เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลก

  • Period: 600 BCE to 500

    ยุคคลาสสิก

  • 585 BCE

    การเกิดสุริยุปราคาในสมัยของชาวเมโสโปเตเมีย

    การเกิดสุริยุปราคาในสมัยของชาวเมโสโปเตเมีย
    ชาวอัสซีเรียในเมโสโปเตเมียพวกเขาเชื่อว่าสุริยุปราคาเป็นลางร้าย โดยเฉพาะเป็นการทำนายว่ากษัตริย์จะถึงแก่ความตาย เพื่อรักษา ชีวิตของกษัตริย์ พวกเขาจึงคิดค้นพิธีกรรมแต่งตั้ง กษัตริย์ตัวปลอมขึ้นมา โดยก่อนที่จะเกิดสุริยุปราคา จะมีการแต่งตั้งใครสักคนให้เป็นกษัตริย์ปลอม โดยกษัตริย์ปลอมจะแต่งตัวเหมือนกษัตริย์จริงทุกประการ ส่วนกษัตริย์ตัวจริงจะหลบซ่อน ตัวไม่ให้ใครพบเห็น และเมื่อสุริยุปราคาผ่านพ้นไปแล้วกษัตริย์ปลอมจะถูกประหารชีวิตเพื่อให้ความเลวร้ายต่าง ๆ ตายไปพร้อมกับกษัตริย์ปลอม
  • 539 BCE

    การล้มล้างจักรวรรดิบาบิโลนโดยจักรวรรดิเปอร์เซียของไซรัสมหาราช

    การล้มล้างจักรวรรดิบาบิโลนโดยจักรวรรดิเปอร์เซียของไซรัสมหาราช
    สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YouTube : Abdulthaitube - อับดุลย์
    เอ๊ย ถามไรตอบได้! หรือ Qr-code
  • 490 BCE

    การต่อสู้ที่มาราธอนระหว่างกรีซและเปอร์เซีย

    การต่อสู้ที่มาราธอนระหว่างกรีซและเปอร์เซีย
    เรื่องราวเริ่มต้นจากปี 490 ปีก่อนคริสตกาลระหว่างสงครามกรีก-เปอร์เซีย ขณะนั้น ชาวเอเธนส์กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากกองกำลังเปอร์เซียที่นำโดยกษัตริย์ดาไรอัส ตอนนั้น กองทัพเปอร์เซียยกพลขึ้นบก ที่เมือง Marathon บนชายฝั่งตะวันออกของ Attica ประเทศกรีซ แม้ฝั่งเอเธนส์จะมีจำนวนน้อยกว่ามากแต่ก็สามารถคว้าชัยชนะในสมรภูมิมาราธอนมาได้ หลังจากพวกเขาคว้าชัยชนะมาแล้ว นายพลชาวเอเธนส์ก็ได้วางแผน ที่จะส่ง "ผู้ส่งสาร" ไปยังกรุงเอเธนส์ โดยมีระย ทางห่างออกไปประมาณ 26.2 ไมล์ เพื่อไปส่งข่าวแห่งชัยชนะ
  • 490 BCE

    Phedippides

    Phedippides
    เป็นนักวิ่งและทหารที่ยอดเยี่ยมและเหมาะสมที่สุด การเดินทางจากมาราธอนไปเอเธนส์นั้นไม่ง่ายเลยPhedippides พบกับความท้าทายมากมายระหว่างทางรวมถึงภูมิประเทศที่อันตราย สภาพอากาศที่เลวร้ายและการเผชิญหน้ากับทหารศัตรู หลังจากวิ่งอย่างไม่ลดละหลายชั่วโมงในที่สุด Phedippides ก็มาถึงกรุงเอเธนส์ พร้อมความเหน็ดเหนื่อย พร้อมส่งข้อความแห่งชัยชนะไปยังชาวเอเธนส์
  • 480 BCE

    การต่อสู้ที่เทอร์โมพีเล (Thermopylae)

    การต่อสู้ที่เทอร์โมพีเล (Thermopylae)
    เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
  • 427 BCE

    การเสียชีวิตของเพลโตในกรีซ

    การเสียชีวิตของเพลโตในกรีซ
    การเสียชีวิตของเพลโต นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดถึงสาเหตุการตายของเขา อย่างไรก็ตาม มีบันทึกว่าเขาเสียชีวิตในกรุงเอเธนส์ในวัยประมาณ 80 ปี มีตำนานบางเรื่องที่กล่าวถึงว่าเพลโตเสียชีวิตในงานแต่งงานที่เขาเป็นแขก แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน
  • 404 BCE

    การสิ้นสุดของสงครามเพโลพอนเนเซียน

    การสิ้นสุดของสงครามเพโลพอนเนเซียน
    การสิ้นสุดของสงครามเพโลพอนนีเซียนเกิดขึ้นในปี 404 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อเอเธนส์พ่ายแพ้ต่อสปาร์ตาอย่างสมบูรณ์ การยอมจำนนของเอเธนส์เกิดขึ้นหลังจากที่กองเรือของพวกเขาถูกทำลาย และเมืองถูกปิดล้อมโดยกองทัพสปาร์ตาในช่วงเวลาสุดท้ายของสงคราม
  • 356 BCE

    การเกิดของอเล็กซานเดอร์มหาราช

    การเกิดของอเล็กซานเดอร์มหาราช
    อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 356 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองเพลลา (Pella) เมืองหลวงของแคว้นมาซิโดเนีย (Macedonia) ทางตอนเหนือของกรีซ พระองค์เป็นบุตรของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย และพระนางโอลิมเปียส (Olympias)
  • 323 BCE

    การเสียชีวิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช

    การเสียชีวิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช
    อเล็กซานเดอร์สวรรคตในพระราชวังเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ที่กรุงบาบิโลนในวันที่ 11 หรือ 12 มิถุนายน 324 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุการสวรรคตไม่เป็นที่แน่ชัด พลูทาร์กระบุว่าอเล็กซานเดอร์เริ่มมีไข้ราว 14 วันก่อนสวรรคตและอาการหนักถึงขั้นตรัสไม่ได้ พระอาการไม่ดีขึ้นจนสวรรคตในที่สุด นักประวัติศาสตร์บางคนอย่างดีโอโอรัส, แอร์เรียน เคยพูดทำนองว่าเจ็บป่วยของอเล็กซานเดอร์อาจเกิดจากการวางยาพิษในไวน์
  • 264 BCE

    การเริ่มต้นของสงครามปูนิกครั้งแรกระหว่างโรมันและคาร์เธจ

    การเริ่มต้นของสงครามปูนิกครั้งแรกระหว่างโรมันและคาร์เธจ
    สงครามปูนิกครั้งแรก (First Punic War) ระหว่างโรมันและคาร์เธจเริ่มต้นขึ้นในปี 264 ก่อนคริสต์ศักราช สงครามนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างสาธารณรัฐโรมันกับจักรวรรดิคาร์เธจ ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแอฟริกา (ในบริเวณประเทศตูนิเซียปัจจุบัน) เหตุผลหลักของสงครามคือการต่อสู้เพื่อควบคุมเกาะซิซิลี ซึ่งมีความสำคัญทั้งทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ
  • 202 BCE

    การสิ้นสุดของสงครามปูนิกครั้งที่สอง

    การสิ้นสุดของสงครามปูนิกครั้งที่สอง
    ในสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 "ฮันนิบาล (Hannibal)'
    แม่ทัพฝ่ายคาร์เธจ ได้เข้ารุกรานอิตาลีและได้รับชัยชนะ ก่อนจะพ่ายแพ้เมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล และทำให้กรุงโรมได้มีอำนาจในแถบตะวันตกของเมดิเตอเรเนียนและ ดินแดนจำนวนมากในสเปน
  • 44 BCE

    การลอบสังหารของจูเลียส ซีซาร์

    การลอบสังหารของจูเลียส ซีซาร์
    การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) เกิดขึ้นเมื่อ 44 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นวันที่เรียกกันว่า “Ides of March” เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในกรุงโรม ณ อาคารวุฒิสภา (Curia of Pompey) กลุ่มผู้สมคบคิดในการลอบสังหารนำโดยวุฒิสมาชิกที่มีชื่อเสียง เช่น มาร์คัส จูนีอัส บรูตัส (Marcus Junius Brutus) และ กัสสิอัส ลองจินัส (Gaius Cassius Longinus) เหตุผลหลักในการลอบสังหารซีซาร์เกิดจากความกลัวว่าซีซาร์จะใช้อำนาจของตนเองเพื่อล้มล้างสาธารณรัฐโรมันและกลายเป็นกษัตริย์
  • 27 BCE

    การก่อตั้งจักรวรรดิโรมันโดยออกตาเวียน

    การก่อตั้งจักรวรรดิโรมันโดยออกตาเวียน
    สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ YouTube : History World หรือ Qr-code
  • 70

    การทำลายวิหารที่สองของเยรูซาเล็มโดยชาวโรมัน

    การทำลายวิหารที่สองของเยรูซาเล็มโดยชาวโรมัน
    การทำลายวิหารที่สองของเยรูซาเล็ม (Second Temple) โดยชาวโรมันเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 70 ระหว่างการล้อมเยรูซาเล็ม (Siege of Jerusalem) ในช่วงสงครามยิว-โรมันครั้งแรก (First Jewish-Roman War) สงครามนี้เกิดจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างชาวยิวในแคว้นยูเดีย (Judea) กับจักรวรรดิโรมัน เนื่องจากชาวยิวไม่พอใจต่อการปกครองของโรมันและการละเมิดศาสนาและวัฒนธรรมของตน
  • 313

    การออกพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) อนุญาตให้ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับในจักรวรรดิโรมัน

    การออกพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) อนุญาตให้ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับในจักรวรรดิโรมัน
    พระราชกฤษฎีกานี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิโรมัน เพราะทำให้ศาสนาคริสต์เติบโตอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้น และในที่สุด คริสตจักรก็กลายเป็นศาสนาประจำรัฐของจักรวรรดิโรมันภายใต้จักรพรรดิธีโอโดซิอุสที่ 1 (Theodosius I) ในปี ค.ศ. 380
  • 325

    การประชุมสภาสะเลเซีย (Council of Nicaea)

    การประชุมสภาสะเลเซีย (Council of Nicaea)
    สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง เป็นสภาสังคายนาสากลครั้งแรกในศาสนาคริสต์ โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชทรงเรียกประชุมบรรดามุขนายกทั่วจักรวรรดิโรมันมาประชุมกันที่เมืองไนเซีย เพื่อหาข้อสรุปความเชื่อเกี่ยวกับสถานะของพระบุตร และความสัมพันธ์ระหว่างพระบุตรกับพระบิดา และได้ข้อสรุปว่าแม้พระบิดาและพระบุตรจะต่างบุคคลกัน แต่มีความเป็นพระเจ้าร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว สภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งได้ยืนยันข้อสรุปนี้อีกครั้งในปี ค.ศ. 381 และแถลงออกมาเป็นหลักข้อเชื่อไนซีน
  • 476

    การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก

    การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก
    การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกประกอบไปด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ปัจจัยสำคัญมาจากการที่โรมันถูกรุกรานจากชนเผ่าอนารยชน ไม่ว่าจะเป็นพวกชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribes) อย่างเช่น พวกแวนดัล (Vandals) พวกวิสิกอธ (Visigoths) และพวกแฟรงก์ (Franks) รวมถึงชนเผ่าลึกลับจากเอเชียอย่างพวกฮัน (Huns)
  • 527

    การปกครองของจักรพรรดิไบแซนไทน์ จัสติเนียนที่ 1

    การปกครองของจักรพรรดิไบแซนไทน์ จัสติเนียนที่ 1
    จักรพรรดิ จัสติเนียนที่ 1 (Justinian I) ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 527–565 เป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ การปกครองของจัสติเนียนได้รับการจดจำในประวัติศาสตร์จากหลายด้าน ทั้งการขยายดินแดน การปรับปรุงกฎหมาย และการฟื้นฟูวัฒนธรรมโรมัน จักรพรรดิองค์นี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาจักรวรรดิไบแซนไทน์จนถึงยุคที่รุ่งเรืองที่สุด
  • 622

    การอพยพ (ฮิจเราะห์) ของมูฮัมหมัดจากเมกกะไปมาดีนา

    การอพยพ (ฮิจเราะห์) ของมูฮัมหมัดจากเมกกะไปมาดีนา
    สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ YouTube : White Channel | สถานี
    ความดี 24 ชั่วโมง หรือ Qr-code
  • 800

    การครองราชย์ของชาร์ลมาญ (Charlemagne)

    การครองราชย์ของชาร์ลมาญ (Charlemagne)
    ชาร์ลมาญ (Charlemagne) หรือพระเจ้าชาร์ลมหาราช (ครองราชย์ ค.ศ. 768–814) เป็นผู้ที่ขยายอาณาจักรแฟรงก์ให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตก ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอิทธิพลและสามารถขยายอำนาจทางการเมืองและศาสนา ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็น จักรพรรดิแห่งโรมัน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 3 ในปี ค.ศ. 800 ทำให้จักรวรรดิฟรังค์เป็นจักรวรรดิที่ครอบครองพื้นที่กว้างใหญ่และทรงอิทธิพลในยุโรป
  • 800

    การก่อตั้งจักวรรดิฟรังค์

    การก่อตั้งจักวรรดิฟรังค์
    การก่อตั้งจักรวรรดิฟรังค์ เริ่มขึ้นเมื่อ พระเจ้าคลอวิสที่ 1(Clovis I) รวมเผ่าชาวแฟรงก์ให้เป็นหนึ่งเดียวในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 และเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากคริสตจักร ต่อมาในยุค ราชวงศ์คาโรแล็งเจียน ชาร์ลมาญ (Charlemagne) ขยายอาณาจักรแฟรงก์จนครอบคลุมยุโรปตะวันตกและได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิแห่งโรมันในปี ค.ศ. 800 ถือเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันในตะวันตก
  • 1066

    การพิชิตอังกฤษโดยวิลเลียมแห่งนอร์มังดี

    การพิชิตอังกฤษโดยวิลเลียมแห่งนอร์มังดี
    การพิชิตอังกฤษโดยวิลเลียมแห่งนอร์มังดี หรือที่เรียกว่า การพิชิตอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษ วิลเลียม ดยุกแห่งนอร์มังดี (William the Conqueror) จากฝรั่งเศส ได้ทำการรุกรานและพิชิตอังกฤษ หลังจากการต่อสู้ในยุทธการเฮสติ้งส์ (Battle of Hastings) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงสร้างทางการเมือง วัฒนธรรม และสังคมของอังกฤษ
  • Jun 15, 1215

    การลงนามในแม็กนา คาร์ตา (Magna Carta)

    การลงนามในแม็กนา คาร์ตา (Magna Carta)
    การลงนามใน แม็กนา คาร์ตา (Magna Carta) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 โดยพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษถูกขุนนางบังคับให้ลงนาม หลังจากที่พวกเขาไม่พอใจการปกครองที่กดขี่และการเก็บภาษีที่ไม่ยุติธรรม แม็กนา คาร์ตาเป็นเอกสารที่จำกัดอำนาจของกษัตริย์และวางหลักการที่สำคัญ เช่น การเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปกครองตามกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม แม็กนา คาร์ตาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมในอังกฤษ และมีอิทธิพลต่อกฎหมายสมัยใหม่ทั่วโลก
  • 1271

    การเดินทางของมาร์โค โปโล

    การเดินทางของมาร์โค โปโล
    การเดินทางของมาร์โค โปโล เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1271 เมื่อมาร์โค โปโลและครอบครัวเดินทางจากเวนิสผ่านเส้นทางสายไหมไปยังจีน เขาเข้าเฝ้ากุบไลข่าน จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน และได้รับตำแหน่งในราชสำนัก มาร์โคใช้เวลาอยู่ในจีนประมาณ 17 ปี ก่อนที่จะกลับมาที่เวนิสในปี ค.ศ. 1295 เรื่องราวการเดินทางของเขาได้รับการบันทึกในหนังสือ “The Travels of Marco Polo” ซึ่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกและกระตุ้นความสนใจในการสำรวจและการค้าขายของยุโรป
  • 1299

    การก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน

    การก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน
    จักรวรรดิออตโตมันก่อตั้งขึ้นในปลายศตวรรษที่ 13 โดย โอสมันที่ 1 ซึ่งเป็นผู้นำเผ่าโอตโตมันในภูมิภาคอนาโตเลีย (Anatolia) รัฐเล็ก ๆ นี้เริ่มขยายอำนาจอย่างรวดเร็ว โดยการพิชิตเมืองบูร์ซา (Bursa) ในปี ค.ศ. 1326 และต่อมาความสำเร็จสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อ สุลต่านเมห์เม็ดที่ 2 พิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ในปี ค.ศ. 1453 ซึ่งกลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิที่ชื่อว่า อิสตันบูล (Istanbul) การก่อตั้งนี้ทำให้จักรวรรดิออตโตมันกลายเป็นมหาอำนาจที่ครอบคลุมตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกาเหนือ
  • 1347

    การแพร่ระบาดของกาฬโรค (Black Death) ในยุโรป

    การแพร่ระบาดของกาฬโรค (Black Death) ในยุโรป
    การแพร่ระบาดของกาฬโรค หรือ Black Death เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1347 ถึง 1351 โดยการแพร่ระบาดนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis ที่ถูกนำเข้ามาในยุโรปโดยพ่อค้าและทหารจากเอเชียกลาง การแพร่กระจายของโรคเกิดจากหมัดที่อาศัยอยู่ในหนูที่ติดเชื้อและส่งต่อโรคสู่มนุษย์ โรคนี้ทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างรุนแรงในประชากรยุโรป ประมาณหนึ่งในสามของประชากรยุโรปทั้งหมดหรือประมาณ 25-30 ล้านคนเสียชีวิต อาการรวมถึงไข้สูง การบวมของต่อมน้ำเหลืองและการตกเลือดภายใน
  • 1453

    กาารล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์

    กาารล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์
    การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1453 โดยกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นจุดสิ้นสุดยุคกลางในยุโรปอีกด้วย
  • 1492

    การค้นพบทวีปอเมริกาโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

    การค้นพบทวีปอเมริกาโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
    เริ่มต้นเมื่อปี 1492 โคลัมบัสได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์และพระนางอิซาเบลล่าแห่งสเปนในการเดินทางเพื่อค้นหาเส้นทางใหม่ไปยังเอเชีย เขานำเรือสามลำ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1492 โคลัมบัสได้ลงจอดที่เกาะบาฮามาสซึ่งเขาตั้งชื่อว่า “ซานซัลวาดอร์”เขายังได้สำรวจเกาะอื่น ๆ ในแคริบเบียน รวมถึงฮิสปานิโอลา (ปัจจุบันคือเฮติและสาธารณรัฐโดมินิกัน) โคลัมบัสเชื่อว่าเขาได้มาถึงเอเชีย แต่ในความเป็นจริงเขาได้ค้นพบทวีปอเมริกาซึ่งยังไม่ได้รับการสำรวจโดยชาวยุโรปมาก่อน
  • 1498

    วาสโก ดา กามา เดินทางไปยังอินเดีย

    วาสโก ดา กามา เดินทางไปยังอินเดีย
    วาสโก ดา กามา เดินทางไปยังอินเดียในปี 1497-1498 โดยเขาเริ่มจากลิสบอนในโปรตุเกส เดินทางผ่านเคปแห่งความหวัง (Cape of Good Hope) และมาถึงเมืองกัลกัตตา (Calicut) บนชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย การเดินทางนี้เปิดเส้นทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปและอินเดีย ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อการค้าเครื่องเทศและสร้างอิทธิพลของโปรตุเกสในเอเชียใต้
  • Period: 1500 to

    ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและการสำรวจ

  • 1517

    การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาคริสต์โดยมาร์ติน ลูเทอร

    การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาคริสต์โดยมาร์ติน ลูเทอร
    การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ คือขบวนการที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1517 เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของนิกายโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา มาเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648ผลจากการปฏิรูปคือการแยกตัวจากนิกายคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์
  • การพ่ายแพ้ของเรือรบอาร์มาดา (Spanish Armada) โดยอังกฤษ

    การพ่ายแพ้ของเรือรบอาร์มาดา (Spanish Armada) โดยอังกฤษ
    ในวันที่ 31 กรกฎาคม ทัพเรือทั้งสองปะทะกันเป็นครั้งแรก โดยกองทัพเรืออังกฤษไล่ตีสเปนไปไปตามช่องแคบและสามารถยึดเรือสเปนได้สองลำ ชัยชนะครั้งแรกเป็นของอังกฤษ ต่อมา ทัพเรืออังกฤษ และ กองเรืออาร์มาดาได้ต่อสู้กัน แต่เรืออังกฤษทำการบรรทุกเชื้อเพลิงไว้แล้วเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานจากนั้นจุดเพลิงเผาให้วอดแล้วพุ่งชนกองเรือของสเปน ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นและกองเรือของสเปนเกิดความหวาดกลัว ทำให้กองเรือของสเปนต่างถ่อยร้นทำให้กองเรือสเปนแตกพ่าย และนั้นคือจุดจบของกองเรืออาร์มาดาของสเปน
  • สงครามกลางเมืองอังกฤษ

    สงครามกลางเมืองอังกฤษ
    สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War) เป็นความขัดแย้งทางการเมืองและทหารที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1642 และ 1651 ระหว่างฝ่ายกษัตริย์ (Royalists) ซึ่งสนับสนุนพระเจ้า ชาร์ลส์ที่ 1 และฝ่ายพาร์ลิเมนต์ (Parliamentarians) ซึ่งมีผู้นำหลักคือ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์
    สงครามจบลงด้วยการจับพระเจ้า ชาร์ลส์ที่ 1 และการประหารชีวิตของพระองค์ในปี 1649 และการจัดตั้งสาธารณรัฐอังกฤษภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นการปกครองแบบกษัตริย์อีกครั้งในปี 1660 หลังจากการตายของครอมเวลล์
  • การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในอังกฤษ

    การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในอังกฤษ
    การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (1688-1689) เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้การปกครองอังกฤษเปลี่ยนแปลงอย่างไม่รุนแรง พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ถูกแทนที่โดยวิลเลียมแห่งออเรนจ์และเจ้าหญิงแมรี่ ผู้เป็นทายาทของเจมส์ วิลเลียมเข้ายึดครองอังกฤษโดยไม่ต้องสู้รบ และเจมส์หนีไปฝรั่งเศส การเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและมีการออก “พระราชบัญญัติการปฏิวัติ” (Bill of Rights 1689) ซึ่งจำกัดอำนาจกษัตริย์และส่งเสริมหลักการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์วางรากฐานสำหรับการพัฒนาระบบการปกครองในอังกฤษ
  • การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา

    การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา
    การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้อาณานิคมอังกฤษในอเมริกาเหนือประกาศแยกตัวออกจากจักรวรรดิอังกฤษและก่อตั้งเป็นประเทศใหม่ที่เรียกว่า “สหรัฐอเมริกา”
  • การเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส

    การเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส
    การปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เมื่อกองกำลังประชาชนร่วมกันล้มล้างระบอบเก่าเพื่อสถาปนาระบอบใหม่ นำไปสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลาชั่วคราว และแล้วสถาบันกษัตริย์ก็ถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ หรือสามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ YouTube : Point of View
  • การขึ้นสู่อำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต

    การขึ้นสู่อำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต
    การขึ้นสู่อำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ตเริ่มต้นจากความสำเร็จทางทหารในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส หลังจากที่เขาได้ชัยชนะในสงครามต่างประเทศและได้รับความนิยม เขาใช้โอกาสนี้รัฐประหารในปี 1799 โค่นล้มรัฐบาลเถลิงอำนาจและจัดตั้งรัฐบาลคอนซูลาร์ (Consulate) ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในสามของคอนซูล ต่อมาในปี 1804 นโปเลียนประกาศตัวเองเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส และก่อตั้งจักรวรรดิที่หนึ่ง (First French Empire) การขึ้นสู่อำนาจของเขาส่งผลกระทบสำคัญต่อการเมืองและการปกครองในยุโรป
  • สงคราม ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ

    สงคราม ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
    สงครามปี 1812 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เกิดขึ้นระหว่างปี 1812-1815 สาเหตุหลักรวมถึงการบังคับกองเรือทหาร (Impressment) ของอังกฤษ, การสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันที่ต่อต้านการขยายตัวของสหรัฐฯ, และการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ อังกฤษได้โจมตีวอชิงตัน ดี.ซี. และเผาเมืองในปี 1814 การรบที่นิวออร์ลีนส์ในปี 1815 ทำให้สหรัฐฯ ชนะ
  • การยกเลิกทาสในจักรวรรดิอังกฤษ

    การยกเลิกทาสในจักรวรรดิอังกฤษ
    การยกเลิกทาสในจักรวรรดิอังกฤษเริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเคลื่อนไหว เช่น วิลเบอร์ฟอร์ซและสมาคมต่อต้านการค้าทาส การยกเลิกการค้าทาสเริ่มจากพระราชบัญญัติการค้าทาสปี 1807 ซึ่งห้ามการนำเข้าทาสจากแอฟริกา ต่อมามีพระราชบัญญัติการยกเลิกทาสปี 1833 ซึ่งยกเลิกการเป็นทาสในจักรวรรดิอังกฤษทั้งหมด ทาสทุกคนได้รับการปล่อยตัว และเจ้าของทาสได้รับค่าชดเชย กฎหมายนี้ทำให้จักรวรรดิอังกฤษเป็นหนึ่งในผู้นำในการยกเลิกทาสทั่วโลก
  • การปฏิวัติในยุโรป (Revolutions of 1848)

    การปฏิวัติในยุโรป (Revolutions of 1848)
    เป็นการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพีที่ต้องการล้มล้างระบอบกษัตริย์และก่อตั้งรัฐเอกราช การปฏิวัตินี้มีสาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจชนชั้นปกครอง ความต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชน การเรียกร้องเสรีภาพสื่อ กระแสชาตินิยมและเสรีนิยม และข้อเรียกร้องอื่น ๆ จากชนชั้นแรงงาน
  • สงครามกลางเมืองอเมริกา

    สงครามกลางเมืองอเมริกา
    สงครามกลางเมืองอเมริกา (1861-1865) เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐเหนือ (Union) และรัฐใต้ (Confederacy) สาเหตุหลักคือความแตกต่างด้านนโยบายการเป็นทาสและสิทธิโดยรัฐ สงครามเริ่มต้นเมื่อรัฐใต้ยิงใส่ Fort Sumter ในปี 1861 การรบสำคัญรวมถึงที่เก็ตตีสเบิร์กและแอนตีเทัม สงครามจบลงเมื่อรัฐใต้ยอมแพ้ในปี 1865 ซึ่งทำให้สหภาพกลับมารวมเป็นหนึ่ง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ได้ยกเลิกการเป็นทาสทั่วประเทศ
  • การก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

    การก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
    จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีรู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (อังกฤษ: Austria-Hungary) เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นมหาอำนาจในยุโรปกลาง ที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1867 ถึง ค.ศ. 1918จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้รับการสถาปนาขึ้นจากการประนีประนอมระหว่างออสเตรียและฮังการี ใน ค.ศ. 1867 และถูกยุบหลังจากที่จักรวรรดิออสเตรีย–ฮังการีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • การรวมชาติของเยอรมนีภายใต้โอทโต ฟอน บิสมาร์ก

    การรวมชาติของเยอรมนีภายใต้โอทโต ฟอน บิสมาร์ก
    การรวมชาติของจักรวรรดิเยอรมันที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นภายหลังสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1871 โดยพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ โดยมีออทโท ฟอน บิสมาร์คดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งปรัสเซีย นโยบายการรวมชาติของออทโท ฟอน บิสมาร์ค คือ นโยบายเลือดและเหล็ก เลือดหมายถึงการมุ่งทำสงคราม เหล็กภายถึงการมุ่งพัฒนาอุตสหกรรม ในช่วงที่มีอำนาจออทโท ฟอน บิสมาร์คไม่มีนโยบายล่าอาณานิคมในดินแดนทวีปอื่น
  • สงครามสเปน-อเมริกัน

    สงครามสเปน-อเมริกัน
    เป็นสงครามที่เริ่มต้นขึ้นภายหลังการระเบิดเรือยูเอสเอส เมน ในท่าเรืออาบานา อาณานิคมคิวบา นำไปสู่การแทรกแซงสงครามประกาศอิสรภาพคิวบาของสหรัฐ ซึ่งทำให้สหรัฐเริ่มมีอิทธิพลอย่างโดดเด่นเหนือภูมิภาคแคริบเบียน และได้รับดินแดนจำนวนมาก ได้แก่ ปวยร์โตรีโก กวม และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ สงครามยังนำไปสู่การมีส่วนร่วมของสหรัฐในการปฏิวัติฟิลิปปินส์และสงครามฟิลิปปินส์–สหรัฐที่เกิดขึ้นภายหลังอีกด้วย
  • Period: to

    ยุคสมัยใหม่

  • สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
    เป็นความขัดแย้งกันระหว่างสองขั้วมหาอำนาจพันธมิตร ได้แก่ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายดำเนินขึ้นในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา แปซิฟิก และพื้นที่บางส่วนของทวีปเอเชีย เป็นหนึ่งในสงครามที่มีความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยจำนวนทหารที่เสียชีวิต 9 ล้านนาย และบาดเจ็บ 23 ล้านนาย รวมทั้งพลเรือนที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่นอีก 5 ล้านคน ในช่วงสงครามมีการกระทำฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ และสงครามยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่สเปน
  • Period: to

    สงครามโลกครั้งที่ 1

  • การปฏิวัติรัสเซีย

    การปฏิวัติรัสเซีย
    สองเหตุการณ์หลักของการปฏิวัติรัสเซีย 1. การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์: ล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟ นำไปสู่การก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การนำของอเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี้ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสงครามได้ 2. การปฏิวัติเดือนตุลาคม: บอลเชวิคภายใต้การนำของเลนินทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลชั่วคราว และก่อตั้งสหภาพโซเวียต นำไปสู่การเริ่มต้นของระบอบคอมมิวนิสต์ในรัสเซีย การปฏิวัติทั้งสองนี้เปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองของรัสเซียและมีผลกระทบต่อประวัติศาสตร์โลกในศตวรรษที่ 20
  • การเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

    การเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
    ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Great Depression) เป็นภาวะช็อกทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างเห็นได้ชัดหลังจากราคาหุ้นในสหรัฐอเมริการ่วงลงอย่างมาก โรคระบาดทางการเงินเริ่มขึ้นในราวเดือนกันยายนและนำไปสู่การพังทลายของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในวันที่ 24 ตุลาคม (พฤหัสทมิฬ)
  • การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในเยอรมนี

    การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในเยอรมนี
    เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933–1945 และเป็นฟือเรอร์ของเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1934–1945 ฮิตเลอร์เป็นผู้นำสูงสุดของไรช์เยอรมัน ผู้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป โดยเป็นที่ทราบกันดีในประวัติศาสตร์ว่าหนึ่งในนโยบายทางการเมืองของเขาที่มีต่อเยอรมนีได้นำไปสู่การทำลายล้างปฏิปักษ์ทางการเมืองของลัทธิชาติสังคมนิยมเยอรมันและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฮอโลคอสต์ทั่วทั้งทวีปยุโรป
  • สงครามโลกครั้งที่สอง

    สงครามโลกครั้งที่สอง
    เป็นสงครามทั่วโลกที่กินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม
  • Period: to

    สงครามโลกครั้งที่ 2

  • การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

    การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
    การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์
  • การก่อตั้งสหประชาชาติ (United Nations)

    การก่อตั้งสหประชาชาติ (United Nations)
    สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อป้องกันสงครามในอนาคตและแก้ปัญหาที่สันนิบาตชาติไม่สามารถทำได้สำเร็จ รัฐบาล 50 ประเทศประชุมที่ซานฟรานซิสโกในวันที่ 25 เมษายน 1945 เพื่อร่างกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรได้รับการประกาศใช้ในวันที่ 25 มิถุนายน 1945 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 ตุลาคม 1945
  • การประกาศอิสรภาพของอินเดีย

    การประกาศอิสรภาพของอินเดีย
    การประกาศอิสรภาพของอินเดียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 หลังจากการต่อสู้เพื่อแยกตัวออกจากการปกครองของอังกฤษ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชนำโดยผู้นำเช่น มหาตมะ คานธี และเนห์รู ผ่านการเคลื่อนไหวอย่างสันติและการเจรจาทางการเมือง การประกาศอิสรภาพนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศเป็นสองส่วน: อินเดียและปากีสถาน โดยเนห์รูได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย
  • สงครามเกาหลี

    สงครามเกาหลี
    สงครามเกาหลี (1950-1953) เป็นสงครามที่เกิดจากการแยกตัวของเกาหลีออกเป็นสองประเทศ: เกาหลีเหนือ (คอมมิวนิสต์) และเกาหลีใต้ (สนับสนุนโดยสหรัฐฯ) เริ่มต้นเมื่อเกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ในปี 1950 สหรัฐฯ และพันธมิตรสนับสนุนเกาหลีใต้ ขณะที่จีนเข้าร่วมฝ่ายเกาหลีเหนือ สงครามสิ้นสุดด้วยการสงบศึกในปี 1953 โดยไม่มีการลงนามสัญญาสันติภาพ สถานการณ์ยังคงแบ่งแยกระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จนถึงปัจจุบัน
  • การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี

    การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี
    การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี เกิดขึ้นเมื่อขณะที่เขากำลังขับรถยนต์เปิดประทุนในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส เคนเนดีถูกยิงเสียชีวิตโดยลีย์ ฮาร์วีย์ ออสวาลด์ (Lee Harvey Oswald) ขณะขับรถร่วมกับภรรยาและผู้ว่าการรัฐเท็กซัสในขบวนรถลิมูซีน ออสวาลด์ถูกจับกุมและถูกกล่าวหาว่าฆ่าเคนเนดี แต่ถูกฆ่าตายในระหว่างการคุมขังก่อนที่จะถูกนำตัวขึ้นศาล การลอบสังหารนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อการเมืองและประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และยังเป็นหัวข้อของการสอบสวนและทฤษฎีสมคบคิดมากมาย
  • การก่อตั้งองค์กรเพื่อการสื่อสารทางไกล (Internet)

    การก่อตั้งองค์กรเพื่อการสื่อสารทางไกล (Internet)
    อินเทอร์เน็ตเริ่มต้นจากโครงการ ARPANET ของ DARPA ในปี 1969 เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ต่อมาในปี 1970s-1980s, การพัฒนาโปรโตคอล TCP/IP โดย วินท์ เซิร์ฟ และ โรเบิร์ต คาอิน ทำให้การเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เป็นไปได้ ในปี 1990s, การสร้าง World Wide Web โดย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ทำให้การเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บเบราว์เซอร์สะดวกขึ้น อินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วโลก
  • การลงจอดบนดวงจันทร์ของอพอลโล 11

    การลงจอดบนดวงจันทร์ของอพอลโล 11
    อะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนผิวของดวงจันทร์สำเร็จขององค์การนาซา ยานอะพลอลโล 11 ถูกส่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโดยจรวด แซเทิร์น 5 (Saturn V) ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 และ 3 วันต่อมา ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 เวลา 20:17 UTC Lunar Module ก็ลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ ในตำแหน่งที่มีชื่อว่า “ทะเลแห่งความเงียบสงบ (Sea of Tranquility)” ซึ่งเป็นที่ราบที่เกิดจากลาวาไหลท่วมผิวดวงจันทร์เมื่อนานมาแล้ว
  • การล้มล้างกำแพงเบอร์ลิน

    การล้มล้างกำแพงเบอร์ลิน
    เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลกซึ่งแสดงถึงการทลายม่านเหล็กและจุดเริ่มต้นการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและกลาง การทลายชายแดนเยอรมันภายในเกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน การสิ้นสุดสงครามเย็นได้รับการประกาศที่การประชุมสุดยอดมอลตาในสามสัปดาห์ต่อมา และการรวมเยอรมนีอีกครั้งก็เกิดขึ้นในปีต่อมา
  • การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

    การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
    การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นในปี 1991 หลังจากวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงนโยบายการปฏิรูปของไมเคิล กอร์บาชอฟที่ไม่สามารถแก้ปัญหาภายในประเทศได้ ความเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชในประเทศสมาชิกทำให้เกิดแรงกดดันมากขึ้น และในเดือนธันวาคม 1991 สหภาพโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการ โดยประเทศสมาชิกต่างๆ ประกาศเอกราชและแยกตัวออกจากสหภาพ
  • การเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงสหัสวรรษ

  • Period: to

    ยุคดิจิทัลและข้อมูล

  • การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา (เหตุการณ์ 9/11)

  • การเปิดตัวของเฟซบุ๊ก

  • การเปิดตัวของไอโฟน

  • การเกิดวิกฤตการณ์การเงินโลก

  • การสังหารโอซามา บิน ลาเดน

  • การเปิดตัวของกูเกิล กลาส

  • การแพร่กระจายของแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ

  • การลงประชามติ Brexit ในสหราชอาณาจักร

  • การเปิดตัวของเทคโนโลยี 5G

  • การระบาดของ COVID-19

  • การเริ่มต้นของการแจกจ่ายวัคซีน COVID-19

  • การบุกยูเครนโดยรัสเซีย

  • การพัฒนาและการนำมาใช้ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)