 บนเรือรบมิสซูรี วันที่ 2 กันยายน 1945
  • สึนามิ อะลูเชียน

    สึนามิ อะลูเชียน
    สึนามิแปซิฟิก แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอาลิวเชียน ในปี ค.ศ. 1946 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะแลสกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน
  • นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร

    นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร
    การลอบสังหารครั้งนี้เป็นปัญหาความขัดแย้งภายในของพม่าเอง ผู้เป็นหัวหน้าการลอบสังหารคือ อูซอ นักการเมืองฝ่ายขวาที่ฝักใฝ่ฝ่ายญี่ปุ่น แต่อังกฤษสืบความลับได้ก็เลยจับอูซอเนรเทศไปอยู่ในแอฟริกา ครั้งสงครามสงบลงอูซอก็ได้รับการปลดปล่อยกลับมาพม่า กลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวาหวังว่าอูซอจะกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก แต่ก็ผิดหวังเพราะกลุ่มอูซอยังมีความขัดแย้งกับกลุ่มของนายพลออง ซาน จนกระทั่งมีการลอบสังหารในที่สุด
  • ประเทศอิสราเอลประกาศเอกราช

    ประเทศอิสราเอลประกาศเอกราช
    ประเทศอิสราเอลประกาศเอกราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 หลังสงครามครั้งที่ 2 จบลง และก่อกำเนิดสหประชาชาติ (UN) ซึ่งแบ่งปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งในปัจจุบันคือ ประเทศอิสราเอลที่นำโดยชาวยิว และอีกส่วนคือรัฐปาเลสไตน์ที่นำโดยชาวมุสลิม
  • ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

    ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
    เหมาเจ๋อตุง ผู้นำกองทัพแดงได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อหน้าฝูงชนหลายแสนคน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง สงครามเกาหลี

  • สงครามเกาหลี

    สงครามเกาหลี
    เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) (ได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต) และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) (ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐ) สงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานเกาหลีใต้
  • Period: to

    สงครามเกาหลี

    เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) (ได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต) และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) (ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐ) สงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานเกาหลีใต้
  • อนุสัญญา

    อนุสัญญา
    ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยเป็นเอกสารทางกฎหมายที่กำหนดการทำงานขั้นพื้นฐานของ UNHCR ลงนามและให้สัตยาบันโดย 146 รัฐภาคี อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดความหมายของคำว่า 'ผู้ลี้ภัย'. สิทธิของผู้ลี้ภัย ตลอดจนพันธกรณีของรัฐภาคีในการคุ้มครองผู้ลี้ภัย
  • หมอกมรณะ

    หมอกมรณะ
    ในช่วงวันที่ 5-9 ธันวาคม ค.ศ. 1952 เกิดเหตุการณ์หมอกควันปกคลุมเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในบางพื้นที่ของเมืองมองเห็นได้ไกลไม่เกิน 3 ฟุต หรือมองไม่เห็นเท้าของตัวเอง ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันคือ หมอกหรือควัน ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ พอรู้ตัวอีกทีก็มีผู้คนเริ่มเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ไปกว่า 4,000 คน
  • วิดีโอเพิ่มเติมเรื่อง หมอกมรณะลอนดอน

  • การก่อการกำเริบในเยอรมนีตะวันออก

    การก่อการกำเริบในเยอรมนีตะวันออก
    เริ่มต้นด้วยการนัดหยุดงานโดยคนงานก่อสร้างชาวเบอร์ลินตะวันออกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ก่อนเปลี่ยนเป็นการก่อการกำเริบอย่างกว้างขวางต่อรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันในวันรุ่งขึ้น ในประเทศเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวมักเรียก การก่อการกำเริบของประชาชนในเยอรมนีตะวันออก เพื่อเป็นการรำลึก วันที่ 17 มิถุนายนเคยเป็นวันหยุดราชการในเยอรมนีตะวันตกกระทั่งรวมชาติ
  • การประชุมเจนีวา

    การประชุมเจนีวา
    เป็นการประชุมซึ่งมีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก คือ ความพยายามที่จะหาหนทางรวมประเทศเกาหลี ประการที่สอง คือ อภิปรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูสันติภาพในอินโดจีน
  • เวียดนาม ลงมติถอดถอนกษัตริย์

    เวียดนาม ลงมติถอดถอนกษัตริย์
    โงดิ่นเสี่ยมประกาศว่าการลงประชามติเพื่อถอดถอนเบ๋าได่ออกจากตำแหน่งจะมีขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคมปีเดียวกัน การประกาศวันลงประชามติในระยะเวลาที่กระชั้นชิดเช่นนี้ ทำให้เบ๋าได่ไม่สามารถแก้ต่างการข้อมูลในทางลบที่เผยแพร่จากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวได้ ในสายตาของชาวเวียดนามใต้ เบ๋าได่คือกษัตริย์ที่ไร้คุณธรรม
  • การปฏิวัติฮังการี

    การปฏิวัติฮังการี
    เป็นการจลาจลทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนฮังการีและนโยบายที่กำหนดโดยสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ในครั้งนี้นับเป็นภัยคุกคามต่อการปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรก นับแต่กองกำลังโซเวียตมีชัยชนะเหนือกองกำลังนาซีในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ายึดครองยุโรปตะวันออก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ถึงแม้ว่าการก่อการครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่มีความสำคัญนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในหลายทศวรรษต่อมา
  • ยานสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจรโลก

    ยานสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจรโลก
    สหภาพโซเวียต ได้ส่งสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นดาวเทียมแรกของมนุษย์ที่ส่งขึ้นสู่อวกาศ จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์ คอสโมโดรมในประเทศคาซัคสถาน
  • ปีศาจแดง

    ปีศาจแดง
    นักเตะ 8 คน และเจ้าหน้าที่อีก 3 คน ของสโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด “ปีศาจแดง” ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินระเบิดในมิวนิค ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 23 ราย
  • กีฬาแหลมทอง

    กีฬาแหลมทอง
    การแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งแรกและเป็นรอบปฐมฤกษ์ของมหกรรมกีฬาสองปีครั้งสำหรับนักกีฬาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งบริหารโดยสหพันธ์กีฬาแหลมทอง โดยจัดขึ้นที่กรุงเทพ ประเทศไทย
  • ประชาชนกว่า 7 แสนคน รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บนถนนบรอดเวย์

    ประชาชนกว่า 7 แสนคน รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บนถนนบรอดเวย์
    เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1960 (พ.ศ.2503) ประชาชนกว่า 7.5 แสนคน (จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ) ได้มาเฝ้ารอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งประทับรถยนต์พระที่นั่งเปิดประทุนมาพร้อมกับขบวนพาเรด บนถนนโลเวอร์บรอดเวย์ (Lower Broadway) นครนิวยอร์ก โดยมีแถบกระดาษขนาดเล็กจำนวนมากโปรยปรายลงมาระหว่างการเคลื่อนขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของการต้อนรับขบวนพาเรดในนครนิวยอร์ก
  • การสังหารหมู่ที่ปารีส

    การสังหารหมู่ที่ปารีส
    มอริส ปาปง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลปารีส บัญชาการให้ตำรวจฝรั่งเศสเข้าโจมตีผู้ชุมนุมประท้วงราว 30,000 คนที่สนับสนุนขบวนการแอ็ฟแอลแอนของชาวแอลจีเรีย ในปี 1988 หรือ 37 ปีหลังการปิดกั้นและปฏิเสธ รัฐบาลฝรั่งเศสออกแถลงการณ์รับรู้จำนวนผู้เสียชีวิต 40 ราย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนประมาณจำนวนผู้เสียชีวิตชาวแอลจีเรียอยู่ที่ 200 ถึง 300 รายในเหตุการณ์การเสียชีวิตเป็นผลจากการทำร้ายร่างกายโดยตำรวจไปจนถึงการจมน้ำจากการที่ตำรวจโยนผู้ประท้วงลงในแม่น้ำแซน
  • วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

    วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
    เป็นการเผชิญหน้ากันเป็นเวลากว่า 1 เดือน ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต และคิวบาอีกฝ่ายนึง ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นวิกฤตระดับนานาชาติ มันมีจุดตั้งต้นเมื่อสหรัฐฯ นำขีปนาวุธของตนไปติดตั้งไว้ในอิตาลีและตุรกี ขณะที่ฝ่ายสหภาพโซเวียตก็ตอบโต้โดยการนำขีปนาวุธที่คล้าย ๆ กันของพวกเขามาติดตั้งไว้ในคิวบา ชาวรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวิกฤตการณ์แคริบเบียน ส่วนชาวคิวบาเรียกมันว่าวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม
  • การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี

    การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี
    จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีลำดับที่ 35 แห่งสหรัฐ เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน คือ.ศ 1963 เวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ เดลลีย์พลาซา เมืองแดลลัส รัฐเท็กซัส ประธานาธิบดีเคนเนดีถูกยิงถึงแก่ชีวิตระหว่างที่นั่งขบวนรถประธานาธิบดีไปกับภรรยาของเขา แจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิส
  • การถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมครั้งแรกของพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน

    การถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมครั้งแรกของพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
    การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 18 จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 -18 ตุลาคม ค.ศ. 1964 นับเป็นการเป็นเจ้าภาพครั้งแรกของญี่ปุ่นและของทวีปเอเชีย
  • เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์

    เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์
    เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ ก่อนถูกปฏิวัติโดยประชาชน
    เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส คืออดีตประธานาธิบดีของฟิลลิปปินส์ที่ครองอำนาจยาวนานถึง 22 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 1965 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1986 โดยระหว่างที่อยู่ในอำนาจ เขาสร้างภาพจำของตัวเองเป็นทรราชผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเข่นฆ่าประชาชนผู้เห็นต่างภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึกที่ยาวนานเกือบทศวรรษ นอกจากนี้เขายังสร้างความอื้อฉาวจากการคอร์รัปชันท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน
  • ภัยพิบัติแห่งเมืองอะเบอร์ฟาน

    ภัยพิบัติแห่งเมืองอะเบอร์ฟาน
    วันที่ 21 ตุลาคม 1966 ชีวิตของเด็ก ๆ 116 คน และผู้ใหญ่ 28 คน ต้องจบลงใต้กองเถ้าถ่าน เมื่อกองของเสียจากเหมืองแร่ถ่านหินที่เรียงรายอยู่รอบหมู่บ้า นของชาวเหมืองในเมืองอะเบอร์ฟาน แคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร ได้ถล่มลงมาทับบ้านและโรงเรียน
  • ฮ่องกงนองเลือด

    ฮ่องกงนองเลือด
    ที่ชาวฮ่องกงนับล้านคนพากันเดินออกไปที่ถนนเพื่อประท้วงร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนอันเป็นชนวนจุดติดให้ประชาชนคนหนุ่มสาวฮ่องกงจำนวนมากลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลฮ่องกงที่พวกเขาเชื่อว่าอยู่ใต้เงาปักกิ่ง เพราะมองว่ากฎหมายนี้เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อความเป็นอิสระของฮ่องกง และหัวหน้าผู้บริหาร แคร์รี่ ลัม ก็เป็นตัวแทนของปักกิ่งมากกว่าชาวฮ่องกง
  • เดินขบวนต่อต้านสงครามเวียดนามในอังกฤษ

    เดินขบวนต่อต้านสงครามเวียดนามในอังกฤษ
    ชาวอังกฤษหลายพันคนออกมาเดินขบวนต่อต้านสงครามเวีย ดนามหน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงลอนดอน เหตุการณ์ทวีความรุนแรงจนมีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 200 ราย
  • นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ก้าวเท้าเหยียบดวงจันทร์

    นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ก้าวเท้าเหยียบดวงจันทร์
    นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ก้าวเท้าเหยียบดวงจันทร์ พร้อมกับกล่าวคำพูดว่า “นี่เป็นก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ”
  • เหตุการณ์เงินเฟ้อครั้งใหญ่ ในสหรัฐอเมริกา

    เหตุการณ์เงินเฟ้อครั้งใหญ่ ในสหรัฐอเมริกา
    เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาด บวกกับการถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤติน้ำมัน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา เคยพุ่งขึ้นไปสูงถึง 13.5%
  • ก่อการร้ายระหว่างแข่งกีฬาโอลิมปิกที่มิวนิก

    ก่อการร้ายระหว่างแข่งกีฬาโอลิมปิกที่มิวนิก
    เกิดเหตุคนร้ายชาวปาเลสไตน์บุกเข้าไปหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี จับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมอิสราเอล 11 คน
    โดยช่วงเช้ามืดของวันที่ 6 กันยายน ตำรวจเยอรมนีเริ่มปฏิบัติการจนเกิดการยิงปะทะกัน ผู้ก่อการร้ายจึงกราดยิงใส่ตัวประกัน และขว้างระเบิดมือถล่มซ้ำจนตัวประกันทั้งหมดเสียชีวิต
  • บทเรียนจากชิลี

    บทเรียนจากชิลี
    วันที่ 11 เดือนกันยายนที่ผ่านมา คือวันครบรอบ 50 ปีของรัฐประหารโหด ที่กองทัพชิลีร่วมกับสหรัฐอเมริกา ใช้ในการโค่นล้มรัฐบาลสังคมนิยมประชาธิปไตยของประธานาธิบดี ซัลบาดอร์ อาเยนเด หลังจากรัฐประหารครั้งนั้นมีการกวาดล้างฆ่า ทรมาน และจำคุกนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายจำนวนมาก และมีการริเริ่มใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้วภายใต้เผด็จการทหารฝ่ายขวาของนายพลปิโนเชต์
  • การปฏิวัติในปี 1974

    การปฏิวัติในปี 1974
    เมื่อทหารและพลเรือนร่วมกันทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการซึ่งครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1926 โดยประธานาธิบดีโอลิเวียรา ซาลาซาร์ เผด็จการครองอำนาจยาวนานที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จนกระทั่งถูกโค่นโดยเผด็จการอีกคนหนึ่งในปี1968ก่อนจะถูกปฏิวัติในปี 1974
    การปฏิวัติในปี1974เรียกกันว่าCarnation Revolutionเพราะประชาชนออกมาให้กำลังใจทหาร นำดอกคาร์เนชั่นไปให้ ทหารก็เอาดอกไม้ดังกล่าวเสียบที่ปากกระบอกปืนเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติแบบสันติ มีเด็กๆ ออกไปถ่ายรูปและเล่นกับทหารตามถนน2
  • สื่อต่างชาติกับชัยชนะ

    สื่อต่างชาติกับชัยชนะ
    เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมปี 1975 สำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสรายงานว่า “ในปี 1975 เหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียคือชัยชนะในวันที่ 30 เมษายนของเวียดนาม และเหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบไม่น้อยต่อภูมิภาคและโลกในอนาคตที่ใกล้นี้” พร้อมทั้งระบุว่า วันที่ 30 เมษายนเป็นการสะท้อนภาพรวมแห่งสงครามอย่างแท้จริงและเป็นการย้ำเตือนให้มนุษย์ต้องพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อไม่ให้เกิดสงครามเช่นนี้อีกครั้ง
  • การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    เป็นการปราบปรามอย่างรุนแรงถึงชีวิตของตำรวจและการลงประชาทัณฑ์ของกำลังกึ่งทหารและคนมุงฝ่ายขวาต่อนักศึกษาและผู้ประท้วงฝ่ายซ้ายในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง เป็นการปิดฉากการประท้วง การเดินขบวนและการยึดพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษา กรรมกรและผู้ประท้วงซึ่งต่อต้านการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2519 ในวันที่ 6 ตุลาคม ตำรวจใช้อาวุธสงครามปราบปรามการประท้วง
  • อาร์เจนตินาในยุคเผด็จการ

    อาร์เจนตินาในยุคเผด็จการ
    ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปีค.ศ.1978 รอบชิงชนะเลิศ ทีมชาติอาร์เจนตินาสามารถเอาชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไปได้ด้วยสกอร์ 3-1 จากการทำประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษของ มาริโอ เคมเปส (Mario Kempes) และ ดาเนียล เบอร์โตนิ (Daniel Bertoni) พวกเขาคว้าแชมป์โลกเป็นสมัยแรก และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ท่ามกลางซากปรักหักพังที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ การอุ้มฆ่าคนเห็นต่าง หรือการคอร์รัปชันที่อื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ
  • ซิมบับเวได้รับการรับรองเอกราช

    ซิมบับเวได้รับการรับรองเอกราช
    ปี 1980 สหราชอาณาจักรซึ่งไม่เคยยอมรับเอกราชของโรเดเซีย ได้กำหนดการปกครองโดยตรงในช่วงสั้นๆ เพื่อมอบเอกราชในวันที่ 18 เมษายนของปีนั้นในฐานะประเทศซิมบับเวใหม่ ในช่วงทศวรรษ 2000 เศรษฐกิจของซิมบับเวเริ่มเสื่อมโทรมลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆนำโดยสหราชอาณาจักรและการทุจริตในรัฐบาลที่แพร่หลายความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจทำให้ชาวซิมบับเวจำนวนมากอพยพออกไป ก่อนที่จะได้รับการรับรองเอกราชในชื่อซิมบับเวในปี 1980 ประเทศนี้รู้จักกันในชื่อต่างๆ มากมาย ได้แก่โรเดเซียโรเดเซียใต้และซิมบับเวโรเดเซีย
  • การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์

    การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์
    การระเบิดของภูเขาไฟและการไหลของหินภูเขาไฟเริ่มขึ้นที่ภูเขาเซนต์เฮเลนส์ในเขตสกามาเนียรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาการระเบิดของหินภูเขาไฟเกิดขึ้นหลายครั้งจากยอดเขาและทวีความรุนแรงขึ้นจนกระทั่งเกิดการปะทุครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เวลา 8.32 น. การปะทุครั้งนี้ซึ่งมีดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟอยู่ที่ 5 ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ นับตั้งแต่การปะทุของ ยอดเขาลาสเซน
  • เผด็จการทหารของชิลี

    เผด็จการทหารของชิลี
    การปกครองแบบเผด็จการทหารแบบเบ็ดเสร็จ ปกครองชิลีเป็นเวลา 17 ปี ระหว่างวันที่ 11 กันยายน 1973 ถึง 11 มีนาคม 1990 การปกครองแบบเผด็จการนี้เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลสังคมนิยมที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของซัลวาดอร์ อัลเลนเดถูกโค่นล้มโดยการ ทำ รัฐประหารที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 1973 ในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศนี้ถูกปกครองโดยคณะทหารที่นำโดยนายพลออกุสโต ปิโนเชต์กองทัพใช้การล่มสลายของระบอบประชาธิปไตยและวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงที่อัลเลนเด
  • การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

    การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
    เป็นกระบวนการของการสลายตัวภายในประเทศของสหภาพโซเวียต (สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย) ได้ประกาศว่าสหภาพสิ้นสุดการดำรงอยู่ ร่วมกับอีกสิบเอ็ดสาธารณรัฐในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประธานาธิบดี มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ต้องลาออกและส่วนที่เหลืออยู่ของรัฐสภาโซเวียตได้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ