-
2070 BCE
ราชวงศ์เซีย
ภาพโบราณวุตถุในราชวงศ์เซีย
เริ่มต้นการครองราชย์โดยการสืบสายโลหิต เป็นราชวงศ์แรกที่ ปกครองแบบพ่อสืบทอดให้ลูก โดยเริ่มจากพระเจ้าเซี่ยหวี่ ถึง พระเจ้าลวี่กุ่ย (เซี่ยเจี๋ย) เป็นช่วงที่ผู้ปกครองมักใช้อำนาจใน การยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว
เป็นช่วงที่ผู้ปกครองไม่สนใจในการปกครองมีการแย่งชิง อำนาจ ในที่สุดถูกพวกซางรุกรานและยึดครอง -
Period: 2070 BCE to 1600 BCE
ราชวงศ์เซีย(จีน)
(ประมาณ 2070 - 1600 ปีก่อนคริสตกาล): ราชวงศ์แรกของจีนที่กล่าวถึงในบันทึกโบราณ -
1766 BCE
ราชวงศ์ยิน
ราชวงศ์ยิน (จีน)
ศูนย์กลางความเจริญอยู่บริเวณแม่น้ำเหลืองในมลฑลเหอหนัน เหอ เป่ย ซันตุง เรื่องราวของราชวงศ์นี้ได้มาจากอักษรจีนที่จารึกบน กระดองเต่าและกระดูกวัว มีการแบ่งอาณาเขตเป็นแคว้นขึ้นต่อ กษัตริย์ การปกครองคล้ายระบบศักดินา มีชนชั้นปกครองที่ เข้มแข็งกองทัพมีประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องทำสงครามเผ่าต่า ตลอดเวลา และสร้างระบบความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ -
1600 BCE
ราชวงศ์ชาง
ศิลปวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ชาง (Shang Dynasty) ประมาณ 1600 ปีก คริสตกาล มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณลุ่มน้ำฮวงโห งานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น -การเขียนตัวอักษรบนกระดูกสัตว์ เพื่อทำเป็นกระดูกเสี่ยงทาย -การทำเครื่องสำริดโลหะ เช่นอาวุธ ภาชนะ -การทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องหยก เครื่องเคลือบ -
1600 BCE
ศิลปะราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์ซาง (จีน)
เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin Dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป -
Period: 1600 BCE to 1046 BCE
ราชวงศ์ชาง(จีน)
ราชวงศ์ชาง (ประมาณ 1600 - 1046 ปีก่อนคริสตกาล): พัฒนาการในด้านการใช้ตัวอักษรจีนและเครื่องทองเหลือง -
1046 BCE
ราชวงศ์โจว
ราชวงศ์โจว (จีน)
ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว -
Period: 1046 BCE to 256 BCE
ราชวงศ์โจว(จีน)
ราชวงศ์โจว (ประมาณ 1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล): การพัฒนาทางปรัชญา เช่น ขงจื๊อและเต๋า -
259 BCE
จิ๋นซีฮ่องเต้(จีน)
จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนทรงก่อตั้งราชวงศ์ฉิน และไม่ทรงใช้ตำแหน่ง หวัง เหมือนพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ชางและราชวงศ์โจวก่อนหน้านี้ แต่ทรงใช้ตำแหน่ง หฺวังตี้ อันเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์จีนทรงใช้สืบ ๆ กันมาอีกสองพันปีเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้” ผู้เป็นจักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนนั้น ท่านได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 ยอดฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลแห่งดินแดน -
221 BCE
ราชวงศ์ฉิน
ราชวงศ์ฉิน เป็นราชวงศ์แรกของจักรวรรดิจีน ปกครองแผ่นดินในช่วง 221 – 206 ก่อน ค.ศ. ชื่อมาจากรัฐฉิน ราชวงศ์ฉินก่อตั้งโดยจักรพรรดิฉินฉื่อ จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ จากการปฏิรูปกฎหมายของชาง ยาง ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. ในยุครณรัฐ ส่งผลให้รัฐฉินแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงกลางและปลายศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. -
Period: 221 BCE to 206 BCE
ราชวงศ์ฉิน
ราชวงศ์ฉิน (221 - 206 ปีก่อนคริสตกาล): การรวมจีนเป็นจักรวรรดิครั้งแรก สร้างกำแพงเมืองจีน -
Period: 206 BCE to 220
ราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220): การค้าขายผ่านเส้นทางสายไหมและการขยายวัฒนธรรมจีน -
202 BCE
ราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นไท่จู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น 2 ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก -
159 BCE
หลิวปัง(ราชวงศ์ฮั่น)
ในปี159ก่อนค.ศ. จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ถึงแก่สวรรคต จักรพรรดิฮั่นฮุ่ยตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อ แต่ขณะนั้น อำนาจตกอยู่ในมือของพระนางลวี่จื้อพระมเหสีของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ พระมเหสีลวี่จื้อได้ครองอำนาจอยู่นาน16ปี นับเป็นผู้ปกครองหญิงในประวัติศาสตร์จีนที่มีเพียงไม่กี่คน ในปี183ก่อนค.ศ. จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อมา -
155
โจโฉ(สามก๊ก จีน)
โจโฉขุนศึกแห่งแคว้นเว่ยที่มีไหวพริบ ฉลาด และเด็ดขาด โจโฉเป็นนักการทหารที่มีความทะเยอทะยานสูง เป็นผู้ที่มักถูกมองว่าเป็นฝ่ายที่เจ้าเล่ห์ แต่จริง ๆ แล้วก็มีความสามารถสูงมาก -
160
กวนอู(แม่ทัพของเล่าปี่ ยุคสามก๊ก)
หรือในชื่อเต็มว่า กวนอวิ๋นฉาง (關雲長) เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น (ค.ศ. 160 - ค.ศ. 220) และเป็นขุนพลคนสำคัญของเล่าปี่ในเรื่อง สามก๊ก กวนอูเป็นที่รู้จักในฐานะขุนพลผู้มีความซื่อสัตย์ มีทักษะการต่อสู้สูง และมีความกล้าหาญ ซึ่งทำให้เขาได้รับความเคารพยกย่องอย่างสูงจากผู้คนในยุคนั้นและยุคหลัง
กวนอูมักถืออาวุธคู่กายที่เรียกว่า "ทวนมังกรเขียวจันทร์เสี้ยว ซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างจากอาวุธทั่วไป นอกจากนี้ เขายังเป็นที่เคารพในฐานะเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์และความยุติธรรม -
161
เล่าปี่ (สามก๊ก จีน )
หรือ หลิวเป่ย (刘备) เป็นตัวละครสำคัญในเรื่อง สามก๊ก และเป็นผู้นำของจ๊กก๊ก เขาเป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นสายรอง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 161 ในเมืองตุ้นกวน มณฑลเจี้ยนสี (ในปัจจุบัน) เล่าปี่มีลักษณะนิสัยที่อ่อนน้อมถ่อมตน และมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นสูงมาก ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เขามีความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นที่กำลังเสื่อมลง เล่าปี่ได้รวบรวมคนที่มีฝีมือและมีความจงรักภักดี เช่น ทำให้ในภายหลังพ่ายแพ้ต่อวุยก๊ก ในศึกอิเหลง ซึ่งทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจอย่างมากและส่งผลต่อสุขภาพ จนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 223 -
167
เตียวหุย(สามก๊ก จีน)
เตียวหุย เกิดประมาณปี ค.ศ. 167 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โดยไม่มีบันทึกวันที่ชัดเจนว่าเกิดเมื่อใด เชื่อกันว่าเขาเป็นชาวเมืองจัวจวิ้น ในมณฑลจี้โจว (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณมณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน) เตียวหุยเป็นขุนศึกที่มีพละกำลังมหาศาลและอารมณ์ร้อน เขาเป็นน้องชายร่วมสาบานของเล่าปี่และกวนอู ทั้งสามคนได้สาบานเป็นพี่น้องในสวนท้อ เตียวหุยมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ร่วมกับเล่าปี่หลายครั้ง เขามีลักษณะเป็นคนตรงไปตรงมา กล้าหาญ และจงรักภักดีต่อพี่น้อง -
175
จิวยี่(สามก๊ก จีน)
จิวยี่ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 175 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เขาเป็นชาวเมืองจิ่นเหอ (ปัจจุบันคือเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์)
จิวยี่เป็นนักยุทธศาสตร์และผู้บัญชาการทหารที่สำคัญของแคว้นง่อก๊ก เขามีบทบาทสำคัญในการวางแผนและนำทัพในการรบครั้งสำคัญ เช่น ศึกเซ็กเพ็ก (หรือศึกผาแดง) ซึ่งเขาได้ร่วมมือกับเล่าปี่และขุนศึกอื่น ๆ ในการต่อสู้กับโจโฉ แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความเฉลียวฉลาดของเขาในการวางแผนกลยุทธ์การรบ
นอกจากความสามารถในการรบ จิวยี่ยังมีบุคลิกที่มีเสน่ห์และเป็นที่นับถือในวงการทหาร -
181
ขงเบ้ง(สามก๊ก จีน)
ขงเบ้ง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 181 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โดยมีบันทึกไม่ชัดเจนเกี่ยวกับวันที่แน่ชัดของการเกิดของเขา ขงเบ้งเกิดในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน (ปัจจุบันคือเมืองเฉิงตู)
เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และที่ปรึกษาที่สำคัญของเล่าปี่ ผู้นำแห่งแคว้นจ๊กก๊ก ขงเบ้งมีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์การรบที่เหนือชั้นและมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างและรักษาความมั่นคงของแคว้นจ๊กก๊ก หลังจากที่เล่าปี่เสียชีวิต ขงเบ้งยังคงต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจของจ๊กก๊กต่อไป โดยเฉพาะในการรบกับแคว้นเว่ย -
182
ซุนกวน(สามก๊ก จีน)
ซุนกวน ผู้นำแห่งง่อก๊ก เป็นผู้ปกครองที่รอบคอบและฉลาด ซุนกวนพยายามรักษาแคว้นของตนในสภาวะที่มีความขัดแย้งระหว่างเว่ยและจ๊ก -
220
ยุคสามก๊ก
สามก๊ก ตั้งแต่ ค.ศ. 220-280 เป็นการแบ่งเป็นไตรภาคีของจีนระหว่างรัฐวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก ยุคสามก๊กอยู่ถัดจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและต่อด้วยราชวงศ์จิ้นตะวันตก รัฐเอียนบนคาบสมุทรเหลียวตง ที่คงอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ระหว่าง ค.ศ. 237-238 บางครั้งถือว่าเป็น "ก๊กที่ 4" -
Period: 220 to 280
ยุคสามก๊ก
ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220 - 280): การแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐใหญ่สามรัฐ -
266
ราชวงศ์จิ๋น
เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีน ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 420 ถูกก่อตั้งสถาปนาโดยซือหม่าหยานหรือสุมาเอี๋ยน (เมื่อขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า พระเจ้าจิ้นอู่ตี้) บุตรชายคนโตของซือหม่าเจาหรือสุมาเจียว ผู้ซึ่งเคยได้รับการสถาปนาตั้งตนเป็นจิ้นอ๋องมาก่อน ราชวงศ์จิ้นมีมาก่อนยุคสมัยสามก๊ก และถูกรับช่วงต่อโดยสิบหกอาณาจักรในแผ่นดินจีนตอนเหนือ และราชวงศ์หลิวซ่งในแผ่นดินจีนตอนใต้ -
581
ราชวงศ์สุย
ราชวงศ์สุย (จีน)
จักรพรรดิสุยเหวิน ดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ -
Period: 581 to 618
ราชวงศ์สุย
ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 - 618): การสร้างคลองยาวใหญ่ (Grand Canal) เชื่อมเหนือใต้ -
618
ราชวงศ์ถัง
เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 618 ถึง ค.ศ. 907 โดยในช่วงสั้น ๆ ระหว่าง ค.ศ. 690 ถึง ค.ศ. 705 ราชวงศ์อู่โจวได้เข้ามาแทนที่การปกครองของราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ถังสืบเนื่องต่อจากราชวงศ์สุยและสิ้นสุดลงเป็นยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร นักประวัติศาสตร์มักมองว่าราชวงศ์ถังเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมจีน และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมสากล[7] ดินแดนของราชวงศ์ถังที่ได้มาจากการต่อสู้ทางทหารในช่วงต้น เทียบได้กับดินแดนของราชวงศ์ฮั่น -
Period: 618 to 907
ราชวงศ์ถัง
ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 907): ยุคทองของวรรณกรรม ศิลปะ และความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ -
960
ราชวงศ์ซ่ง
ราชวงศ์ซ่ง (จีน)
เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองระหว่างปี 960 ถึง 1279 ราชวงศ์นี้ก่อตั้งโดยจักรพรรดิซ่งไท่จู่ ผู้ซึ่งแย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์โจวยุคหลังและไปพิชิตส่วนที่เหลือของสิบอาณาจักร สิ้นสุดยุคห้าวงศ์สิบรัฐ ราชวงศ์ซ่งมักขัดแย้งกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์เซี่ยตะวันตก และราชวงศ์จินทางตอนเหนือของจีน -
Period: 960 to 1279
ราชวงศ์ซ่ง
ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 - 1279): การเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ การประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ เช่น กระดาษและการพิมพ์ -
1271
ราชวงศ์หยวน
ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1271 เมื่อมองโกลโค่นราชวงศ์ซ่งลงได้สำเร็จและยึดครองดินแดนจีนได้ทั้งหมด กุบไลข่านได้ประกาศตั้งราชวงศ์แบบจีนขึ้นอย่างเป็นทางการ[1] มีการตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน -
Period: 1271 to 1368
ราชวงศ์หยวน
ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271 - 1368): จักรวรรดิมองโกลยึดครองจีน -
1368
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น -
Period: 1368 to
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644): การสำรวจทะเลของเจิ้งเหอและการพัฒนาศิลปะ เครื่องลายคราม -
ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงของชาวจีนฮั่นอยู่ในสภาพอ่อนแอ เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ -
Period: to
ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 - 1912): ราชวงศ์สุดท้ายที่ถูกโค่นโดยการปฏิวัติซินไฮ่ -
การปฏิวัติซินไฮ่(จีน)
การปฏิวัติซินไฮ่ (1911-1912): การปฏิวัติซินไฮ่เป็นการต่อสู้ที่นำโดยกลุ่มนักปฏิวัติ ซึ่งนำโดยซุนยัดเซ็น เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงและก่อตั้งสาธารณรัฐจีน นับเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญที่เปลี่ยนระบบการปกครองของจีนไปเป็นสาธารณรัฐ -
สาธารณรัฐจีน
ค.ศ. 1912 หลังจากที่ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนถูกโค่นล้ม ทำให้สาธารณรัฐจีนกลายเป็นประเทศจีนยุคใหม่ที่ปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำ สาธารณรัฐจีนในช่วงเริ่มต้นประสบปัญหาการเมืองภายในอย่างมาก เนื่องจากการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นและการรุกรานจากต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกและความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง -
Period: to
สาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912 - 1949): การล้มล้างระบอบราชวงศ์และจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐ -
ยุคขุนศึก(จีน)
ยุคขุนศึก (1916-1928): หลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดีหยวนซื่อไข่ในปี 1916 ทำให้สาธารณรัฐจีนเข้าสู่ยุคขุนศึก ขุนศึกต่างๆ ปกครองส่วนต่างๆ ของจีน ทำให้เกิดความวุ่นวายและการแบ่งแยกในประเทศ -
สงครามกลางเมืองจีน
สงครามกลางเมืองจีน (1927-1949): เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) สงครามยืดเยื้อนานหลายสิบปี และหยุดพักชั่วคราวในช่วงที่ญี่ปุ่นรุกรานจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง -
Period: to
สงครามกลางเมืองจีน
สงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927 - 1949): การต่อสู้ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง -
Kmt (จีน)
การรวมชาติโดยพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT): พรรคก๊กมินตั๋งหรือพรรคชาตินิยม นำโดยเจียงไคเช็ค สามารถรวมแผ่นดินจีนได้ในช่วงปี ค.ศ. 1928 ทำให้เกิดการฟื้นฟูประเทศหลังจากยุคขุนศึก -
อพยพไปไต้หวั่น
การลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวัน (1949): หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองในปี 1949 พรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้ลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวัน ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China, PRC) ถูกก่อตั้งขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ และทำให้สาธารณรัฐจีนปกครองเฉพาะเกาะไต้หวันและหมู่เกาะใกล้เคียงนับแต่นั้นเป็นต้นมา -
สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปัจจุบันสาธารณรัฐจีนยังคงมีอยู่ในไต้หวัน ซึ่งมีการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีและรัฐสภา ไต้หวันมีความเจริญก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการศึกษา อย่างไรก็ตาม สถานะของสาธารณรัฐจีนยังคงเป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมืองกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน -
Period: to
สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949 - ปัจจุบัน): ก่อตั้งโดยเหมาเจ๋อตงและปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงเติ้งเสี่ยวผิง