ประวัติศาสตร์ไทย

  • 2007 BCE

    เวียงเชียงรุ้ง

    เวียงเชียงรุ้งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา เคยเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมไปหลายยุคหลายสมัย สันนิษฐานว่าเวียงเชียงรุ้ง คงจะทำหน้าที่เป็นเมืองเชื่อมต่อกับเมืองต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่เช่นเดียวกัน เวียงเชียงรุ้งน่าจะเป็นพันนาหนึ่งเรียกว่า พันนาเชียงรุ้ง ซึ่งมีหลักฐาน ปรากฏในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ที่เมืองเชียงใหม่ ได้โปรดให้นายร้อยก้อนทองมาเป็นหมื่นขวาที่พันนาเชียงรุ้ง
  • 2001 BCE

    เมืองคูบัว

    เมืองคูบัว
    เป็นเมืองโบราณอยู่ห่างจากเมืองราชบุรีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 12 กิโลเมตร คาดว่าสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ในอาณาจักรทวารวดี และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญของอาณาจักรนี้
  • 1964 BCE

    วิหาร

    วิหาร
    ในประเทศไทยวิหารพบตั้งแต่สมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 เป็นต้นมา แต่พบไม่มากนัก มักตั้งหน้าสถูปเจดีย์เพื่อใช้เป็นที่กราบสักการบูชาพระธาตุ ดังนั้นวิหารจึงสร้างไว้หน้าเจดีย์เสมอ จากการขุดค้นของกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2507 ที่วัดโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และที่โบราณสถานหมายเลข 16 อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พบพื้นอาคารปูอิฐและศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ด้านหน้าเจดีย์ ผนังและหลังคาไม่ปรากฏคงเป็นเครื่องไม้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารที่สร้างสมัยแรก ๆ
  • 1952 BCE

    เมืองเสมา

    เมืองเสมา
    เป็นเมืองโบราณอยู่ห่างจากอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศเหนือ 5 กิโลเมตร คาดว่ามีการอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมขอมลักษณะทางกายภาพของเมืองนั้นมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แผนผังเมืองเป็นรูปกลมรีไม่สม่ำเสมอ มีกำแพงเมืองชั้นเดียว ลำน้ำสำคัญที่ไหลผ่าน คือ ลำตะคองซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ของเมือง และห้วยไผ่ไหลผ่านทางทิศตะวันตกของเมือง เมืองเสมามีลักษณะการสร้างเมืองซ้อนกันสองชั้น เรียกว่า เมืองนอก–เมืองใน
  • 1935 BCE

    เมืองโบราณดงละคร

    เมืองโบราณดงละคร
    เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเมืองอยู่ที่เนินดินทางด้านทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 34 เมตร
  • 1933 BCE

    ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต

    ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
    จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ตในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น
  • 1914 BCE

    เวียงสวนดอก

    เวียงสวนดอก
    เป็นเขตเมืองเก่าทางตะวันตกของเวียงเชียงใหม่ มีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง อดีตมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยงจัตุรัส ยาวด้านละราว 470 เมตร มีขนาดราวหนึ่งในสี่ของเวียงเชียงใหม่ ในปัจจุบันยังสามารถพบเห็นแนวกำแพงได้บางส่วนตำนานสุวรรณคำแดงกล่าวถึงเวียงสวนดอกไว้ว่า แต่เดิมเป็นเมืองบริวารขนาดเล็ดของเมืองเชษฐะบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาดอยสุเทพ โดยมีพญาวีวอและพญาสระเกศเป็นผู้ร่วมครองเมือง เมืองเชษฐะบุรีเป็นเวียงของชาวลัวะ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่แทนเมืองนวรัฏฐะที่ล่มสลายเพราะเกิดอาเพศ
  • 1897 BCE

    เมืองเก่ากุมภวาปี

    ในปี พ.ศ. 2440 รัชการที่ 5 โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทย รวมเมืองกุมภวาปี หนองหาน หนองบัวลำภู และบ้านหมากแข้ง ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอุดรธานี เมืองกุมภวาปี จึงมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุดรธานี โดยมีที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้อง ตำบลพันดอน ปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกว่า เมืองเก่า และมีพระประสิทธิสรรพกรเป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบลใหญ่ คือ ตำบลปะโค ตำบลพันดอน ตำบลอุ่มจาน ตำบลตูมใต้ และตำบลแชแลต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2468-2472 ร.อ.อ.หลวงนิคมพรรณาเขต
  • 1895 BCE

    เมืองเถิน

    เถิน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เมืองเถินเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรทางตอนเหนือของประเทศไทย เช่น อาณาจักรล้านนา และอาณาจักรในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เช่น อาณาจักรอยุธยา
  • 1887 BCE

    เครื่องปัณณาการ

    เครื่องปัณณาการ
    คือสัญลักษณ์แสดงความสวามิภักดิ์ของผู้เป็นข้าขอบเขตขัณฑสีมาต่อกษัตริย์แห่งแผ่นดินแม่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่4แสดงให้เห็นเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อเมืองใหญ่ทุกๆ3ปีนอกจากต้นไม้เงินไม้ทองก็ไม่พบบันทึกอื่นใดกล่าวถึงจนถึง พ.ศ. 2430 จึงได้พบข้อความในราชกิจจานุเบกษา กล่าวถึงเมืองประเทศราชลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นต้นไม้เงินไม้ทอง ทองคำ เงิน งาช้าง หมอนสามเหลี่ยม เสื่อทองขาว
  • 1884 BCE

    ที่มาของชื่อทวารวดี

    ที่มาของชื่อทวารวดี
    ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2427 โดยนายแซมมวล บีล ได้แปลงมาจากคำว่า โตโลโปตี้ ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โตโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย (สยาม) ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่น ๆ ที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ หรือ เชอโฮโปติ ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย
  • 1865 BCE

    สีมา

    สีมา
    สีมาสมัยทวารวดี โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่บ้านกุดโง้ง จังหวัดชัยภูมิ ที่ เมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร ที่วัดพุทธมงคล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น สีมาทวารวดีพบว่ามีการปักรอบสถูปเจดีย์ด้วย และบ่อยครั้งไม่พบซากอาคารเข้าใจว่าอาคารเดิมอาจสร้างด้วยไม้จึงผุพังไป บางแห่งปัก 3 ใบและบางแห่งพบถึง 15 ใบ นอกจากนี้บางครั้งยังพบปักรอบเพิงหินธรรมชาติ เช่น ที่หอนางอุสา อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี
  • 1841 BCE

    ยุคพ่อขุนรามคำแหง

    ยุคพ่อขุนรามคำแหง
    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือพระนามเต็ม พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช (พ.ศ. 1782 – พ.ศ. 1841) เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง ปกครองอาณาจักรสุโขทัย ตั้งแต่ปี 1822 ถึง 1841 นับเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุด
  • 1828 BCE

    ล้านนาไท

    ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ล้านนาไท 57 เมือง ในฐานะหัวเมืองเหนือที่อยู่ใต้การปกครองของพระเจ้ากาวิละแต่ก็ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้าง ปัจจุบันมีหลักฐานที่พม่านำไปจากเชียงใหม่ในสมัยที่พม่าปกครอง (พ.ศ. 2101-2317) และได้แปลเป็นภาษาพม่า ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับภาษาพม่า ได้ระบุเมืองต่างๆ 57 หัวเมือง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเมือง คือ กลุ่มเมืองขนาดใหญ่ มี 6 เมือง กลุ่มเมืองขนาดกลางมี 7 เมือง และกลุ่มเมืองขนาดเล็กมี 44 เมือง
  • 1788 BCE

    ยุคสำริด

    ยุคสำริด
    ในยุคสำริดตอนต้น ซูเมอร์ในเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และอียิปต์โบราณเป็นอารยธรรมแแรกที่พัฒนาอักษรของตนเองและบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยที่เพื่อนบ้านตามมาให้หลัง อารยธรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่ถึงจุดสิ้นสุดยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงยุคเหล็ก การแบ่งสามยุคของยุคก่อนประวัติศาสตร์ไปเป็นยุคหิน, ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็ก
  • 1767 BCE

    ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า

    ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า
    เป็นประติมากรรมศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูอยู่ร่วมสมัยกับทวารวดีตอนต้นและตอนปลายในราวพุทธศตวรรษที่11-13ที่เมืองศรีมโหสถและเมืองศรีเทพพบอยู่ร่วมกับศรีวิชัยและทวารวดีที่ภาคใต้ของมักจะทำเป็นรูปพระนารายณ์ลักษณะพระพักตร์ไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดีจะมีลักษณะคล้ายกับอินเดียเช่นพระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบมทุราและอมราวดี(พุทธศตวรรษที่ 6-9)รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราชซึ่งถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่างผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใตที่เมืองศรีมโหสถมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ
  • 1741 BCE

    เมืองทุ่งยั้ง

    เมืองทุ่งยั้ง
    เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยและมีเมืองซ้อนกันอีกเมืองหนึ่งซึ่งเรียกว่า เวียงเจ้าเงาะ โดยเมืองทุ่งยั้งเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิชัยแต่ต่อมา แม่น้ำน่านเกิดเปลี่ยนเส้นทางน้ำทำให้เมืองทุ่งยั้งเกิดความแห้งแล้งชาวบ้านจึงอพยพออกจากพื้นที่ไปอาศัยในแถบ บางโพ-ท่าอิฐแทน จึงทำเมืองทุ่งยั้งกลายเป็นเมืองร้าง และพังทลายลงในที่สุดคงเหลือไว้แต่พระธาตุทุ่งยั้งเพียงอย่างเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ว่าเป็นเมืองโบราณ
  • 1583 BCE

    เมืองจันเสน

    เมืองจันเสน
    เมืองจันเสน เป็นเมืองที่มีคนอาศัยต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี มีพัฒนาการและวิทยาการที่ซับซ้อน รู้จักการชลประทานระบายน้ำเข้าเมือง เลี้ยงสัตว์และเกษตรกรรม มีความสามารถในการทำเครื่องปั้นดินเผา รู้จักการถลุงโลหะ และมีการคมนาคมทำการค้าติดต่อกับชุมชนและเมืองอื่นในระยะเวลาเดียวกัน นับว่าเป็นชุมชนแรกเริ่มในสุวรรณภูมิที่มีการติดต่อกับอินเดียร่วมสมัยกับเมืองอู่ทองในลุ่มน้ำท่าจีน และเมืองฟูนันใกล้ปากแม่น้ำโขงดังเห็นได้จากโบราณวัตถุที่เป็นตราดินเผา
  • 1298 BCE

    พระยาเลอไทย

    พระยาเลอไทย
    เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วง ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1841–1866[1] ถัดจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชบิดาของพระองค์พระยาเลอไทยเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 1841 ในปีเดียวกันได้ทรงส่งราชทูตไปเมืองจีน เมื่อเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1866 พระยางั่วนำถุมได้สืบราชสมบัติต่อมา
  • 1297 BCE

    อาณาจักรพุกาม

    อาณาจักรพุกาม
    เป็นอาณาจักรโบราณในช่วงพ.ศ.1392–1840พุกามอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์ของชาวพม่า มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า"ผิวคาม"เป็นเมืองเล็กๆริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิรวดีสภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นอยู่ของชาวผิวซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในปีพ.ศ.1587พุกามถูกสถาปนาโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อพระองค์ทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้ชนะ แล้วจึงสถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า"อริมัททนาปุระ"เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบรอบๆเมืองพุกามมีหมู่บ้านเล็กๆชื่อ"มินนันตุ"ซึ่งเป็นเขตเมืองโบราณ
  • 1286 BCE

    เวียงกุมกาม

    เวียงกุมกาม
    เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร
  • 1283 BCE

    จารึกพ่อขุนรามคำแหง

    จารึกพ่อขุนรามคำแหง
    จารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นศิลาจารึกที่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขณะผนวชอยู่เป็นผู้ทรงค้นพบเมื่อปีมะเส็ง เบญจศก จุลศักราช 1195 ตรงกับวันศุกร์ที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1834 หรือ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มีลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม สูง 111 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินทรายแป้งเนื้อละเอียดมีจารึกทั้งสี่ด้าน
  • 1230 BCE

    เมืองสวางคบุรี

    เมืองสวางคบุรี
    สวางคบุรี หรือ ฝาง เป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสืบต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยาโบราณ โดยอาณาเขตเมืองสวางคบุรีโบราณครอบคลุมพื้นที่ ตำบลผาจุก, ตำบลคุ้งตะเภา และตำบลแสนตอ ในปัจจุบัน
  • 1109 BCE

    เมืองกุยบุรี

    เมืองกุยบุรี หรือ เมืองกุย เป็นเมืองโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดกุยบุรีเป็นศูนย์กลางชุมชน ไม่มีประวัติแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ากุยบุรีด้านเหนือ ตั้งอยู่ในตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันมีการสร้างกำแพงเมืองกุยบุรีจำลองเพื่อพยายามบอกเล่าเรื่องราวประวัติและความสำคัญของป้อมยันทัพพม่าครั้งเมื่อมีการใช้สู้รบกับข้าศึกในสมัยอยุธยา รวมทั้งมีการตั้งศาลเจ้าเมืองกุยบุรีอยู่ทางทิศเหนือของเนินโบราณสถาน
  • 1050 BCE

    อาณาจักรศรีเกษตร

    อาณาจักรศรีเกษตร
    เป็นนครรัฐของชาวปยู ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศพม่าในปัจจุบันครั้งหนึ่งเคยเป็นชุมชนปยูที่โดดเด่นชาวปยูครอบครองพื้นที่หลายแห่งทั่วพม่าตอนบนโดยศรีเกษตรได้บันทึกว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดมีกำแพงเมืองครอบคลุมพื้นที่ 1,477 นี้พบว่าภายในกำแพงเมืองอิฐขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 1,857 เฮกตาร์ เทียบกับดินแดนภายนอกที่ขนาดใกล้เคียงกันถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนสมัยเมืองพระนคร ประเด็นการกำหนดอายุของพื้นที่ส่วนใหญ่มีอายุคริสต์ศตวรรษที่7ถึงวัฒนธรรมปยูที่ศรีเกษตร
  • 1050 BCE

    นครรัฐปยู

    นครรัฐปยู
    นครรัฐที่มีอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศพม่าตอนบน นครรัฐถูกก่อตั้งขึ้นจากการอพยพย้ายถิ่นลงใต้ของชาวปยู ผู้พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในเขตประเทศพม่าเป็นพวกแรก ๆ[2] ระยะเวลากว่าหนึ่งพันปีนี้มักเรียกกันว่า สหัสวรรษของปยู ซึ่งเชื่อมโยงกับยุคสัมฤทธิ์ และคาบเกี่ยวกับต้นยุคโบราณของอาณาจักรพุกาม ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9
  • 1004 BCE

    เมืองไตรตรึงษ์

    เมืองไตรตรึงษ์
    ไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ ทางทิศใต้ของตัวเมืองกำแพงเพชร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร ตั้งอยู่ฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ของแม่น้ำปิง ปัจจุบันเหลือเพียงซากเจดีย์ 2-3 แห่งเท่านั้น
  • 908 BCE

    เมืองชากังราว

    เมืองชากังราว
    เป็นเมืองที่เอ่ยถึงในหลักฐานโบราณ และมีผู้สันนิษฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้งไว้ต่างกัน เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยไว้ใน พ.ศ. 2451 ว่า เป็นเมืองเดียวกับเมืองสวรรคโลกและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยไว้ใน พ.ศ. 2457 ว่า เป็นเมืองเดียวกับเมืองกำแพงเพชร[2] แต่ปัจจุบันมีการเสนอแนวคิดที่แตกต่างออกไป
  • 457 BCE

    เมืองพระรถ

    เมืองพระรถ
    เป็นเมืองโบราณ ที่ตั้งอยู่ในตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยทวารวดีเมืองพระรถเป็นชุมชนเมืองโบราณ อยู่ที่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม อยู่ห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ไปทางถนนพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตัดทับส่วนหนึ่งของกำแพงและคูเมืองด้านทิศตะวันออก จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ เชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองในสมัยทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16) และเจริญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18)
  • 307 BCE

    ประเภทและลักษณะของโบราณสถานสมัยทวารวดี

    ประเภทและลักษณะของโบราณสถานสมัยทวารวดี
    เชื่อกันว่าศิลปกรรมอินเดียได้มีอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในดินแดนประเทศไทยมานานตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ (พ.ศ. 269–307) ที่ทรงส่งสมณทูต 9 สายออก เผยแพร่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศและนอกประเทศอินเดีย และสมณทูตสายที่ 8 คือพระอุตตรเถระและพระโสณเถระผู้เดินทางมายังดินแดนที่ชื่อสุวรรณภูมินั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะหมายถึง ดินแดนในประเทศพม่า ไทย ลาว และกัมพูชาในปัจจุบัน และยังเชื่อกันว่าเจดีย์องค์เดิมที่ พระปฐมเจดีย์ สร้างครอบทับไว้น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขี้นในสมัยนั้น
  • 270 BCE

    ร่องรอยกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี

    ร่องรอยกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี
    ปัจจุบันร่องรอยเมืองโบราณ รวมทั้งศิลปะโบราณ วัตถุสถานและจารึกต่างๆในสมัยทวารวดีนี้พบเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และที่สำคัญได้พบกระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยโดยไม่มีหลักฐานของการแผ่อำนาจทางการเมืองจากจุดศูนย์กลางเฉกเช่นรูปแบบการปกครองแบบอาณาจักรทั่วไป เช่นภาคเหนือที่อำเภอสวรรคโลก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย,อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดลำพูนและ จังหวัดเชียงใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบทุกจังหวัด ในแต่ละจังหวัดพบมากกว่า1แห่งขึ้นไปบางจังหวัดพบว่ามีมากกว่า7แห่งและมีการค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 557

    ยุคทรวดี

    ยุคทรวดี
    ทวารวดี คือสมัยทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศไทย มีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–16 (พ.ศ. 1100–1500)[1] นอกจากนี้ทวารวดียังมีสถานะเป็น "วัฒนธรรมทวารวดี" โดยหมายถึงลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน อันสะท้อนผ่านหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้ค้นพบตามชุมชนหรือเมืองโบราณสมัยทวารวดี วัฒนธรรมทวารวดีมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้ามายังภูมิภาคนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมของผู้คนในแถบนี้ในแง่มุมต่างๆ
  • Period: 1000 to

    ประวัติศาสตร์

  • ประวัติศาสตร์

    ประวัติศาสตร์
    อาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันประมาณ 40,000 ปี เดิมชาวมอญ เขมรและมลายูปกครองพื้นที่ โดยมีอาณาจักรใหญ่ เช่น ฟูนาน ทวารวดี หริภุญชัย จักรวรรดิเขมร และตามพรลิงก์ ส่วนบรรพบุรุษไทยสยามปัจจุบันซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชาวไท-ไตเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแถบเดียนเบียนฟูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 8 และเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 รัฐของชาวไทเกิดขึ้นจำนวนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประมาณปี 1780 พ่อขุนบางกลางหาวรวบรวมกำลังกบฏต่อเขมร และตั้งอาณาจักรสุโขทัย
  • สมัยสุโขทัย

    สมัยสุโขทัย
    ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลงกลุ่มคนไทยจึงได้พยายามตั้งตนเป็นอิสระมีผู้นำคือพ่อขุนบางกลางหาวเจ้ากัพ่อขุนผาเจ้าเมืองราดเอาชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้สถาปนากรุงสุโขทัยพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์การปกครองในสมัยสุโขทัย สมัยสุโขทัยตอนต้นปกครองแบบพ่อปกครองลูกกษัตริย์มีฐานะเปรียบหัวหน้าครอบครัวในสมัยพระมหาธรรมราชาได้เปลี่ยนคติการปกครองเป็นธรรมราชาสภาพสังคมสมัยสุโขทัยประชาชนเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดชาวสุโขทัยคือเกษตรกรรมและมีอุตสาหกรรมสำคัญเครื่องสังคโลกซึ่งสันนิษฐานจากการขุดพบเตาทุเรียงในสมัยสุโขทัยขึ้นในปีพ.ศ.1826
  • สมัยกรุงศรีอยุธยา

    สมัยกรุงศรีอยุธยา
    กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็นราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมาก ว่าการถือกำเนิดของกรุงศรีอยุธยานั้นมิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนองโสนบริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอโยธยาวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี
  • สมัยอยุธยา

    สมัยอยุธยา
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง
  • สมัยสงครามครั้งที่1

    สมัยสงครามครั้งที่1
    ประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สยามเริ่มมีบทบาทในสงครามหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สยามประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สยามส่งกองกำลังทหารไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่แนวหน้าตะวันตกโดยทั้งหมดประจำการอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส กองทัพสยามที่ถูกส่งไปมีจำนวนทหารประจำการอยู่ทั้งหมด 1,248 นาย สยามเข้าร่วมสงครามในวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 และส่งทหารไปร่วมรบในกลางเดือนกันยายนของปีเดียวกัน
  • สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
    มีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งชื่อใหม่ว่า กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2325
    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นหลายเหตุการณ์
  • สมัยกรุงธนบุรี

    สมัยกรุงธนบุรี
    อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310–2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
  • รัชกาลที่1

    รัชกาลที่1
    สงครามครั้งที่ 1 พ.ศ. 2327 เรียกว่า “สงครามเก้าทัพ” เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่า โดยครั้งนั้นพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า รวบรวมไพร่พลถึง 144,000 คน กรีธาทัพจะเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น 9 ทัพใหญ่ เข้าตีจากกรอบทิศทาง แต่ทัพของรัชกาลที่ 1 มีกำลังเพียงครึ่งหนึ่งของทหารพม่า
  • รัชกาลที่2

    รัชกาลที่2
    รัชกาลที่ 2 ของสยามในสมัยราชวงศ์จักรีเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 46 ตามประวัติศาสตร์ไทย ปกครองระหว่าง พ.ศ. 2352 ถึง พ.ศ. 2367 ในปี พ.ศ. 2352 เจ้าฟ้าฉิมหรือกรมหลวงอิศรสุนทรพระราชโอรสองค์โตสืบราชบัลลังก์ต่อจากรัชกาลที่1พระราชบิดาผู้สถาปนาราชวงศ์จักรีเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยของพระองค์สงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง รัชสมัยของพระองค์เป็น"ยุคทองของวรรณคดี" เนื่องจากพระองค์ทรงอุปถัมภ์กวีหลายคนในราชสำนักและพระองค์เองก็มีชื่อเสียงในฐานะกวีและศิลปิน กวีที่โดดเด่นที่สุดในราชสำนักคือสุนทรภู่
  • รัชกาลที่3

    รัชกาลที่3
    พระบาทสมเด็จปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2331 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 47 ตามประวัติศาสตร์ไทย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2394
  • รัชกาลที่4

    รัชกาลที่4
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว18ตุลาคมพ.ศ. 2347 – 1 ตุลาคมพ.ศ. 2411เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่4แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่48ตามประวัติศาสตร์ไทยมีพระนามเดิมว่า"เจ้าฟ้ามงกุฎ"เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น14ค่ำ เดือน11ปีชวด ตรงกับวันที่18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช1เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 เป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
  • รัชกาลที่5

    รัชกาลที่5
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 49 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1215 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4
  • รัชกาลที่6

    รัชกาลที่6
    พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2424 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 50 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. 1242 ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2424 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 32 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • สมัยสงครามครั้งที่2

    สมัยสงครามครั้งที่2
    สงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นบุกครอง ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลาประมาณ 02.00 น. กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย ปะทะกับทหารไทยและยุวชนก่อนรัฐบาลจะมีคำสั่งหยุดยิงเมื่อเวลา 11.00 น. หลังจากนั้นมีการทำสนธิสัญญาทหารระหว่างสองประเทศ ในช่วงแรกของสงครามแปซิฟิก ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลไทยเปิดทางให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปยังพม่าและบริติชมาลายา ซึ่งรัฐบาลไทยนำโดยจอมพล ป. พิบูลสงครามยินยอมเนื่องจากญี่ปุ่นให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบดินแดนอินโดจีนบางส่วนที่เสียให้ฝรั่งเศสคืน
  • สมัยรัชกาลที่7

    สมัยรัชกาลที่7
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 51 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. 1255 เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 15 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • สมัยรัชกาลที่8

    สมัยรัชกาลที่8
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีสมเด็จพระเชษฐภคินีคือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชาคือพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • รัชกาลที่9

    รัชกาลที่9
    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 53 ตามประวัติศาสตร์ไทย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ด้วยพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร จนสวรรคต เป็นประมุขแห่งรัฐที่ครองราชย์ยาวนานมากที่สุดตลอดกาลในประเทศไทย
  • รัชกาลที่10

    รัชกาลที่10
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)[2] เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 54 ตามประวัติศาสตร์ไทย