Takamat1

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

By Natapon
  • 35,000 BCE

    ยุคโจมง

    ยุคโจมง
    ได้มีเครื่องปั้นดินเผายุคโจมงสันนิษฐานว่า มนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า เมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนพุทธศักราช หลังจากนั้นยุคโจมงก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่าโจมงในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าลายเชือกซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก
  • 14,000 BCE

    ยุคโจมง

    ยุคโจมง
    ยุคโจมงเป็นยุคโบราณของประเทศญี่ปุ่น โดนเวลาของยุคนี้น่าจะอยู่ประมาณราว 14000 ปีก่อนคริสตการ ถึง 300 ปีก่อนคริสตการ ซึ่งยุคนี้มนุษย์เริ่มมีพัฒนาการจากยุคหินญี่ปุ่น เริ่มมีการทำเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ เพื่อเอาไว้ใช้งานตามรูปแบบต่าง แล้วแต่การใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องมือต่างๆ ที่ทำจากหินด้วยความประณีตในช่วงยุคนี้อีกด้วย
  • 10,000 BCE

    ยุคโจมงเริ่มแรก

    ยุคโจมงเริ่มแรก
    ยุคโจมงเริ่มแรกนั้นอยู่ในราว 10000 - 4000 ปีก่อนคริสตการ และจากหลักฐานทางโบราณคดีของญี่ปุ่น อาจทำให้ได้ทราบกันว่า เครื่องปั้นดินเผาของอารยธรรมโจมงนั้น อาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกเลยทีเดียว แต่ว่านักวิชาการญี่ปุ่นบางคนก็แย้งกับข้อคิดเห็นนี้และกล่าวไว้ว่า เครื่องปั้นดินเผาอาจจะมีอยู่แล้วในบริเวณประเทศจีนหรือรัสเซีย ซึ่งอาจจะเก่าพอ ๆ กับเครื่องดินเผาถ้ำฟุกุอิ แต่ถึงแม้จะไม่เก่ากว่าก็ตาม ชาวโจมงได้ปั้นตุ๊กตาและภาชนะจากดินเหนียวและทำลวดลายอย่างซับซ้อนด้วยการกด
  • 4000 BCE

    ยุคโจมงเริ่มแรก

    ยุคโจมงเริ่มแรก
    เครื่องปั้นดินเผาในช่วงยุคแรกนั้นจะมีลักษณะก้นมน ซึ่งอาจทำเลียนแบบตะกร้าสะพายหลังที่ใช้เก็บหาอาหาร และลวดลายที่อยู่บนเครื่องปั้นดินเผาก็น่าจะเกิดจากการเลียนแบบตะกร้าเช่นกัน แต่ว่าเมื่อเวลาผ่านไเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้ก็พัฒนาจากก้นมนเป็นก้นแหลม เพื่อวางบนกองไฟได้ง่ายขึ้น แล้วก็พัฒนาต่อมาเป็นก้นแบนเพื่อวางบนพื้นได้และเพื่อสะดวกต่อการใช้งานอย่างอื่นในเวลาต่อมาการล่าสัตว์ชาวโจมงได้มีพัฒนาการในการล่าสัตว์จากเครื่องมือที่มีอยู่แบบเดิม เป็นอาวุธจำพวกธนู
  • 3999 BCE

    การขยายตัวของประชากร

    การขยายตัวของประชากร
    มีหลักฐานที่แสดงถึงวัฒนธรรมโจมงนั้น มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดในบรรดาของประชากรที่ดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์ นอกจากนี้จากการศึกษาแผนที่ทางพันธุกรรมโดยลุยจี-ลูกา-กาวัลลี-สฟอร์ซา ได้แสดงให้เห็นรูปแบบของการขยายตัวทางพันธุกรรมจากพื้นที่ในทะเลญี่ปุ่นไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกและบางทีอาจจะไปถึงทวีปอเมริกาผ่านเส้นทางเลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกอีกด้วย จึงทำให้การขยายตัวทางประชากรครั้งนี้นับเป็นการขยายตัวประชากรที่ใหญ่เป็นอันดับสามของเอเชียตะวันออกอีกด้วย
  • Period: 1000 BCE to 800 BCE

    1000-800

    (ระหว่าง 1,000 และ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[15][16] โดยการหาอายุจากคีวชูตอนเหนือ ชาวยาโยอิได้รับอาวุธและเครื่องมือที่ทำมาจากทองสัมฤทธิ์และเหล็กจากจีนและคาบสมุทรเกาหลีจนค่อย ๆ เข้าแทนที่ชาวโจมง
  • 400 BCE

    ยุคยาโยอิ

    ยุคยาโยอิ
    การมาถึงของชาวยาโยอิจากทวีปเอเชียได้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านในขั้นต้นต่อหมู่เกาะญี่ปุ่นและบีบอัดช่วงเวลาของความสำเร็จพันปีการปฏิวัติยุคหินใหม่ให้เหลือเพียงช่วงทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการทำนา[13] และโลหวิทยา (metallurgy) การเริ่มต้นของคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงลูกนี้คาดว่าเริ่มเมื่อราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • 400 BCE

    ยุคโจมงตอนท้าย

    ยุคโจมงตอนท้าย
    โดะงูมีรูปร่างลักษณะมากมาย โดยส่วนมากสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นมนุษย์ผู้หญิงเพราะเพราะมีหน้าอก เอวคอด สะโพกผาย แต่หน้าตาออกจะแปลกประหลาดไปหน่อย คือหัวโต ตากลมโต มักสวมหมวกขนาดใหญ่ คาดเข็มขัด และใส่เสื้อผ้าหน้าตาแปลกๆ ที่คล้ายกับชุดนักบินอวกาศ ที่ไม่คิดว่ามนุษย์ในสมัยนั้นจะแต่งตัวกันแบบนี้ ซึ่งก็มีบางทฤษฎีที่โยงไปว่าโดะงูก็คือรูปปั้นมนุษย์ต่างดาว
  • 400 BCE

    ยุคโจมงตอนท้าย

    ยุคโจมงตอนท้าย
    ยุคโจมงตอนท้ายนั้นอยู่ในช่วงเวลาราว 4000 - 400 ปีก่อนคริสตการ ซึ่งบางเวลาในยุคนี้ตรงกับยุคโฮโลซีน (4000-2000 ปีก่อนคริสตการ) ซึ่งทำให้อุณหภูมิในช่วงโฮโลซีนสูงขึ้นกว่าปัจจุบันหลายองศาและระดับน้ำทะเลก็สูงกว่าปัจจุบันราว 5 ถึง 6 เมตร และในสมัยนี้ก็เริ่มมีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวขึ้น แล้วก็พัฒนาจากแบบเริ่มต้นมาเป็นนาข้าวแบบซับซ้อนและเกิดระบบการปกครองขึ้น องค์ประกอบอื่น ๆ หลายอย่างของวัฒนธรรมญี่ปุ่นอาจนับย้อนไปได้ถึงยุคนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงการอพยพเข้ามาผสมปนเปกัน
  • Period: 400 BCE to 57 BCE

    ยุคยาโยอิ

    เทคโนโลยียาโยอิมีต้นกำเนิดมาจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ แต่มีข้อถกเถียงระหว่างนักวิชาการว่าการขยายของเทคโนโลยีนั้นเกิดขึ้นโดยการย้ายถิ่นหรือเป็นเพียงการแพร่กระจายความคิด (diffusion of idea) หรือเป็นการผสมรวมระหว่างทั้งสอง อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการย้ายถิ่นได้รับการสนับสนุนโดยการศึกษาทางพันธุศาสตร์และภาษาศาสตร์[15] นักประวัติศาสตร์ ฮานิฮาระ คาซูโร เสนอว่าการไหลทะลักเข้ามาของผู้อพยพประจำปีจากทวีปอยู่ที่ราว 350 ถึง 3000 คน
  • 250 BCE

    ยุคโคฟุง

    ยุคโคฟุง
    ในยุคโคฟุง ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ค่อย ๆ รวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้อาณาจักรเดียวกัน สัญลักษณ์ของอำนาจที่เพิ่มขึ้นของผู้นำญี่ปุ่นคนใหม่คือ โคฟุง มูนดินฝังศพที่สร้างขึ้นตั้งแต่ราว ค.ศ. 250 เป็นต้นมา[
  • Period: 250 BCE to 538

    ยุคโคฟุง

    โดยส่วนมากมักมีขนาดใหญ่ เช่น สุสานจักรพรรดินินโตกุ มูนดินฝังศพรูปรูกุญแจยาว 486 เมตร ที่ใช้เวลาแรงงานจำนวนมหาศาลกว่า 15 ปี จนสำเร็จ สุสานได้รับการยอมรับว่าเป็นหลุมฝังศพที่สร้างขึ้นสำหรับจักรพรรดินินโตกุตามชื่อ[25] โคฟุง ส่วนใหญ่จะถูกล้อมรอบด้วยรูปปั้นเครื่องดินเผาดินเหนียวสีหม้อใหม่ (Teracotta clay figure) ที่เรียกว่า ฮานิวะ โดยมักปั้นเป็นรูปนักรบและม้า
  • 250

    ยุคโคฟุง

    ยุคโคฟุง
    ผู้นำในยุคโคฟุงพยายามจนได้รับการยอมรับทางการทูตจากจีน และได้รับการขนานนามผู้นำสืบเนื่องทั้งห้าว่าเป็นกษัตริย์แห่งวะทั้งห้า ช่างฝีมือและนักวิชาการจากจีนและสามราชอาณาจักรเกาหลีมีส่วนร่วมที่สำคัญในการถ่ายทอดเทคโนโลยีข้ามทวีปและทักษะการปกครองรัฐสู่ญี่ปุ่นในยุคนี้
  • 538

    ยุคอาซูกะ

    ยุคอาซูกะ
    ยุคอาซูกะเริ่มต้นในช่วง ค.ศ. 538 ตอนต้นพร้อมกับศาสนาพุทธจากอาณาจักรเกาหลีแพ็กเจ[29] นับตั้งแต่นั้นมา ศาสนาพุทธอยู่เคียงข้างกับศาสนาชินโตท้องถิ่นญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "ชินบุตสึชูโง"[30] ยุคนี้ตั้งชื่อตามเมืองหลวงโดยพฤตินัย อาซูกะ ในภูมิภาคคิไน
  • Period: 594 to 622

    ตระกูลพุทธโซงะ

    ข้าควบคุมรัฐบาลญี่ปุ่นจากเบื้องหลังในช่วง ค.ศ. 580 เกือบ 60 ปี[32] เจ้าชายโชโตกุ ผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธและผู้สืบสกุลโซงะบางส่วน ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและผู้นำโดยพฤตินัยของญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 594–622 โชโตกุเขียนรัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตราซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิขงจื๊อ เป็นจรรยาบรรณแก่
  • 609

    ระบบยศผ้าโพกหัวสิบสองชั้น

    ระบบยศผ้าโพกหัวสิบสองชั้น
    ระบบยศผ้าโพกหัวสิบสองชั้น" (冠位十二階, Kan'i Jūnikai)[33] ใน ค.ศ. 607 โชโตกุพูดดูหมิ่นจีนเล็กน้อยโดยการเปิดประโยคในจดหมายของเขาว่า "จากผู้นำแห่งแผ่นดินอาทิตย์อุทัยถึงผู้นำแห่งแผ่นดินอาทิตย์สนธยา (อาทิตย์ตก)"[a] ตามที่เห็นในอักษรคันจิสำหรับคำว่าญี่ปุ่น (นิปปง)[34] จนถึง ค.ศ. 670 คำว่า นิฮง ซึ่งเป็นอีกคำหนึ่งที่มีความหมายตรงกันกับคำว่า นิปปง สถาปนาตนเองเป็นชื่อทางการของญี่ปุ่นจวบจนถึงปัจจุบัน[35]
  • 644

    โค่นล้มจากการรัฐประหาร

    โค่นล้มจากการรัฐประหาร
    ใน ค.ศ. 645 ตระกูลโซงะถูกโค่นล้มจากการรัฐประหารโดยเจ้าชายนากะ โนะ โอเอะ และ ฟูจิวาระ โนะ คามาตาริ ผู้ก่อตั้งตระกูลฟูจิวาระ[36] รัฐบาลของเขาวางแผนและริเริ่มการปฏิรูปไทกะซึ่งเริ่มจากการปฏิรูปแผ่นดินโดยยึดตามแนวคิดลัทธิขงจื๊อและปรัชญาจากจีน การปฏิรูปนี้ทำให้ทุกผืนแผ่นดินในญี่ปุ่นเป็นของรัฐและจัดสรรที่ดินให้อย่างเท่าเทียมกัน
  • 672

    เรียนรู้การเขียนอักษรจีน

    เรียนรู้การเขียนอักษรจีน
    ) แก่เกษตรกร อีกทั้งยังสั่งให้มีการลงทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานของระบบการเก็บภาษีใหม่[37] จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการปฏิรูปนี้คือการรวมและเพิ่มพระราชอำนาจของพระราชวังหลวงที่ยังยึดตามโครงสร้างรัฐบาลจีน คณะทูตและนักเรียนถูกส่งไปยังจีนเพื่อเรียนรู้การเขียนอักษรจีน, การเมือง, ศิลปะ และศาสนา
  • 710

    ยุคนาระ

    ยุคนาระ
    ใน ค.ศ. 710 รัฐบาลได้ก่อตั้งเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ใหม่ที่เฮโจเกียว (ปัจจุบันคือเมืองนาระ) โดยได้รับต้นแบบจากเมืองหลวงของราชวงศ์ถังของจีน ฉางอาน ในยุคนี้ มีการผลิตหนังสือสองเล่มแรกในญี่ปุ่น: โคจิกิ และ นิฮงโชกิ[41] บันทึกตำนานของญี่ปุ่นตอนต้นและปรัมปรากำเนิดโลก ซึ่งทั้งสองเล่มอธิบายการสืบราชสันตติวงศ์ในฐานะทายาทแห่งพระเจ้า[42] มีการผลิต มันโยชู ขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 8 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นที่ดีที่สุด
  • 722

    จักรพรรดิโชมุ

    จักรพรรดิโชมุ
    จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 45[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2] รัชสมัยของจักรพรรดิโชมุทอดยาวจากปี ค.ศ. 724 ถึง ปี ค.ศ. 749 ระหว่าง ยุคนาระ[
  • Period: 734 to 737

    735-737

    ในยุคนี้ ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น ไฟป่า, ความแห้งแล้ง, ทุพภิกขภัย และการอุบัติของโรคอย่างการระบาดของโรคฝีดาษใน ค.ศ. 735–737 ที่คร่าชีวิตหนึ่งส่วนสี่ของประชากรทั้งหมด
  • 752

    การก่อสร้างวัดโทไดจิ

    การก่อสร้างวัดโทไดจิ
    การก่อสร้างวัดโทไดจิใน ค.ศ. 752[45] เงินระดมทุนในการก่อสร้างวัดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยพระพุทธที่ทรงอิทธิพล เกียวกิ และหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น วัดโทไดจิถูกใช้โดยพระจีน กันจิน เป็นสถานที่สำหรับบวช[46] ญี่ปุ่นไม่เคยประสบปัญหาการลดลงของประชากรที่ต่อเนื่องมาจนถึงยุคเฮอัง
  • 784

    ยุคเฮอัง

    ยุคเฮอัง
    ใน ค.ศ. 784 มีการย้ายเมืองหลวงอย่างชั่วคราวไปยัง นางาโอกะเกียว และอีกครั้งใน ค.ศ. 794 ไปยัง เฮอังเกียว (เกียวโตในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเมืองหลวงในยุคเฮอังจนถึง ค.ศ. 1868
  • 794

    เฮอังเกียว

    เฮอังเกียว
    คืออดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 794 โดยจักรพรรดิคัมมุ ในปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเกียวโต มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1074 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียวใน ค.ศ. 1868
  • Period: 812 to 814

    ยุคเฮอัง

    อำนาจทางการเมืองภายในราชสำนักถ่ายผ่านไปสู่ตระกูลฟูจิวาระ ครอบครัวขุนนางราชสำนักที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดกับราชวงศ์ผ่านการสมรสต่างพวก (intermarriage)[49] ระหว่าง ค.ศ. 812 และ 814 การระบาดของโรคฝีดาษเป็นผลให้ประชากรเกือบกึ่งหนึ่งของชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต
  • 858

    ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ

    ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ
    หรือที่รู้จักกันในชื่อ โซเมโดโนะ โนะ ไดจิง หรือ ชิรากาวะ-โดโนะ เป็นรัฐบุรุษ ข้าราชสำนัก และนักการเมืองชาวญี่ปุ่นในยุคเฮอัง เมื่อหลานชายของเขาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิเซวะ พระองค์ก็ได้แต่งตั้งโยะชิฟุซะซึ่งเป็นพระอัยกา (ตา) เป็นเซ็สโซ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ยังเยาว์อยู่ซึ่งเขานับเป็นเซ็สโซคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และนับเป็นผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาจากตระกูลฟูจิวาระ
  • 994

    จักรพรรดิชิรากาวะ

    จักรพรรดิชิรากาวะ
    เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 72,[1] ตามลำดับตามประเพณี.[2] รัชสมัยของจักรพรรดิชิรากาวะกินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1073 ถึง 1087
  • 996

    ปกครองญี่ปุ่นภายใต้อำนาจอันเหลือล้นของตระกูลฟูจิวาระ

    ปกครองญี่ปุ่นภายใต้อำนาจอันเหลือล้นของตระกูลฟูจิวาระ
    ใน ค.ศ. 996 ปกครองญี่ปุ่นภายใต้อำนาจอันเหลือล้นของตระกูลฟูจิวาระ[51] และให้บุตรสาวทั้ง 4 ของเขาสมรสกับจักรพรรดิทั้งองค์ปัจจุบันและในอนาคต[49] ตระกูลฟูจิวาระครองอำนาจจนถึง ค.ศ. 1086 เมื่อจักรพรรดิชิรากาวะสละราชบัลลังก์ให้แก่บุตรชายของเขา จักรพรรดิโฮริกาวะ แต่ยังคงใช้อำนาจทางการเมืองอย่างการริเริ่มธรรมเนียมปฏิบัติการว่าราชการในวัด (院政, insei)[52] โดยจักรพรรดิที่ครองราชย์อยู่จะทรงพระราชกรณียกิจเพียงแต่พระนาม ขณะที่อำนาจที่แท้จริง
  • 996

    จักรพรรดิโฮริกาวะ

    จักรพรรดิโฮริกาวะ
    เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 73 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี
  • 1002

    มากูระโนะโซชิ

    มากูระโนะโซชิ
    หรือ หนังสือข้างหมอน (อังกฤษ: The Pillow Book) เป็นบทประพันธ์ของเซ โชนางงที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจในราชสำนักเฮอัง ขณะที่เธอทำงานเป็นนางกำนัลถวายการรับใช้ใกล้ชิดจักรพรรดินีเทชิ (ซาดาโกะ) ระหว่างช่วง ค.ศ. 990 ถึง 1000 และหนังสือเล่มนี้อาจจะเขียนจบในราว ค.ศ. 1002
  • 1002

    ตำนานเก็นจิ

    ตำนานเก็นจิ
    เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก [1] และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น [2] โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน ค ศ.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto)
  • 1053

    คานะ

    คานะ
    เป็นคำที่ใช้เรียกตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแบ่งออกเป็นฮิรางานะและคาตากานะ ซึ่งรวมถึงภาษาระบบเก่า มังโยงานะ คานะหนึ่งตัวอักษรจะมีเสียงเฉพาะของแต่ละตัวอักษร
  • 1077

    สงครามโกะซันเน็ง

    สงครามโกะซันเน็ง
    หรือที่รู้จักในชื่อว่า สงครามสามปีช่วงหลัง เกิดสงครามในช่วงปลายยุคค.ศ. 1080 ในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดมุตซึบนเกาะฮนชู
  • Period: 1080 to 1083

    สงครามโกะซันเน็ง

    สงครามโกะซันเน็งเป็นสงครามที่ค่อนข้างยาวนานซึ่งในขณะเวลานั้นถือเป็นการแสดงอำนาจของแต่ละคนสงครามโกะซันเน็งเกิดจากการมีความบาดหมางกันในตระกูลคิโยฮาระ (บางครั้งถูกเรียกว่า "คิโยวาระ") การสงบศึกถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก มินาโมโตะ โยชิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองจังหวัดมุตซึใน ค.ศ. 1083 พยายามทำให้การต่อสู้ระหว่าง คิโยฮาระ โนะ มาซาฮิระ, อิเอฮิระ และ นาริฮิระ สงบลงมินะโมโตะ โยชิสงบศึกไม่สำเร็จจึงต้องใช้กองกำลังของตนเพื่อสงบศึก ได้รับความช่วยเหลือจากวาระ โนะ คิโยฮาระ ท้ายที่สุด อิเอฮาระ และ นาริฮิระ ถูกฆาตกรรม
  • Period: 1123 to 1142

    จักรพรรดิซูโตกุ

    รัชสมัยของจักรพรรดิซูโตกุกินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1123 ถึงปี ค.ศ. 1142
  • 1155

    จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ

    จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ
    เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 77 ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม แม้ว่าจะทรงครองราชย์อย่างเป็นทางการเพียง 3 ปี
  • Period: 1155 to 1158

    จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ

    คือระหว่างปี 1155 ถึง 1158 แต่พระองค์ทรงรักษาอำนาจทางการเมืองไว้อย่างแข็งแกร่งผ่านระบบอินเซ (院政) เป็นเวลากว่า 37 ปี ทำให้พระองค์มีอิทธิพลต่อการเมืองญี่ปุ่นในยุคนั้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม นักวิชาการยังคงถกเถียงกันว่าการปกครองของพระองค์สามารถจัดอยู่ในระบบอินเซได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ เนื่องจากเหตุการณ์กบฏปีโฮเง็งได้ทำลายพระราชอำนาจของจักรพรรดิไปในระดับหนึ่ง
  • 1156

    กบฏปีโฮเง็ง

    กบฏปีโฮเง็ง
    เป็นสงครามกลางเมือง ช่วงสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งเรื่องสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะกับอดีตจักรพรรดิซุโตะกุหลังจากเสร็จสิ้นสงครามที่ยาวนานถึง 20 วันปรากฎว่าฝ่ายอดีตจักรพรรดิซุโตะกุเป็นฝ่ายพ่ายแพ้โยะรินะงะตายในที่รบส่วนทะเมะโยะชิและทะดะมะซะถูกประหารชีวิตทางด้านทะเมะโตะโมะบุตรชายของทะเมะโยะชิและน้องชายของโยะชิโตะโมะหนีรอดไปได้ส่วนอดีตจักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ถูกเนรเทศไปจังหวัดคะงะวะ และสวรรคตที่นั่น
  • 1156

    กบฏปีเฮจิ

    กบฏปีเฮจิ
    เป็นสงครามกลางเมืองระยะเวลาสั้นในปี ค.ศ. 1160 ในยุคเฮอัง ระหว่างสองตระกูลไทระและมินะโมะโตะซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งในบังคับของจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ เกิดขึ้นจากความพยายามยุติข้อพิพาทเรื่องอำนาจทางการเมือง กบฏปีเฮจิถูกมองว่าเป็นผลลัพธ์ต่อจากกบฏปีโฮเง็งในปี ค.ศ. 1156
  • Period: 1160 to 1180

    สู่กบฏปีเฮจิ

    ค.ศ. 1160 ใน ค.ศ. 1180 สมาชิกตระกูลมินาโมโตะที่คิโยโมริขับไล่ไปคามากูระ มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ท้าทาย ไทระ โนะ คิโยโมริ[61] แม้ว่า ไทระ โนะ คิโยโมริ เสียชีวิตใน ค.ศ. 1181 สงครามเก็มเปนองเลือดที่ตามมาระหว่างตระกูลไทระและมินาโมโตะดำเนินต่อไปอีกสี่ปี ชัยชนะของตระกูลมินาโมโตะได้รับการรับรองใน ค.ศ. 1185 เมื่อกองกำลังนำโดยน้องชายของโยริโตโมะ มินาโมโตะ โนะ โยชิสึเนะ ได้รับชัยชนะในสงครามชี้ขาด ยุทธนาวีที่ดันโนะอูระ โยริโตโมะและผู้ติดตามของเขากลายเป็นผู้นำของญี่ปุ่นโดยพฤตินัย
  • 1164

    จักรพรรดิซูโตกุ

    จักรพรรดิซูโตกุ
    เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 75[1] ตามประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์
  • 1180

    จักรพรรดิโกะ-โทบะ

    จักรพรรดิโกะ-โทบะ
    ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ รัชสมัยของพระองค์ยาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1183 ถึงปี ค.ศ. 1198
  • Period: 1182 to 1198

    จักรพรรดิโกะ-โทบะ

    จักรพรรดิแห่งศตวรรษที่ 12 พระองค์นี้ได้รับการตั้งพระนามตาม จักรพรรดิโทบะ และ โกะ-(後) แปลตามตัวอักษรว่า ภายหลัง และด้วยเหตุนี้บางครั้งพระองค์จึงถูกเรียกว่า จักรพรรดิโทบะในภายหลัง คำว่า โกะ ในภาษาญี่ปุ่นยังแปลว่า ที่สอง และในหลักฐานบางแหล่งที่เก่ากว่าจักรพรรดิพระองค์นี้ถูกระบุว่าเป็น โทบะที่สอง หรือ โทบะที่ 2
  • 1185

    วัฒนธรรมเฮอัง

    วัฒนธรรมเฮอัง
    ในยุคเฮอัง ราชสำนักเป็นศูนย์กลางสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมระดับสูง[63] ความสำเร็จด้านวรรณกรรมอย่างประชุมบทร้อยกรอง โคกินวากาชู และ โทซะนิกิ ล้วนเกี่ยวข้องกับนักกวีนิพนธ์ คิ โนะ สึรายูกิ อีกทั้งประชุมปกิณกนิพนธ์ (collection of miscellany) มากูระโนะโซชิ ของ เซ โชนางง[64] และ ตำนานเก็นจิ ของ มูราซากิ ชิกิบุ ซึ่งมักได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานวรรณกรรมญี่ปุ่นยอดเยี่ยม
  • 1185

    คามากูระ

    คามากูระ
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 50 กิโลเมตรจากโตเกียว มีประชากรประมาณ 172,302 คน (1 กันยายน 2016) และมีความหนาแน่นของประชากร 4,358.77 คนต่อตารางกิโลเมตร บนพื้นที่ทั้งสิ้น 39.53 ตารางกิโลเมตร (15.26 ตารางไมล์) คามากูระได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1939
  • 1185

    ยุคคามากูระ

    ยุคคามากูระ
    หลังจากการเก็บสะสมรวบรวมอำนาจของมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ เขาเลือกที่จะปกครองญี่ปุ่นร่วมกับราชสำนักเกียวโต แม้ว่าโยริโตโมะจะตั้งรัฐบาลของเขาขึ้นที่คามากูระในภูมิภาคคันโตทางตะวันออกของญี่ปุ่น อำนาจของเขาจะต้องผ่านความเห็นชอบตามกฎหมายโดยราชสำนักเกียวโตในหลายโอกาส ใน ค.ศ. 1192 จักรพรรดิประกาศให้โยริโตโมะเป็น "เซอิไทโชกุน" (征夷大将軍, seii tai-shōgun, "จอมทัพปราบอนารยชน") หรือย่อเหลือเพียง "โชกุน"[69] รัฐบาลของโยริโตโมะถูกเรียกว่าเป็น "รัฐบาลบากูฟุ" (幕府, bafuku, "สำนักพลับพลา")
  • Period: 1189 to 1333

    โยโรโตโมะจู่โจมโยชิสึเนะที่ตอนแรก

    โยโรโตโมะจู่โจมโยชิสึเนะที่ตอนแรกได้รับการอุปถัมภ์โดย ฟูจิวาระ โนะ ฮิเดฮิระ หลานชายของคิโยฮาระ และผู้ปกครองดินแดนทางตอนเหนือของฮนชูโดยพฤตินัย ใน ค.ศ. 1189 หลังการเสียชีวิตของฮิเดฮาระ ผู้สืบทอดของเขา ยาซูฮิระ พยายามประจบสอพลอโยริโตโมะโดยการโจมตีบ้านพักของโยชิสึเนะ แม้ว่าโยชิสึเนะจะถูกฆ่า โยริโตโมะยังคงบุกครองดินแดนของตระกูลฟูจิวาระเหนือ[72] ภายหลัง โยชิสึเนะกลายเป็นบุคคลตำนานที่ปรากฏในผลงานทางวรรณกรรมนับไม่ถ้วนในฐานะวีรบุรุษในอุดมคติที่เสียชีวิตอย่างเศร้าโศก
  • Period: 1203 to 1221

    ผู้สืบทอดของโยริโตโมะ

    ผู้สืบทอดของโยริโตโมะได้ยกเลิกระบอบที่โยริโตโมะได้ริเริ่มนั้นเป็นการกระจายอำนาจจากศูนย์กลางและมีความเป็นศักดินาในเชิงโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบอบรัฐริตสึเรียวก่อนหน้า โยริโตโมะเป็นผู้เลือกอำมาตย์เพื่อปกครองแคว้นภายใต้ตำแหน่งที่เรียกว่า "ชูโงะ" หรือ "จิโต"[75] จากข้าราชบริพารใกล้ชิดของเขา (โกเกนิง) รัฐบาลโชกุนคามากูระอนุญาตให้ข้าราชบริพารมีกองทัพและบังคับใช้กฎหมายในแคว้นของตนตามอัธยาศัย
  • 1219

    มินาโมโตะ โนะ ซาเนโตโมะ

    มินาโมโตะ โนะ ซาเนโตโมะ
    เป็นโชกุนลำดับที่ 3 และลำดับสุดท้ายของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ จากตระกูล มินะโมะโตะเพราะหลังจากที่ซะเนะโตะโมะถูกลอบสังหาร ตระกูลมินะโมะโตะ ก็ขาดผู้สืบสกุลจนขุนนางในรัฐบาลต้องไปเชิญเจ้าชายจากราชสำนักมาเป็นโชกุนอีก 6 คน
  • 1221

    สงครามปีโจกีว

    สงครามปีโจกีว
    มีอีกชื่อว่า การก่อกำเริบโจกีว หรือ การกบฏโจกีว[1] เป็นสงครามครั้งสำคัญในยุคคามากูระที่เกิดขึ้นเมื่อปีโจคิวที่ 3 อันตรงกับ ค.ศ. 1221 จึงเป็นที่มาของชื่อเหตุการณ์ โดยเป็นการต่อสู้กันของกองทัพราชสำนักที่นำโดยอดีต จักรพรรดิโกะ-โทบะ และกองทัพของ รัฐบาลโชกุนคามากูระ ที่นำโดย โฮโจ โยชิโตกิ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน
  • 1274

    การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล

    การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล
    เป็นเหตุการณ์ที่กองทัพของจักรวรรดิมองโกล อันประกอบด้วยทหารมองโกล ทหารจีน และทหารเกาหลี เข้ารุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปีค.ศ. 1274 และ 1281
  • Period: 1274 to 1281

    การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล

    ขณะนั้น จักรวรรดิมองโกลขณะนั้นปกครองดินแดนมากกว่าครึ่งของทวีปเอเชีย และบางส่วนของทวีปยุโรป เป็นชาติมหาอำนาจที่เป็นที่หวั่นเกรงของทุกอาณาจักร ได้นำพาเกาหลีภายใต้ราชวงศ์โครยอ ซึ่งยอมสวามิภักดิ์ต่อมองโกลมาเป็นแนวร่วมในการรุกรานญี่ปุ่น แม้มองโกลจะมีกำลังทหารที่เหนือกว่าญี่ปุ่นมหาศาล แต่การรุกรานทั้งสองครั้งประสบความล้มเหลวอย่างยับเยินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง การสูญเสียไพร่พลและทรัพยากรมหาศาลจากการรุกรานทั้งสองครั้ง เป็นการนำมาซึ่งการเสื่อมถอยของจักรวรรดิมองโกล
  • 1338

    ยุคมูโรมาจิ

    ยุคมูโรมาจิ
    ทากาอูจิและซามูไรคนอื่น ๆ เริ่มไม่พอใจกับการฟื้นฟูเค็มมุซึ่งเป็นความพยายามอันทะเยอทะยานของจักรพรรดิโกไดโงะที่จะรวบอำนาจไว้ที่ราชสำนัก ทากาอูจิก่อกบฏหลังโกไดโงะปฏิเสธที่จะแต่งตั้งเขาเป็นโชกุน ใน ค.ศ. 1338 ทากาอูจิยึดเกียวโตและสถาปนาคู่ปรปักษ์ต่อราชสำนัก จักรพรรดิโคเมียว ขึ้นครองราชย์ ในทางกลับกันเขาได้แต่งตั้งทากาอูจิให้เป็นโชกุน[85] โกไดโงะตั้งรัฐบาลต่อต้านในเมืองทางตอนใต้ของโยชิโนะซึ่งนำไปสู่ยุคแห่งความขัดแย้งระหว่างราชสำนักเหนือและราชสำนักใต้อย่างยาวนาน
  • Period: 1450 to 1397

    วัฒนธรรมมูโรมาจิ

    แม้จะเกิดสงครามขึ้น ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดยุคมูโรมาจิ จนถึง ค.ศ. 1450 ประชากรของญี่ปุ่นอยู่ที่ราวสิบล้านคน ขณะที่ในช่วงคริสต์ศตววรษที่ 13 ตอนปลาย จำนวนประชากรอยู่ที่หกล้านคน[82] การค้าขายกับจีนและเกาหลีเจริญพัฒนาอย่างก้าวกระโดดอันเนื่องมาจากไดเมียวและกลุ่มอื่น ๆ ในญี่ปุ่นผลิตเหรียญกษาปณ์เป็นของตนเอง ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราในยุคนี้การพัฒนาศิลปะแสดงลักษณ์
  • 1477

    สงครามโอนิง

    สงครามโอนิง
    ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม กลียุคแห่งโอนิง[3] และ สงครามโอนิง-บุมเม[4] เป็นสงครามกลางเมืองช่วง ค.ศ. 1467 ถึง 1477 ในยุคมูโรมาจิของประเทศญี่ปุ่น คำว่าโอนิง สื่อถึงปีศักราชญี่ปุ่นที่เกิดสงครามนี้ขึ้น สงครามสิ้นสุดลงในศักราชบุมเม ข้อพิพาทระหว่างโฮโซกาวะ คัตสึโมโตะกับยามานะ โซเซ็นบานปลายไปเป็นสงครามกลางเมืองระดับประเทศในรัฐบาลโชกุนอาชิกางะกับไดเมียวจำนวนมากในหลายภูมิภาค
  • 1541

    ศิลปะนัมบัง

    ศิลปะนัมบัง
    หมายถึง ศิลปะญี่ปุ่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16–17 ที่ได้รับอิทธิพลจากพวกนัมบัง (南蛮, "คนเถื่อนจากภาคใต้") ซึ่งหมายถึงพ่อค้าและนักบวชจากยุโรป โดยเฉพาะชาวโปรตุเกส ซึ่ง "นัมบัง" เป็นคำยืมจากภาษาจีนว่า "หนานหมาน" แปลตรงตัวว่า "คนเถื่อนจากภาคใต้" เช่นกัน แต่มีความหมายสื่อถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในญี่ปุ่นนำคำนี้มาใช้สำหรับเรียกคนโปรตุเกส ซึ่งเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาค้าขายในญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1543 แล้วจึงถูกใช้เรียกชาวยุโรปอย่างรวม ๆ
  • Period: 1561 to 1571

    กองกำลังของ โอโตโมะ โซริน

    ใน ค.ศ. 1561 กองกำลังของ โอโตโมะ โซริน โจมตีปราสาทในโมจิด้วยความช่วยเหลือของชาวโปรตุเกสที่มอบเรือสามลำที่บรรทุกลูกเรือกว่า 900 คนและปืนครกมากกว่า 50 กระบอก การโจมตีครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการกระหน่ำยิงครั้งแรกโดยเรือต่างชาติบนเกาะญี่ปุ่นบันทึกการต่อสู้ทางเรือระหว่างชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1565 ในสงครามอ่าวฟูกูดะ ไดเมียว มัตสึระ ทากาโนบุ โจมตีเรือพาณิชย์ที่ท่าเรือฮิราโดะ[99] การเผชิญหน้าครั้งนี้ส่งผลให้นักค้าชาวโปรตุเกสต้องหาท่าเรือที่ปลอดภัยสำหรับเรือ
  • 1562

    โอโตโมะ โซริน

    โอโตโมะ โซริน
    ในอดีตเขามีชื่อเดิมว่า โยชิชิเงะ (ญี่ปุ่น : 義鎮 , อังกฤษ : Yoshishige) แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โซริน ในปี ค.ศ.1562 จากนั้นอีก 16 ปีต่อมา เขาได้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ และได้รับชื่อเป็น ดอน ฟรานซิสโก (ドン・フランシスコ)
  • 1570

    ไดเมียว

    ไดเมียว
    เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากโชกุนและไดเมียวจากหลายตระกูลก็ได้เป็นโชกุนในเวลาต่อมา พวกตระกูลที่มีฐานะเป็นไดเมียวเรียกกันว่า โคตรตระกูล
  • 1582

    โอดะ โนบูนางะ

    โอดะ โนบูนางะ
    เป็นชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งเป็นไดเมียว และหนึ่งในบุคคลที่สำคัญในยุคสมัยเซ็งโงกุ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้รวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" คนแรกของญี่ปุ่น ชื่อเสียงของเขาในสงครามทำให้เขาได้รับฉายาว่า "ไดเมียวปีศาจ" หรือ "ราชาปีศาจ"
  • ยุคเซ็งโงกุ

    ยุคเซ็งโงกุ
    ระยะเวลา ค.ศ. 1467–1615 เป็นช่วงเวลาแห่งความแตกแยกในญี่ปุ่นในช่วงปลายของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะ เมื่ออำนาจของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะเสื่อมลงจากเหตุการณ์สงครามโอนิน (ญี่ปุ่น: 応仁の乱; โรมาจิ: Ōnin no Ran) ทำให้รัฐบาลโชกุนส่วนกลางไม่มีอำนาจในการปกครองแคว้นท้องถิ่นต่างๆ ทำให้ผู้มีอำนาจและอิทธิพลตามแคว้นต่างๆในญี่ปุ่นตั้งตนขึ้นเป็นอิสระจากการปกครองของรัฐบาลโชกุน เจ้าผู้ครองแคว้นในยุคเซ็งโงกุเรียกว่าไดเมียว ยุคเซ็งโงกุเป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคมของญี่ปุ่น
  • โทกูงาวะ อิเอยาซุ

    โทกูงาวะ อิเอยาซุ
    เดิมชื่อ มัตสึไดระ ทาเกจิโยะ เป็นผู้ก่อตั้งและโชกุนคนแรกของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ซึ่งปกครองญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1603 จนถึงการฟื้นฟูเมจิในปี ค.ศ. 1868 อิเอยาซุนั้นถือกันว่าเป็นหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ญี่ปุ่น อีกสองคน คือ โอดะ โนบูนางะ และโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ อิเอยาซุเป็นบุตรชายของไดเมียวเล็ก ๆ ครั้งหนึ่งเคยใช้ชีวิตในฐานะตัวประกันภายใต้ไดเมียวอิมางาวะ โยชิโมโตะ ในนามของบิดาของเขา ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งไดเมียวหลังจากการเสียชีวิตของบิดา
  • โฮโจ มะซะโกะ

    โฮโจ มะซะโกะ
    มิได คนแรกอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเป็นภริยาเอกของ มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ปฐมโชกุนแห่ง รัฐบาลโชกุนคามากูระ และเป็นมารดาของโชกุนคนที่ 2 และคนที่ 3 คือ มินาโมโตะ โนะ โยริอิเอะ และ มินาโมโตะ โนะ ซาเนโตโมะ