Img 6739

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีน

  • สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1

    สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1
    เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิชิงกับจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อครอบครองคาบสมุทรเกาหลี สงครามนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง และการประสบผลสำเร็จของญี่ปุ่นที่พัฒนาชาติให้ทันสมัยตามแบบชาติตะวันตกซึ่งเริ่มมาตั้งแต่จักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์[1] ส่งผลให้อิทธิพลของราชวงศ์ชิงเสื่อมถอยลงจนนำไปสู่การปฏิวัติในปี ค.ศ. 1911
  • Period: to

    สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1

    ญี่ปุ่นต้องการขยายดินแดนของตนมายังแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออก มาตั้งแต่สมัยอัครมหาเสนาบดี โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (ปลายศตวรรษที่ 16) ญี่ปุ่นเข้ารุกรานเกาหลีในระหว่างปี ค.ศ. 1592 - 1598 แต่ไม่สามารถยึดครองเกาหลีได้
  • สงครามฝิ่นครั้งที่ 1

    สงครามฝิ่นครั้งที่ 1
    สงครามจีน-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง หรือที่นิยมเรียกว่า สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: First Opium War/จีน : 第一次鴉片戰爭) เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์และจีนราชวงศ์ชิง โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการค้าในจีน ในปี ค.ศ. 1842 สนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาฉบับแรกที่ชาวจีนเรียกว่า "สนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม" ถูกบีบบังคับให้จ่ายค่าชดเชยให้กับอังกฤษ เปิดเมืองท่าสนธิสัญญาห้าแห่ง และการยกเกาะฮ่องกงให้แก่อังกฤษ ตลอดจนยุติระบบผูกขาดการค้าในระบบกว่างโจว
  • Period: to

    สงครามฝิ่น ครั้งที่1

    ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลิน เจ๋อสฺวี (林則徐) เป็นผู้ว่าราชการเหลียงกว่าง (兩廣總督) หรือผู้ว่าราชการสองมณฑลกวางตุ้ง-กว่างซี และข้าหลวงใหญ่ผู้แทนพระองค์ (欽差大臣) เพื่อเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน
  • กบฏไท่ผิงเทียนกั่ว

    กบฏไท่ผิงเทียนกั่ว
    หง ซิ่วเฉฺวียน เป็นบัณฑิตสอบตกที่เข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิก และอ้างตนเป็นน้องชายของพระเยซู เขาก่อตั้งลัทธิป้ายช่างตี้ (拜上帝教; "ลัทธิบูชามหาเทพ") ที่มุ่งหวังจะให้ประชาชนหันมานับถือศาสนาคริสต์ตามแบบของเขาที่มีการบูชาเทวดาต่าง ๆ ทั้งจะโค่นล้มราชวงศ์ชิง แล้วจัดการปฏิรูปบ้านเมืองขนานใหญ่ การปฏิรูปของหง ซิ่วเฉฺวียน ไม่ได้เป็นไปเพื่อเอาชนชั้นรากหญ้าเข้าแทนที่ชนชั้นปกครองเท่านั้น แต่พยายามจะสับเปลี่ยนระเบียบทางสังคมและจิตวิญญาณด้วย
  • Period: to

    กบฎไท่ผิงเทียนกั่ว

    ทัพกบฏยึดครองภาคใต้ส่วนใหญ่ได้ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนสามารถควบคุมฐานประชากรเกือบ 30 ล้านคน ลุกลามเป็นสงครามเต็มรูปแบบ หลังจากยึดเจียงซี (江西), หูเป่ย์ (湖北), และอานฮุย (安徽) ได้แล้ว กบฏก็มุ่งหน้าไปยึดเป่ย์จิง (北京) เมืองหลวงของราชวงศ์ชิง แต่ไม่สำเร็จ กระนั้น กองทัพราชวงศ์ชิงไม่สามารถหยุดยั้งการรุกคืบของกบฏได้ มีแต่กองกำลังทหารท้องถิ่นนอกประจำการของขุนพลเจิง กั๋วฟาน (曾國藩) ที่เรียกว่า ทัพเซียง (湘軍) เป็นกลุ่มหลักในการต่อต้านการกบฏ
  • สงครามฝิ่นครั้งที่ 2

    สงครามฝิ่นครั้งที่ 2
    สงครามฝิ่นครั้งที่สอง (จีน: 第二次鴉片戰爭; พินอิน: Dì'èrcì Yāpiàn Zhànzhēng, ตี้เอ้อร์ชื่ออาเพี่ยนจ้านเจิง), ยังเป็นที่รู้จักกันคือ สงครามอังกฤษ-จีนครั้งที่สอง, สงครามจีนครั้งที่สอง, สงครามแอร์โรว, หรือ การเดินทางเข้าสู่จีนของอังกฤษ-ฝรั่งเศส,[5][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] เป็นสงครามอาณานิคมซึ่งกินเวลา ตั้งแต่ ค.ศ. 1856 ถึง ค.ศ. 1860, ซึ่งจักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิฝรั่งเศสร่วมมือกันทำสงครามกับราชวงศ์ชิงของจีน
  • Period: to

    สงครามฝิ่นครั้งที่ 2

    เป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ครั้งที่สองในสงครามฝิ่น ซึ่งต่อสู้รบเพื่อสิทธิ์ในการนำเข้าฝิ่นสู่จีน และส่งผลทำให้ราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้เป็นครั้งที่สอง และการบีบบังคับให้การค้าฝิ่นถูกกฏหมาย ทำให้เหล่าข้าราชการจีนหลายคนเชื่อว่าความขัดแย้งกับมหาอำนาจตะวันตกไม่ใช่เป็นการทำสงครามแบบโบราณอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตชาติที่กำลังใกล้เข้ามา
  • การปฏิวัติซินไฮ่

    การปฏิวัติซินไฮ่
    การปฏิวัติซินไฮ่ (จีน:辛亥革命อังกฤษ: Xinhai (Hsinhai) Revolution) หรืออีกชื่อว่า การปฏิวัติ ค.ศ. 1911 หรือการปฏิวัติจีน เป็นการปฏิวัติซึ่งโค่นล้มราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีน การปฏิวัติได้เปลี่ยนการปกครองของประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและสถาปนาสาธารณรัฐจีน การปฏิวัตินี้ได้ชื่อว่าซินไฮ่เพราะมีขึ้นใน ค.ศ. 1911 ซึ่งตรงกับอักษรซินไฮ่ในแผนภูมิสวรรค์ในปฏิทินจีน[2]
  • Period: to

    การปฏิวัติซินไฮ่

    โดยทั่วไปแล้ว การปฏิวัติครั้งนี้เป็นปฏิกิริยาต่อสามปัจจัยหลัก: (1) ความเสื่อมของรัฐชิงและความไม่สามารถปฏิรูปและนำพาจีนสู่ความทันสมัยเพื่อเผชิญหน้ากับการท้าทายของต่างชาติ, (2) เพื่อย้อนความเสื่อมโทรมภายใน และ (3) ความไม่พอใจของชาวจีนฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ต่อชนกลุ่มน้อยแมนจูที่เป็นชนชั้นปกครอง กลุ่มต่อต้านชิงใต้ดินหลายกลุ่มและด้วยการสนับสนุนจากนักปฏิวัติจีนพลัดถิ่น
  • ขบวนการ 4 พฤษภาคม

    ขบวนการ 4 พฤษภาคม
    เป็นขบวนการต่อต้านจักรวรรดินิยม, ขบวนการวัฒนธรรมและการเมืองที่เติบโตขึ้นจากการเดินขบวนของนักศึกษาในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 ซึ่งประท้วงการสนองตอบสนธิสัญญาแวร์ซายที่อ่อนกำลังของรัฐบาลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยให้ประเทศญี่ปุ่นได้ดินแดนในมณฑลซานตงซึ่งประเทศเยอรมนียอมจำนนหลังการล้อมเมืองชิงเต่า การเดินขบวนเหล่านี้เป็นชนวนการประท้วงระดับชาติและเป็นเครื่องหมายการทวีขึ้นอย่างรวดเร็วของชาตินิยมจีน
  • Period: to

    ขบวนการ 4 พฤษภาคม

    แม้แท้ที่จริงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนี้มีสนามรบหลักอยู่ที่ฟากตะวันตกของโลก จีนในขณะนั้นเป็นเพียงคนป่วยแห่งเอเชียที่ยังไม่ฟื้นไข้ บ้านเมืองแตกแยกภายในและชาติถูกรุมทึ้ง แผ่นดินจีนฝั่งติดชายทะเลเต็มไปด้วยเขตเช่า ซึ่งก็คือเขตอิทธิพลของมหาอำนาจหลากหลาย จีนเพิ่งปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงสำเร็จ แต่ตามมาด้วยความวุ่นวาย ขุนศึกแต่ละท้องที่ไม่ยี่หระต่อรัฐบาลกลาง ด้านจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ไกลจากสนามรบหลัก แต่ก็ขอเข้าร่วมในฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นซึ่งกำลังประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจและดินแดน
  • สงครามกลางเมืองจีน

    สงครามกลางเมืองจีน
    เป็นสงครามกลางเมืองที่สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน[6] เพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือประเทศจีน ส่งผลให้จีนถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ สาธารณรัฐจีน ซึ่งครอบครองเกาะไต้หวัน กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่ สงครามกลางเมืองจีนเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์โลก รองจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น
  • Period: to

    สงครามกลางเมืองจีน

    สงครามเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 ท่ามกลางการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition)[7] และสิ้นสุดลงในช่วง ค.ศ. 1949-1950 จนถึงปัจจุบันนี้ แม้จะไม่มีการรบแล้ว แต่สงครามก็ยังคงไม่สิ้นสุดอย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพใด ๆ[8] ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไปในรูปของการขู่ใช้กำลังทหาร การกดดันทางการเมือง และการกดดันทางเศรษฐกิจ สถานะทางการเมืองของไต้หวันยังคงเป็นข้อขัดแย้งที่สำคัญในปัจจุบัน โดยความตึงเครียดที่ดำเนินต่อมานั้นถูกเรียกว่าเป็น "ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ"
  • การเดินทัพทางไกล 25,000 ลี้

    การเดินทัพทางไกล 25,000 ลี้
    ในมณฑลส่านซี กองทัพแดงได้ล่าถอยหนีการโจมตีของกองกำลังทหารของพรรคก๊กมินตั๋ง หรือ กั๋วหมินตั่งของนายพลเจียงไคเช็ค โดยใช้ความอุตสาหะและพลังอันเด็ดเดี่ยวที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นอกจากต้องต่อกรกับกองทหารของพรรคก๊กมินตั๋ง และกองทหารต่างชาติที่มาช่วยก๊กมินตั๋งแล้ว ยังต้องเผชิญกับความอดอยากและความทุรกันดารยากแค้นของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในพื้นที่ต่างๆ ที่เดินทางผ่านไปด้วย
  • Period: to

    การเดินทางไกล 25,000 ลี้

    การนำทัพโดยเหมา เจ๋อตุง ในครั้งนั้น ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนอื่นๆ ให้ขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมา [2] และหลังจากสะสมกำลังพลและอาวุธที่มณฑลฉ่านซีอยู่หลายปีจนถึง ค.ศ. 1945 กองทัพแดงได้ยกทัพมาต่อสู้กับรัฐบาลเจียง ไคเช็ก และขับไล่เจียง ไคเช็กไปยังไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949
  • เหตุการณ์ซีอาย

    เหตุการณ์ซีอาย
    เป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในซีอาน, สาธารณรัฐจีน ในปี ค.ศ. 1936 เจียง ไคเชก ผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีน ได้ถูกควบคุมตัวโดยลูกน้องของเขา นายพล จาง เสวียเหลียง และหยาง หู่เฉิง เพื่อบังคับให้พรรคชาตินิยมจีนที่ปกครองอยู่(ก๊กมินตั๋งหรือ KMT) เปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับจักรวรรดิญี่ปุ่นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน(CPC)[1]
  • Period: to

    เหตุการณ์ซีอาน

    ก่อนเกิดเหตุอุบัติการณ์ เจียง ไคเชกได้มุ่งเน้นไปที่การสู้รบปราบปรามกับคอมมิวนิสต์ภายในประเทศจีนมากกว่าภัยคุกคามภายนอกจากญี่ปุ่น หลังเหตุอุบัติการณ์, เจียงได้ยอมร่วมมือกับคอมมิวนิสต์ในการต่อต้านญี่ปุ่น วิกฤตการณ์ได้สิ้นสุดลงภายหลังจากการเจราจาสองสัปดาห์ ซึ่งเจียงได้รับการปล่อยตัวในที่สุด และเดินทางกลับสู่เมืองหนานจิง พร้อมกับจาง
  • สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่2

    สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่2
    เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เป็นการสู้รบหลักระหว่างสาธารณรัฐจีนและจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 จุดเริ่มด้วยเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นที่บานปลายจนต้องสู้รบกัน แหล่งข้อมูลบางแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนยุคปัจจุบันได้มีการถือจุดเริ่มต้นของสงครามคือญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931[6]
  • Period: to

    สงคามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่2

    จีนได้ต่อสู้รบกับญี่ปุ่นด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ภายหลังญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในปี ค.ศ. 1941 สงครามได้รวมไปถึงความขัดแย้งที่อื่น ๆ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะที่เป็นเขตของแนวรบที่สำคัญที่ถูกเรียกว่า เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย นักวิชาการบางคนได้ถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองอย่างเต็มรูปแบบ
  • ปฏิวัติวัฒธรมมจีน

    ปฏิวัติวัฒธรมมจีน
    การปฏิวัติวัฒนธรรม (อังกฤษ: Cultural Revolution) เป็นขบวนการทางสังคม-การเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วง ค.ศ. 1966 ถึง 1976 ดำเนินการโดยเหมา เจ๋อตงซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเป็นผู้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเป้าหมายเพื่อปกป้องอุดมการณ์พรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยการขจัดองค์ประกอบที่เป็นทุนนิยม ประเพณีและวัฒนธรรมจีน ออกจากวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์และเพื่อกำหนดแนวทางแบบเหมาภายในพรรค
  • Period: to

    ปฏิวัติวัฒธรมมจีน

    ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ยุวชนแดงได้ใช้โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองบนกำแพงมหาวิทยาลัยฟู่ต้านที่ว่า "ปกป้องคณะกรรมการกลางของพรรคด้วยเลือดและชีวิต!" "ปกป้องท่านประธานเหมา ด้วยเลือดและชีวิต!"
  • ปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

    ปฏิรูปเศรษฐกิจจีน
    หมายถึงนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็น สังคมนิยมในแบบจีน ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 โดยนักปฏิรูปภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่นำโดยเติ้ง เสี่ยวผิง
  • Period: to

    ปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

    โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1978 จนถึง ค.ศ. 2013 เศรษฐกิจจีนเติบโตในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หรือโดยเฉลี่ยเติบโตร้อยละ 9.5 ต่อปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลของนายหู จิ่นเทา และนายเวิน เจียเป่า หันกลับมากำกับและควบคุมระบบเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีผลลบล้างต่อการปฏิรูปดังกล่าวบางส่วน[6]
  • ก่อตั้งสาณารัฐประชาชนจีน

    ก่อตั้งสาณารัฐประชาชนจีน
    ถูกจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐโดยเหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) รัฐบาลใหม่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า "รัฐบาลประชาชนกลาง" (中央人民政府) ได้รับการประกาศโดยเหมาในพิธีสถาปนา
  • Period: to

    ก่อตั้งสาธาณรัฐประชาชนจีน

    ในสมัยการปกครองของเหมา ประเทศจีนได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนิยมจากสังคมชาวนาแบบดั้งเดิม เอนเอียงไปทางอุตสาหกรรมหนักภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ในขณะที่นโยบายอย่างการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าและการปฏิวัติทางวัฒนธรรมสร้างความหายนะไปทั่วทั้งประเทศ การปฏิรูปเศรษฐกิจที่นำโดยเติ้ง
  • โอลิมปิกฤดูร้อน

    โอลิมปิกฤดูร้อน
    นายหวัง ฉีซัน นายกเทศมนตรีนครปักกิ่งกล่าวเสริมว่า หากพิธีเปิดงานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าการจัดงานกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว โดยทางจีนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้ปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งอาจเรียกกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้ว่าเป็น "อภิมหาโอลิมปิก"[2] เลยก็ว่าได้
  • Period: to

    โอลิมปิก ฤดูร้อน

    กีฬาโอลิมปิก 2008 เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 3 ล้านคน รวมถึงนักกีฬาประมาณ 20,000 คนและผู้สื่อข่าวอีกราว 30,000 ชีวิตเดินทางมาร่วมงานนี้