เมืองโบราณที่มีคนอยู่อาศัยในถึงปัจจุบัน

  • 20,000 BCE

    รายชื่อของวัฒนธรรมในช่วง ยุคหินใหม่ ของประเทศ จีน

    รายชื่อของวัฒนธรรมในช่วง ยุคหินใหม่ ของประเทศ จีน ที่นักโบราณคดีขุดพบ โดยเรียงตามลำดับเวลาจากต้นถึงท้ายสุด และแผนผังแสดงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมเหล่านี้ในเชิงระยะเวลาและเชิงภูมิศาสตร์ทั้งนี้การจำกัดความของยุคหินใหม่ของจีนกำลังอยู่ระหว่างการทบทวน เนื่องจากการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาในปี 2012 ที่มีอายุประมาณ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งบ่งชี้ว่าคำจำกัดความของยุคหินใหม่จากตัวชี้วัดคือ เครื่องปั้นดินเผา เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้กำหนดช่วงยุคหินใหม่ได้อีกต่อไป การจำกัดความจะซับซ้อนขึ้นจากการกำหนด
  • 10,000 BCE

    ยุคหินเก่า

    จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว (元谋人:Yuánmóu rén) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1965 ที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ พบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง (北京人:Běijīng rén) มีอายุประมาณ 700,000 ปี - 200,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1929 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง (北京西南周口店龙骨山山洞里) และ พบหลักฐานมนุษย์ถ้ำ มีอายุประมาณ 18,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1930 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง
  • 10,000 BCE

    ยุคหินกลาง

    ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
  • Period: 10,000 BCE to

    ประวัติศาสตร์จีน

  • 6000 BCE

    ยุคหินใหม่

    ยุคหินใหม่ในบริเวณประเทศจีนปัจจุบัน มีอายุในช่วงประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว เริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความประณีตและแข็งแกร่งมากขึ้น ตกแต่งเขียนลายสีและขัดมันผิว
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
  • 4000 BCE

    ยุคโลหะ

    มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้ว หลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงศ์ซาง และ ราชวงศ์โจว
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
  • 4000 BCE

    เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรง

    เมื่อ 4,000 ปีก่อน ลุ่มแม่น้ำหวงเหอหรือแม่น้ำเหลืองเกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงต้าอวี่(อี่)ได้รับคำสั่งให้ไปแก้ปัญหาอุทกภัยและประสบความสำเร็จในที่สุด จึงกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจาก ประชาชนทั่วไป ซุ่นหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่ของชนเผ่าหัวเซี่ยในเวลานั้นได้ มอบราชบัลลังก์ให้อวี่สืบทอดต่อ เรื่องราวเกี่ยวกับ “ต้าอวี่” แก้ปัญหาอุทกภัยได้เล่าขานกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%88
  • 3162 BCE

    สามราชาห้าจักรพรรดิ

    สามราชาห้าจักรพรรดิ
    สามราชาห้าจักรพรรดิ (จีน: 三皇五帝; พินอิน: Sānhuáng Wǔdì; อังกฤษ: Three Sovereigns and Five Emperors) เป็นกลุ่มบุคคลหรือเทวดาซึ่งตำนานกล่าวว่า ปกครองภาคเหนือของจีนโบราณ
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8B%E0%B8%A2
  • 2697 BCE

    หวงตี้

    หวงตี้
    หวงตี้ หรือ จักรพรรดิเหลืองจีน: 黃帝เป็นหนึ่งในกษัตริย์ตามตำนานจีนและวีรบุรุษทางวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในซานหวงอู่ตี้ ตำนานระบุว่า จักรพรรดิเหลืองครองราชย์ตั้งแต่ 2697 – 2597หรือ 2696 – 2598 ปีก่อนคริสตกาลลัทธิของพระองค์โดดเด่นอย่างมากในยุคฮั่นกล่าวกันว่าพระองค์เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐรวมศูนย์อำนาจ ผู้ปกครองจักรวาล และองค์อุปถัมภ์ศิลปะลับพระองค์ได้รับการยกย่องว่าทรงประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจำนวนมาก และปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ริเริ่มอารยธรรมจีนและกล่าวกันว่าเป็นผู้บรรพบุรุษของชาวจีนหัวเซี่ย
  • 2514 BCE

    จฺวันซฺวี

    จฺวันซฺวี
    จฺวันซฺวี (จีนตัวย่อ: 颛顼; จีนตัวเต็ม: 顓頊; พินอิน: Zhuānxū) บ้างเรียก เกาหยาง (จีนตัวย่อ: 高阳; จีนตัวเต็ม: 高陽; พินอิน: Gāoyáng) เป็นจักรพรรดิจีนโบราณตามประมวลเรื่องปรัมปราจีน
  • 2436 BCE

    คู่

    คู่
    คู่ (จีนตัวย่อ: 喾; จีนตัวเต็ม: 嚳, variant graph จีน: 俈)หรือโดยทั่วไปเรียก ตี้คู่ (จีนตัวย่อ: 帝喾; จีนตัวเต็ม: 帝嚳), หรือ เกาซิน หรือ เกาซินจื้อ (จีน: 高辛氏) เป็นจักรพรรดิจีนโบราณตามประมวลเรื่องปรัมปราจีน คู่เป็นหนึ่งในห้าจักรพรรดิในยุคสามราชาห้าจักรพรรดิ โดยทรงสืบเชื้อสายมากจากหวงตี้ คู่ หรือ เกาซิน มีอีกพระนามที่เป็นที่รู้จักคือ "จักรพรรดิขาว"
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88
  • 2366 BCE

    ตี้จื้อ

    ตี้จื้อ (จีนตัวย่อ: 帝挚; จีนตัวเต็ม: 帝摯; พินอิน: Dì Zhì) หรือ จื้อ เป็นจักรพรรดิจีนโบราณในประมวลเรื่องปรัมปราคำว่า "ตี้" เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า จักรพรรดิ ดังในชื่อตำแหน่ง "หยานตี้" (炎帝; "จักรพรรดิเปลวเพลิง") และ "หฺวังตี้" (黃帝; "จักรพรรดิเหลือง") ตี้จื้อผู้นี้เป็นบุตรของตี้คู่ (帝嚳) ขึ้นเป็นจักรพรรดิและดำรงตำแหน่ง 9 ปี (ราว 2366–2358 ปีก่อนคริสตกาล) จนเสียชีวิต และน้องชายร่วมบิดาหรือมารดา คือ ตี้เหยา (帝堯) สืบตำแหน่งต่อ เอกสาร ฉื่อจี้ (史記) ของซือหม่า เชียน (司馬遷) ระบุไว้ในส่วนพงศาวดารจักรพรรดิ
  • 2356 BCE

    พระเจ้าเหยา

    พระเจ้าเหยา
    พระเจ้าเหยา (จีนตัวย่อ: 尧; จีนตัวเต็ม: 堯; พินอิน: Yáo; เวด-ไจลส์: Yao), (ตามตำนาน 2356-2255 ก่อนคริสตกาล)คือ ผู้ปกครองจีนตามตำนาน ในยุคสามกษัตริย์ห้าจักรพรรดิ ชื่ออื่นที่เรียกกันได้แก่ เถาถัง ซื่อ (陶唐氏) หรือ ถัง เหยา (唐堯) เมื่อแรกเกิดมีนามว่า อี ฟ่างซวิน (伊放勳) หรือ อี ฉี (伊祁) เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของจักรพรรดิคู่
  • 2255 BCE

    พระเจ้าชุ่น

    พระเจ้าชุ่น
    พระเจ้าชุ่น (จีน: 舜; พินอิน: Shùn) หรือ ตี้ชุ่น (จีน: 帝舜; พินอิน: Dìshùn) หรือ ฉงหฺวา (จีน: 重華; พินอิน: Chónghuá) เป็นผู้ปกครองจีนโบราณตามตำนาน ข้อมูลบางส่วนยกให้เป็นหนึ่งในสามราชาห้าจักรพรรดิ[1] โดยเป็นองค์สุดท้ายจากห้าจักรพรรดิ วรรณกรรมมุขปาฐะระบุว่าพระเจ้าชุ่นมีพระชนม์ชีพในช่วงระหว่าง 2294 ถึง 2184 ปีก่อน ค.ศ. แล้วยังระบุอีกว่าผู้ที่ถือสกุลหู (胡) เป็นลูกหลานของพระเจ้าซุ่น หูกงหม่าน (胡公滿) หนึ่งในลูกหลานของพระเจ้าซุ่น กลายเป็นผู้ก่อตั้งรัฐเฉิน จักรพรรดิราชวงศ์เฉินในภายหลังก็อ้าง
  • 2194 BCE

    พระเจ้าอวี่

    พระเจ้าอวี่
    พระเจ้าอวี่ (จีน: 大禹; พินอิน: Dà-Yǔ; 2194–2149 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย ซึ่งนับเป็นราชวงศ์แรกของจีนที่มีการสืบราชบัลลังก์โดยสายโลหิต สถาปนาเมื่อปีที่ 2059 ก่อนคริสตกาล ณ หมู่บ้านเป่ยฉวน ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเสฉวน ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ห้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของจีน เดิมพระองค์เป็นขุนนางในสมัยที่พระเจ้าชุ่นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศจีน มีผลงานที่โด่งดังคือการคิดค้นระบบชลประทานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
  • 2146 BCE

    พระเจ้าฉี่

    พระเจ้าฉี่
    พระเจ้าฉี่ (จีน: 啟) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย ครองราชย์ระหว่าง 2146–2117 ปีก่อนคริสตกาล เป็นเวลาประมาณ 29 ปีและเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอวี่กับพระนางหนี่เจียว เมื่อพระราชบิดาของพระองค์ชราลงก็ได้แสดงความจำนงที่จะยกราชสมบัติให้โป๋อี้ ขุนนางผู้หนึ่งที่พระเจ้าอวี่เห็นว่ามีสติปัญญาสมควรที่จะครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ แต่เมื่อพระเจ้าอวี่เสด็จสวรรคต โป๋อี้ก็ไม่ยอมรับเป็นหัวหน้าเผ่า โดยอ้างว่า ตนเป็นแค่ขุนนางผู้น้อย รับราชการมาเพียง 3 ปี เห็นควรให้ “ฉี่”
  • 2100 BCE

    ราชวงศ์เซี่ย

    ราชวงศ์เซี่ย (夏朝:Xià cháo) (2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
  • 2100 BCE

    มณฑลชานซี

    ปกครองจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อน พ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานซีในปัจจุบัน ใกล้แม่น้ำหวงhttps://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
  • 2000 BCE

    ราชวงศ์ชาง

    ราชวงศ์ชาง
    ราชวงศ์ชาง (จีน: 商朝; พินอิน: Shāng cháo; อังกฤษ: Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin Dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%87
  • 1728 BCE

    เจี๋ย

    เจี๋ย
    เจี๋ย (จีน: 桀; พินอิน: Jié; ตามประเพณีเชื่อว่า มีชีวิตอยู่ระหว่าง 1728–1675 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นผู้ปกครองคนที่ 17 และคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ย (夏朝) ในประเทศจีน ถือกันมาแต่เดิมว่า เป็นทรราชที่กดขี่ประชาราษฎร์ นำความพินาศมาสู่ราชวงศ์https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8B%E0%B8%A2
  • 1046 BCE

    ราชวงศ์โจว

    ราชวงศ์โจว
    ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว
  • 1046 BCE

    ยุทธการมู่เหย่

    ประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช

    ตำบลมู่เหย่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอินซฺวี มณฑลเหอหนานกลาง
    ราชวงศ์โจวชนะอย่างเด็ดขาด
    พระเจ้าซางโจ้วปลงพระชนม์พระองค์เอง
    ราชวงศ์ซางล่มสลายhttps://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88
  • 1043 BCE

    พระเจ้าโจวอู่

    พระเจ้าโจวอู่
    พระเจ้าโจวอู่ (หรือพระเจ้าจิวบู๊อ๋อง ในสำเนียงฮกเกี้ยน, จีน: 周武王; พินอิน: Zhōu Wǔ Wáng; ? - ป. 1043 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์โจวของจีนโบราณ ระยะเวลาของรัชสมัยของพระองค์ไม่แน่นอนแต่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเริ่มต้นประมาณ 1046 ปีก่อนคริสตกาล และสิ้นสุดในอีกสามปีต่อมาใน 1043 ปีก่อนคริสตกาล
  • 781 BCE

    พระเจ้าโจวโยว

    พระเจ้าโจวโยว
    พระเจ้าโจวโยว เป็นกษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์โจว และองค์สุดท้ายของราชวงศ์โจวตะวันตก พระองค์ครองราชย์ใน 781 ถึง 771 ปีก่อน ค.ศ.
  • 770 BCE

    พระเจ้าโจวผิง

    พระเจ้าโจวผิง
    พระเจ้าโจวผิง (จีน: 周平王; พินอิน: zhōu píngwáng) พระนามเดิม จี้ อี้จิ้ว[2] เป็นกษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์โจว และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก[3] เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจวโยว และ พระมเหสีเฉิน (申后)
  • 314 BCE

    พระเจ้าโจวหนั่น

    พระเจ้าโจวหนั่น (จีน: 周赧王; พินอิน: Zhōu Nǎn Wáng, สิ้นพระชนม์ 256 ปีก่อนคริสตกาล, ครองราชย์ 314 – 256 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 37 และองค์สุดท้ายของราชวงศ์โจวของจีน เป็นโอรสของ พระเจ้าโจวเชิ่นจิ้ง และพระนัดดาของ พระเจ้าโจวเสี่ยน พระองค์เป็นกษัตริย์มาห้าสิบแปดปี ยาวนานที่สุดในราชวงศ์โจวและจีนยุคก่อนจักรวรรดิทั้งหมด (ในแง่ของระยะเวลาในรัชสมัยตามด้วย พระเจ้าโจวมู่) ในรัชสมัยของพระเจ้าโจวหนั่น กษัตริย์ของราชวงศ์โจวสูญเสียพระราชอำนาจทางการเมืองและการทหารเกือบทั้งหมด
  • 257 BCE

    เซียว เหอ

    เซียว เหอ (จีน: 蕭何, 257 - 193 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นขุนนางจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกตอนต้น เขารับใช้ หลิว ปัง (จักรพรรดิฮั่นเกาจู่) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น ในระหว่างการจลาจลต่อต้าน ราชวงศ์ฉิน และต่อสู้เคียงข้างหลิวใน สงครามฉู่-ฮั่น กับคู่แข่งของหลิว เซี่ยง อวี่ ภายหลังการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น เซียว เหอ กลายเป็น อัครมหาเสนาบดี และดำรงตำแหน่งไปจนเขาถึงแก่กรรม สำหรับผลงานของเขา เขายังเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งใน วีรบุรุษทั้งสามแห่งราชวงศ์ฮั่นตอนต้น (漢初三傑) ร่วมกับ หาน ซิ่น และ เตียวเหลียง
  • 256 BCE

    ฮั่นเกาจู่

    ฮั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ: 汉高祖; จีนตัวเต็ม: 漢高祖; พินอิน: Hàn Gāozǔ; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง (จีนตัวย่อ: 刘邦; จีนตัวเต็ม: 劉邦; พินอิน: Liú Bāng) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า
  • 230 BCE

    ฉินเอ้อร์ชื่อ

    ฉินเอ้อร์ชื่อ (จีน: 秦二世; 230–207 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน โดยเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่สองของราชวงศ์ฉิน เสวยราชย์ช่วง 210–207 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระโอรสของฉินฉื่อหฺวังตี้ จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ฉิน พระองค์มีพระนามเดิมว่า หูไห่ (胡亥) ทรงขึ้นครองราชย์จากการสนับสนุนของเสนาบดีหลี่ ซือ
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD
  • 221 BCE

    ราชวงศ์ฉิน

    ราชวงศ์ฉิน (จีน: 秦朝; พินอิน: Qíncháo; เวด-ไจลส์: Chʻin²-chʻao²) เป็นราชวงศ์แรกของจักรวรรดิจีน[2] ปกครองแผ่นดินในช่วง 221 – 206 ก่อน ค.ศ. ชื่อมาจากรัฐฉิน (ปัจจุบันคือมณฑลกานซู่และมณฑลฉ่านซีของจีน) ราชวงศ์ฉินก่อตั้งโดยจักรพรรดิฉินฉื่อ จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์
  • 5 BCE

    จักรพรรดิฮั่นกวังอู่

    จักรพรรดิฮั่นกวังอู่ ตามสำเนียงกลาง หรือ ฮั่นกองบู๊ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 汉光武帝; พินอิน: Hàn Guāngwǔ Dì; 15 มกราคม ปีที่ 5 ก่อนคริสตกาล – 29 มีนาคม 57) พระนามเดิมว่า หลิว ซิ่ว (劉秀) ปฐมจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
  • 6

    หรูจึอิง

    หรูจึอิง (จีน: 孺子嬰; พินอิน: Rúzi Yīng; ค.ศ. 5 – ค.ศ. 25) แปลว่า ราชกุมารอิง (Infant Ying) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนองค์สุดท้ายในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก อยู่ในสมบัติตั้งแต่ ค.ศ. 6 ถึง ค.ศ. 9
  • 9

    ราชวงศ์ฮั่น

    ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 (202 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 9, ค.ศ. 25–220)) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน
  • 155

    โจโฉ

    โจโฉ ในภาษาฮกเกี้ยน หรือ เฉา เชา ในภาษาจีนกลาง (จีน: 曹操, ป. ค.ศ. 155 – – 15 มีนาคม ค.ศ. 220)[1] ชื่อรอง เมิ่งเต๋อ (จีน: 孟德; พินอิน: Mèng dé) เป็นรัฐบุรุษ ขุนศึก และกวีชาวจีน เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งได้เถลิงอำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในยุคสามก๊ก โจโฉได้วางรากฐานซึ่งได้ทำให้เกิดรัฐวุยก๊กขึ้นในเวลาต่อมา และได้รับการยกย่องภายหลังมรณกรรมในฐานะเป็น "จักรพรรดิอู่แห่งวุยก๊ก" แม้ว่าเขาจะไม่เคยประกาศตนเองอย่างเป็นทางการว่าเป็นจักรพรรดิจีน
  • 181

    พระเจ้าเหี้ยนเต้

    พระเจ้าเหี้ยนเต้ (2 เมษายน ค.ศ. 181 - 21 เมษายน ค.ศ. 234) หรือ จักรพรรดิฮั่นเซี่ยนตี้ (จีน: 漢獻帝; พินอิน: Hàn Xiàn Dì) พระนามส่วนพระองค์ เล่าเหียบ[a] หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า หลิว เสีย (จีน: 劉協; พินอิน: Liú Xié) พระนามรอง ปั๋วเหอ (จีน: 伯和; พินอิน: Bóhé) เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 14 และลำดับสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในประวัติศาสตร์จีน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 189 จนถึง 11 ธันวาคม ค.ศ. 220
  • 189

    ตั๋งโต๊ะ

    ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192)[1] มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว (จีน: 董卓; พินอิน: Dǒng Zhuó) ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน ค.ศ. 189 ขณะที่เกิดจลาจลหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเลนเต้ (漢靈帝 ฮั่นหลิงตี้) และการปะทะกันระหว่างกลุ่มขันทีที่นำโดยเตียวเหยียง (張讓 จาง ร่าง) กับกลุ่มข้าราชการที่นำโดยขุนพลโฮจิ๋น (何進 เหอ จิ้น) ภายหลังได้อำนาจแล้ว ตั๋งโต๊ะถอดหองจูเปียน (劉辯 หลิว เปี้ยน)
  • 220

    พระเจ้าโจผี

    พระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี (จีน: 曹丕; พินอิน: Cáo Pi) พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (จีน: 曹魏文帝; พินอิน: Cáo Wèi Wéndì - จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปีค.ศ. 220
  • 280

    ฉินสื่อหฺวังตี้

    ฉินสื่อหฺวังตี้
    ฉินสื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (จีน: 秦始皇帝; พินอิน: Qín Shǐ Huángdì; 280–210 ปีก่อนคริสตกาล)[4] เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีน[5][5] ทรงก่อตั้งราชวงศ์ฉิน และไม่ทรงใช้ตำแหน่ง หวัง (王) เหมือนพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ชางและราชวงศ์โจวก่อนหน้านี้ แต่ทรงใช้ตำแหน่ง หฺวังตี้ (皇帝) อันเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์จีนทรงใช้สืบ ๆ กันมาอีกสองพันปี