อารยธรรมอียิปต์โบราณ

  • 3500 BCE

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization)

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization)
    ซึ่งเป็นอารยธรรมแรกของโลก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรติส เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า “บาบิโลเนีย” (Babylonia) ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่า “อัสซีเรีย” (Assyria)
  • 3500 BCE

    สุเมเรียน

    สุเมเรียน
    เมโสโปเตเมียปัจจุบันเป็นที่ตั้งบางส่วนของประเทศอิรัก ซีเรีย และคูเวต โดยมีชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าแรกที่ครอบครอง ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรลิ่ม หรือที่เรียกว่า “Cuneiform” (เชื่อว่าเป็นการประดิษฐ์อักษรครั้งแรกของโลก)ดินแดนนี้ก็ถูกชนเผ่าอื่นๆยึดครอบครองตามลำดับดังต่อไปนี้ ชนเผ่าอามอไรต์ ชนเผ่าฮิตไทต์ ชนเผ่าอัสซีเรียน และสุดท้าย ชนเผ่าคาลเดียน นอกจากมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียนแล้ว ยังมีกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดของโลกเกิดขึ้นอีกด้วย
  • Period: 3500 BCE to 539 BCE

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization)

    ซึ่งเป็นอารยธรรมแรกของโลก เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า “บาบิโลเนีย” (Babylonia) ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่า “อัสซีเรีย” (Assyria)
  • Period: 3500 BCE to 419 BCE

    สุเมเรียน

    เมโสโปเตเมียปัจจุบันเป็นที่ตั้งบางส่วนของประเทศอิรัก ซีเรีย และคูเวต โดยมีชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าแรกที่ครอบครอง ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรลิ่ม หรือที่เรียกว่า “Cuneiform” (เชื่อว่าเป็นการประดิษฐ์อักษรครั้งแรกของโลก)
  • 3300 BCE

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรือ อารยธรรมอินเดีย (Indus Valley Civilization)

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรือ อารยธรรมอินเดีย (Indus Valley Civilization)
    อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุนั้นดำรงอยู่ในช่วง 3300 – 1,300 B.C. และยิ่งใหญ่ที่สุดช่วง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศอัฟกานิสถาน ส่วนใหญ่ของประเทศปากีสถาน และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย โดยมีแม่น้ำสินธุไหลผ่านตลอดประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีน้ำตลอดทั้งปี อารยธรรมนี้เป็นที่รู้จักในฐานะการวางผังเมือง บ้านที่สร้างจากอิฐอบ
  • Period: 3300 BCE to 1300 BCE

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรือ อารยธรรมอินเดีย (Indus Valley Civilization)

    พื้นที่ของประเทศอัฟกานิสถาน ส่วนใหญ่ของประเทศปากีสถาน และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย โดยมีแม่น้ำสินธุไหลผ่านตลอดประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีน้ำตลอดทั้งปี อารยธรรมนี้เป็นที่รู้จักในฐานะการวางผังเมือง บ้านที่สร้างจากอิฐอบ
  • 3180 BCE

    ยุคต้นราชวงศ์ (The Early Dynastic Period

    เริ่มจากฟาโรห์เมเนส (Menes) (หรืออาจมีอีกชื่อว่า “นาเมอร์” หรือ Narmer) รวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3100 B.C. และสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1 โดยตั้งเมืองหลวงที่ นครเมมฟิส ซึ่งนครแห่งนี้จะเจริญรุ่งเรืองอีกยาวนับพันปีเมื่อขึ้นครองราชย์ฟาโรห์เมเนสได้ตั้งชื่อตำแหน่งผู้ปกครองใหม่ว่า “ฟาโรห์” และได้ถูกเรียกแบบนี้จวบจนสิ้นสุดของยุคราชวงศ์อียิปต์
  • 3100 BCE

    การรวมตัวของอียิปต์ล่างและอียิปต์บน

    การรวมตัวของอียิปต์ล่างและอียิปต์บน
    สมัยอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง (หรือที่เรียกว่า สองดินแดน) เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของสมัยอียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเกิดขึ้นก่อนการรวมอาณาจักร แนวความคิดของอียิปต์ในฐานะดินแดนทั้งสองเป็นตัวอย่างของความเป็นสองขั้วทางวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ และมักจะปรากฏในข้อความและภาพสลัก รวมทั้งในพระนามของฟาโรห์แห่งอียิปต์
  • Period: 3100 BCE to 2686 BCE

    ยุคต้นราชวงศ์ (The Early Dynastic Period

    เริ่มจากฟาโรห์เมเนส (Menes) (หรืออาจมีอีกชื่อว่า “นาเมอร์” หรือ Narmer) รวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกันสำเร็จและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1 โดยตั้งเมืองหลวงที่ นครเมมฟิส ซึ่งนครแห่งนี้จะเจริญรุ่งเรืองอีกยาวนับพันปี
    เมื่อขึ้นครองราชย์ฟาโรห์เมเนสได้ตั้งชื่อตำแหน่งผู้ปกครองใหม่ว่า “ฟาโรห์” และได้ถูกเรียกแบบนี้จวบจนสิ้นสุดของยุคราชวงศ์อียิปต์
  • 2686 BCE

    อาณาจักรเก่า พีระมิดกีซา

    อาณาจักรเก่า พีระมิดกีซา
    กลุ่มพีระมิดแห่งกีซา หรือ มหาสุสานกีซา เป็นสถานที่บนที่ราบสูงกีซาอันเป็นที่ตั้งของมหาพีระมิดแห่งกิซาทั้งสาม ได้แก่ พีระมิดคูฟู พีระมิดคาเฟร และพีระมิดเมนคูเร พร้อมกับสิ่งก่อสร้างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาสฟิงซ์ พีระมิดขนาดเล็กและสุสานหลายแห่ง รวมทั้งซากหมู่บ้านคนงาน ทั้งหมดสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สี่ของราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์โบราณ
  • 2686 BCE

    ยุคอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom Period

    ยุคอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom Period
    ยุคอาณาจักรเก่านี้บางครั้งถูกเรียกว่า "สมัยพีระมิด" เพราะมีการสร้างพีระมิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีพีระมิดถูกสร้างขึ้นมากกว่า 20 แห่งนอกเหนือจากความเชื่อในเทพเจ้าต่างๆแล้ว ชาวอียิปต์นั้นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย พวกเขาเชื่อว่า เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ลงแล้วจะไปประทับอยู่ในโลกแห่งความตาย และจะกลับมาจุติใหม่ในร่างเดิมที่จัดเตรียมไว้อย่างดี ซึ่งก็คือ “มัมมี่” นั่นเองส่วนอวัยวะภายในต่างๆที่ถูกเอาออกมาจากร่าง ก็จะถูกเก็บรักษาแยกไว้ในภาชนะ 4 ชิ้น เรียกว่า“คาโนปิค”และฝังไว้ในที่เดียวกันกับมัมมี่
  • Period: 2686 BCE to 2181 BCE

    ยุคอาณาจักรเก่า

    นอกเหนือจากความเชื่อในเทพเจ้าต่างๆแล้ว ชาวอียิปต์นั้นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย พวกเขาเชื่อว่า เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ลงแล้วจะไปประทับอยู่ในโลกแห่งความตาย และจะกลับมาจุติใหม่ในร่างเดิมที่จัดเตรียมไว้อย่างดี ซึ่งก็คือ “มัมมี่” นั่นเอง
  • 2678 BCE

    “พีระมิดโจเซอร์” (Pyramid of Djoser)

    “พีระมิดโจเซอร์” (Pyramid of Djoser)
    ถูกสร้างในสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 3 ซึ่งในสมัยนี้ ฟาโรห์โจเซอร์มีที่ปรึกษาประจำองค์นามว่า
    “อิมโฮเทป” (Imhotep) ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักบวชและสถาปนิก รวมถึงนักดาราศาสตร์ แพทย์ และด้านอื่นๆอีกหลายแขนง เรียกได้ว่าอิมโฮเทปเป็นยอดนักปราชญ์แห่งยุคเลยก็ว่าได้อิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบในการสร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ซัคคาราซึ่งนับเป็นพีระมิดแห่งแรกของ อียิปต์ ลักษณะที่สำคัญคือเป็น พีระมิดขั้นบันได (Step Pyramid) ซ้อนกันรวม 6 ชั้น เปรียบเสมือนบันไดไปสู่สวรรค์
  • Period: 2678 BCE to 2650 BCE

    “พีระมิดโจเซอร์” (Pyramid of Djoser)

    ถูกสร้างในสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 3 ซึ่งในสมัยนี้ ฟาโรห์โจเซอร์มีที่ปรึกษาประจำองค์นามว่า
    “อิมโฮเทป” (Imhotep) ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักบวชและสถาปนิก รวมถึงนักดาราศาสตร์ แพทย์ และด้านอื่นๆอีกหลายแขนง เรียกได้ว่าอิมโฮเทปเป็นยอดนักปราชญ์แห่งยุคเลยก็ว่าได้
  • 2558 BCE

    มหาพีระมิดแห่งกีซา” (The Great Pyramid at Giza)

    มหาพีระมิดแห่งกีซา” (The Great Pyramid at Giza)
    มหาพีระมิดแห่งกีซาประกอบไปด้วย พีระมิดของฟาโรห์คูฟู ฟาโรห์เครเฟ และฟาโรห์เมนคูเรโดยพิระมิดของฟาโรห์คูฟูจะมีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด (ตั้งอยู่ทางขวาสุด อาจจะดูเล็กกว่าพีระมิดอันกลางซึ่งเป็นพีระมิดของฟาโรห์เครเฟ แต่เนื่องจากพีระมิดฟาโรห์คูฟูสร้างอยู่บนพื้นที่ต่ำกว่า จึงทำให้ดูเล็กกว่านั่นเอง) พีระมิดของฟาโรห์คูฟูนั้นใช้หินก้อนมหึมาที่ก่อสร้างทั้งหมดถึง 2,300,000 ก้อน เฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ตั้งขอสันนิษฐานว่า พีระมิดของฟาโรห์คูฟูนี้ น่าจะใช้แรงงานประมาณ 10,000 คน
  • 2558 BCE

    ฟาโรห์เครฟขึ้นครองราชย์

    ฟาโรห์เครฟขึ้นครองราชย์
    พระโอรสของฟาโรห์คูฟูนามว่า “ฟาโรห์เครเฟ” (Khafre) ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์องค์ใหม่ ฟาโรห์เครเฟทรงปรารถนาที่จะสร้างพีระมิดใกล้ๆกับของพระบิดา และนั่นได้นำไปสู่การสร้าง “พีระมิดเครเฟ” ซึ่งเป็นพีระมิดที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลุ่มมหาพีระมิดแห่งกิซา นอกจากพีระมิดเครเฟแล้ว พระองค์ยังให้มีการสร้าง “มหาสฟิงซ์”
  • Period: 2558 BCE to 2532 BCE

    มหาพีระมิดแห่งกีซา” (The Great Pyramid at Giza)

    มหาพีระมิดแห่งกีซาประกอบไปด้วย พีระมิดของฟาโรห์คูฟู (Khufu) ฟาโรห์เครเฟ (Khafre) และฟาโรห์เมนคูเร (Menkaure) โดยพิระมิดของฟาโรห์คูฟูจะมีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด (ตั้งอยู่ทางขวาสุด อาจจะดูเล็กกว่าพีระมิดอันกลางซึ่งเป็นพีระมิดของฟาโรห์เครเฟ แต่เนื่องจากพีระมิดฟาโรห์คูฟูสร้างอยู่บนพื้นที่ต่ำกว่า จึงทำให้ดูเล็กกว่านั่นเอง)
  • 2500 BCE

    ยุคก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)

    ยุคก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
    ในยุคนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์แล้ว พวกเขาทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ โดยมีดินเหนียวบริเวณริมแม่น้ำไนล์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวอียิปต์สามารถปลูกพืชต่างๆได้เมื่อความเจริญเกิดขึ้น พวกเขาก็ได้พัฒนาจนกลายเป็นสังคมเมืองในท้ายที่สุด โดยมีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม ขณะเดียวกันก็มักเกิดการแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน จนในที่สุดราวๆ 3400 B.C. ดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน:
  • Period: 2500 BCE to 1584 BCE

    ยุคก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)

    ในยุคนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์แล้ว พวกเขาทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ โดยมีดินเหนียวบริเวณริมแม่น้ำไนล์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวอียิปต์สามารถปลูกพืชต่างๆได้
  • 2055 BCE

    อาณาจักรกลาง (Middle Kingdom)

    อาณาจักรกลาง (Middle Kingdom)
    ตำแหน่ง "ฟาโรห์" ได้ถูกใช้สำหรับผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่ทรงปกครองหลังจากการรวมดินแดนอียิปต์บนและอียิปต์ล่างโดยฟาโรห์นาร์เมอร์ในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์เมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อกล่าวถึงผู้ปกครองแห่งอียิปต์ในในช่วงเวลาดังกล่าวจนกระทั่งถึงสมัยของราชวงศ์ที่สิบแปดของสมัยราชอาณาจักรใหม่
  • 1792 BCE

    ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี

    ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี
    โดยในช่วงที่ชนเผ่าอามอไรต์ปกครองนั้น ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี” จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรบนแผ่นศิลา ในสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบี (1792 – 1745 B.C.) ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ
  • Period: 1792 BCE to 1745 BCE

    ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี

    โดยในช่วงที่ชนเผ่าอามอไรต์ปกครองนั้น ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี” จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรบนแผ่นศิลา ในสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ
  • 1650 BCE

    ยุคตกต่ำระหว่าง (Second Intermediate Period):

    ยุคตกต่ำระหว่าง (Second Intermediate Period):
    ในช่วงราชวงศ์ที่ 13 และ 14 เกิดความแตกแยกภายใน แผ่นดินแตกออกเป็นเสี่ยงๆอีกครั้ง ก่อนที่ในเวลาต่อมาพวก “ฮิกโซส” (Hyksos) เข้ารุกรานอียิปต์และสามารถยึดครองอียิปต์ความรุ่งเรืองของอียิปต์จึงต้องมาหยุดชะงักลงอีกครั้ง คำว่า “ฮิกโซส” ในภาษาอียิปต์แปลว่า “กษัตริย์ต่างชาติ” ซึ่งพวกฮิกโซสคือกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ร่อนที่อพยพมาจากเอเชียตะวันตก
  • 1546 BCE

    ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Thutmose I)

    ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Thutmose I)
    ในยุคอาณาจักรใหม่นี้ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 ได้เริ่มเปลี่ยนจากการฝังพระศพในพีระมิดมาฝังในสถานที่ลับ ที่คิดว่าปลอดภัยมากขึ้นจากโจรขโมย ซึ่งทรงเห็นจากการโจรกรรมของมีค่าในพีระมิดต่างๆในช่วงยุครอยต่อครั้งที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง “หุบเขาแห่งกษัตริย์” อันเป็นสถานที่ฝังพระศพของเหล่าฟาโรห์
  • Period: 1546 BCE to 1526 BCE

    ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Thutmose I)

    ในยุคอาณาจักรใหม่นี้ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 ได้เริ่มเปลี่ยนจากการฝังพระศพในพีระมิดมาฝังในสถานที่ลับ ที่คิดว่าปลอดภัยมากขึ้นจากโจรขโมย ซึ่งทรงเห็นจากการโจรกรรมของมีค่าในพีระมิดต่างๆในช่วงยุครอยต่อครั้งที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง “หุบเขาแห่งกษัตริย์” อันเป็นสถานที่ฝังพระศพของเหล่าฟาโรห์
  • Period: 1525 BCE to 1504 BCE

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 (Amenhotep I)

    ที่มีความสำคัญในด้านการทหารและการขยายอาณาเขตของอียิปต์ ด้านการรบ พระองค์มีการปราบปรามศัตรูจากทางเหนือและทางใต้ รวมถึงการสู้รบกับชาวนูเบียในทางใต้ และการต้านทานการรุกรานจากชาวฮิกซอซในทางเหนือ การรบเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและอำนาจให้แก่ราชอาณาจักรอียิปต์
  • 1481 BCE

    ฟาโรห์แฮตเชปซุต (Hatshepsut)

    ฟาโรห์แฮตเชปซุต (Hatshepsut)
    ฟาโรห์หญิงผู้มีชื่อเสียง เป็นฟาโรห์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์ที่ 18 ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 และต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 ผู้ซึ่งเยาว์วัยเกินกว่าจะทำการปกครองได้จนกระทั่งพระนางได้สถาปนาตนขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์โดยสมบูรณ์ เป็นสตรีผู้ยิ่งใหญ่พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์มีข้อมูล
  • Period: 1481 BCE to 1469 BCE

    ฟาโรห์แฮตเชปซุต (Hatshepsut)

    ฟาโรห์หญิงผู้มีชื่อเสียง เป็นฟาโรห์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์ที่ 18 ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 และต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 ผู้ซึ่งเยาว์วัยเกินกว่าจะทำการปกครองได้จนกระทั่งพระนางได้สถาปนาตนขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์โดยสมบูรณ์ เป็นสตรีผู้ยิ่งใหญ่พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์มีข้อมูล
  • 1469 BCE

    ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 (Thutmose III) :

    ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 (Thutmose III) :
    เมื่อฟาโรห์แฮตเชปซุตสิ้นพระชนม์ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 ก็ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นฟาโรห์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์ที่ 18 พระองค์ได้สร้างอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์ที่เคยเห็นมา จนได้ฉายาว่า “นโปเลียนแห่งอียิปต์” นอกจากนี้ทรงสั่งให้ลบชื่อของฟาโรห์แฮทเชปซุตออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอพระทัยที่ พระนางขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์ บางสันนิษฐานกล่าวว่าฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 อาจจะเป็นคนปลงพระชนม์ฟาโรห์แฮตเชปซุต
  • Period: 1469 BCE to 1425 BCE

    ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 (Thutmose III) :

    เมื่อฟาโรห์แฮตเชปซุตสิ้นพระชนม์ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 ก็ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นฟาโรห์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์ที่ 18 พระองค์ได้สร้างอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์ที่เคยเห็นมา จนได้ฉายาว่า “นโปเลียนแห่งอียิปต์” นอกจากนี้ทรงสั่งให้ลบชื่อของฟาโรห์แฮทเชปซุตออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอพระทัยที่ พระนางขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์ บางสันนิษฐานกล่าวว่าฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 อาจจะเป็นคนปลงพระชนม์ฟาโรห์แฮตเชปซุต
  • 1417 BCE

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III
    ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 เป็นยุคที่ศิลปะและการต่างประเทศของอียิปต์รุ่งเรืองมาก เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อ ทรงพระนามว่า ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น ฟาโรห์อาเคนาเตน
    เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมในยุคสมัยของพระองค์เหลืออยู่เพียง “Collossi of Memnon” เท่านั้น
  • Period: 1417 BCE to 1379 BCE

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III

    ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 เป็นยุคที่ศิลปะและการต่างประเทศของอียิปต์รุ่งเรืองมาก เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อ ทรงพระนามว่า ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น ฟาโรห์อาเคนาเตน
    เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมในยุคสมัยของพระองค์เหลืออยู่เพียง “Collossi of Memnon” เท่านั้น
  • 1386 BCE

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 (Amenhotep I)

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 (Amenhotep I)
    พระองค์เป็นที่รู้จักในด้านการสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่โต เช่น วัดลักซอร์ และเป็นผู้สนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมาก อเมนโฮเทปที่ 4 (หรือที่รู้จักในชื่อ อคเนตัน) เป็นพระโอรสของพระองค์ที่เปลี่ยนศาสนาไปนับถือเทพดิสเดียว (อาเธน) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอียิปต์โบราณในด้านศาสนาและวัฒนธรรม ฟาโรห์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ 18 และ 19 โดยเฉพาะในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม.
  • 1379 BCE

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ ฟาโรห์อาเคนาเตน (Akhetaton)

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ ฟาโรห์อาเคนาเตน (Akhetaton)
    เมื่อมาถึงช่วงท้ายๆของราชวงศ์ที่ 18 ในสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ฟาโรห์ลำดับที่ 10 ในราชวงศ์ที่ 18 อียิปต์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางศาสนา ถือว่าเป็นการปฏิวัติทางศาสนาเลยทีเดียว โดยฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ได้นำความเชื่อในเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism) มาบังคับใช้โดยทั่วกัน คือการบูชาเทพ “อาเตน” (Aton) เพียงองค์เดียว แทนเทพสูงสุด “อามุน-รา” (Amun-Ra) และเทพองค์อื่นๆในอดีต พระองค์ยังได้เปลี่ยนชื่อพระองค์เองเป็น “อาเคนาเตน” เพื่อให้เชื่อมโยงกับเทพอาเตนอีกด้วย “อาเคนาเตน” แปลว่าผู้รับใช้ขององค์อาเตน
  • Period: 1379 BCE to 1362 BCE

    ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ ฟาโรห์อาเคนาเตน (Akhetaton)

  • 1361 BCE

    ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen)

    ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen)
    ฟาโรห์ตุตันคาเมนเป็นโอรสของฟาโรห์อาเคนาเตน เป็นฟาโรห์ผู้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่มีพระชนม์มายุ 9 พรรษา และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์มายุได้เพียง 19 พรรษา ส่วนสาเหตุการสิ้นพระชนม์นั้นยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ 3 ปี ก็ได้ล้มเลิกการนับถือเทพองค์เดียวที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบิดาทรงกลับไปนับถือเทพอามุน-ราเป็นเทพสูงสุด รวมถึงเทพองค์อื่นๆตามเดิม อีกทั้งยังย้ายเมืองหลวงกลับไปที่เมืองธีปส์ในยุคอียิปต์โบราณฟาโรห์ตุตันคาเมนก็เป็นหนึ่งในชื่อที่ผู้คนนึกถึงความโด่งดังจากสุสานของพระองค์
  • Period: 1361 BCE to 1352 BCE

    ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen)

    ฟาโรห์ตุตันคาเมนเป็นโอรสของฟาโรห์อาเคนาเตน เป็นฟาโรห์ผู้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่มีพระชนม์มายุ 9 พรรษา และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์มายุได้เพียง 19 พรรษา ส่วนสาเหตุการสิ้นพระชนม์นั้นยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ 3 ปี ก็ได้ล้มเลิกการนับถือเทพองค์เดียวที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบิดาทรงกลับไปนับถือเทพอามุน-ราเป็นเทพสูงสุด รวมถึงเทพองค์อื่นๆตามเดิม อีกทั้งยังย้ายเมืองหลวงกลับไปที่เมืองธีปส์ในยุคอียิปต์โบราณฟาโรห์ตุตันคาเมนก็เป็นหนึ่งในชื่อที่ผู้คนนึกถึงความโด่งดังจากสุสานของพระองค์
  • 1100 BCE

    อารยธรรมก่อนอารยธรรมอียิปต์

    อารยธรรมก่อนอารยธรรมอียิปต์
    อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมเก่าแก่เป็นที่สามของโลก อารยธรรมอียิปต์ได้ถือกำเนิดขึ้นก่อนที่จะมีอารยธรรมกรีกและอารยธรรมโรมันด้วยซ้ำมีเพียงอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเท่านั้นที่เกิดขึ้นก่อนจากที่คำนวณดูก็ทำให้ได้ทราบว่าอารยธรรมอียิปต์นั้นมีช่วงระยะเวลาที่นานที่สุด นั่นคือประมาณ 3,070 ปีอารยธรรมอียิปต์มีช่วงเวลาที่หล่อหลอมความเจริญได้ถึงขีดสุดในหลายๆด้าน จึงส่งผลให้ทั้ง สถาปัตยกรรม ประติมากรรม ความเชื่อ และศาสตร์หลายแขนงของอียิปต์โบราณได้ถูกส่งต่อไปยังอารยธรรมกรีก และ โรมัน อีกด้วย
  • 1085 BCE

    ยุคภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The period of Invasion)

    ยุคภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The period of Invasion)
    ยุคนี้เป็นยุคที่อียิปต์ปกครองโดยชาวต่างชาติ ตั้งแต่พวกลิเบีย นูเบีย และถูกยึดครองโดยอัสซีเรียในปี 663 B.C. ต่อมาก็ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียในปี 525 B.C.
    จนกระทั่งเมื่อปี 332 B.C. “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช” (Alexander the Great) แห่งมาซิโดเนีย หรือ กรีก ได้พิชิตอาณาจักรเปอร์เซียลง อียิปต์จึงตกเป็นของกรีก โดยมีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ และได้สร้างเมือง “อเล็กซานเดรีย” (Alexandria) ขึ้น
  • Period: 1085 BCE to 30 BCE

    ยุคภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The period of Invasion)

    ยุคนี้เป็นยุคที่อียิปต์ปกครองโดยชาวต่างชาติ ตั้งแต่พวกลิเบีย นูเบีย และถูกยึดครองโดยอัสซีเรียในปี 663 B.C. ต่อมาก็ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียในปี 525 B.C. จนกระทั่งเมื่อปี 332 B.C. “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช” (Alexander the Great) แห่งมาซิโดเนีย หรือ กรีก ได้พิชิตอาณาจักรเปอร์เซียลง อียิปต์จึงตกเป็นของกรีก โดยมีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ และได้สร้างเมือง “อเล็กซานเดรีย” (Alexandria) ขึ้น
  • 605 BCE

    สวนลอยแห่งบาบิโลน

    สวนลอยแห่งบาบิโลน
    ในช่วงที่ชนเผ่าคาลเดียนเข้าปกครอง ได้มีการสร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” ขึ้นในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ (605 – 562 B.C.) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า แต่ปัจจุบันหลงเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพังเท่านั้น อารยธรรมเมโสโปเตเมียได้สิ้นสุดลง เมื่อพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียได้เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิเปอร์เซีย แต่อย่างไรก็ตามอารยธรรมเมโสโปเตเมียได้ส่งผ่านความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด ไปยังอารยธรรมต่อๆมา
  • Period: 605 BCE to 562 BCE

    สวนลอยแห่งบาบิโลน

    ในช่วงที่ชนเผ่าคาลเดียนเข้าปกครอง ได้มีการสร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” ขึ้นในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า แต่ปัจจุบันหลงเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพังเท่านั้น
  • 27 BCE

    อิมโฮเทปผู้สร้างพีระมิดชั้นบันได

    อิมโฮเทปผู้สร้างพีระมิดชั้นบันได
    อิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบในการสร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ซัคคาราซึ่งนับเป็นพีระมิดแห่งแรกของ อียิปต์ ลักษณะที่สำคัญคือเป็น พีระมิดขั้นบันได (Step Pyramid) ซ้อนกันรวม 6 ชั้น เปรียบเสมือนบันไดไปสู่สวรรค์ ด้วยความฉลาดปราดเปรื่องของอิมโฮเทป ทำให้ชาวอียิปต์เชื่อว่าเขาเกี่ยวข้องกับเทพเจ้า เหตุนี้จึงทำให้อิมโฮเทปถูกยกย่องจากชาวอียิปต์ให้เป็น มนุษย์เทพ ซึ่งจะเห็นได้จากรูปปั้นต่างๆของอิมโฮเทปในช่วงสมัยอียิปต์โบราณ
  • Period: 27 BCE to 27 BCE

    อิมโฮเทปผู้สร้างพีระมิดชั้นบันได

    อิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบในการสร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ซัคคาราซึ่งนับเป็นพีระมิดแห่งแรกของ อียิปต์ ลักษณะที่สำคัญคือเป็น พีระมิดขั้นบันได ซ้อนกันรวม 6 ชั้น เปรียบเสมือนบันไดไปสู่สวรรค์ ด้วยความฉลาดปราดเปรื่องของอิมโฮเทป ทำให้ชาวอียิปต์เชื่อว่าเขาเกี่ยวข้องกับเทพเจ้า เหตุนี้จึงทำให้อิมโฮเทปถูกยกย่องจากชาวอียิปต์ให้เป็น มนุษย์เทพ ซึ่งจะเห็นได้จากรูปปั้นต่างๆของอิมโฮเทปในช่วงสมัยอียิปต์โบราณ รูปปั้นของอิมโฮเทปที่เราคุ้นเคยก็คือรูปปั้นของชายที่นั่งบนเก้าอี้ ศรีษะโล้น และถือม้วนกระดาษปาปิรุสอยู่บนตัก
  • Period: 1100 to 146 BCE

    อารยธรรมก่อนอารยธรรมอียิปต์

    อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมเก่าแก่เป็นที่สามของโลก อารยธรรมอียิปต์ได้ถือกำเนิดขึ้นก่อนที่จะมีอารยธรรมกรีกและอารยธรรมโรมันด้วยซ้ำมีเพียงอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเท่านั้นที่เกิดขึ้นก่อน
  • Period: to 1550 BCE

    ยุคตกต่ำระหว่าง (Second Intermediate Period):

    ความรุ่งเรืองของอียิปต์จึงต้องมาหยุดชะงักลงอีกครั้ง คำว่า “ฮิกโซส” ในภาษาอียิปต์แปลว่า “กษัตริย์ต่างชาติ” ซึ่งพวกฮิกโซสคือกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ร่อนที่อพยพมาจากเอเชียตะวันตก
  • Period: to 1650 BCE

    อาณาจักรกลาง (Middle Kingdom):

    ฟาโรห์ที่ ปกครองในช่วงนี้ได้รวมอำนาจและฟื้นฟู เศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อย
  • Period: to 2055 BCE

    ยุคตกต่ำระหว่าง (First Intermediate Period)

    ราชอาณาจักร" (Kingdoms) โดยมักแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง และยุคที่ไม่มีความแน่นอนที่เรียกว่า "ช่วงต่อ" (Intermediate Periods) ยุคที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ราชอาณาจักรเก่า ในช่วงต้นยุคสัมฤทธิ์, ราชอาณาจักรกลาง ในช่วงกลางยุคสัมฤทธิ์ และ ราชอาณาจักรใหม่
  • Period: to 2681 BCE

    อาณาจักรเก่า พีระมิดกีซา

    เป็นช่วงที่ พีระมิดแห่งกิซ่าถูกสร้างขึ้น และมีการ ปกครองโดยฟาโรห์ที่มีอำนาจสูงสุด เช่น ฟาโรห์ดูโจเซอร์และคูฟู
  • Period: to 2686 BCE

    การรวมตัวของอียิปต์ล่างและอียิปต์บน

    ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเกิดขึ้นก่อนการรวมอาณาจักร แนวความคิดของอียิปต์และมักจะปรากฏในข้อความและภาพสลัก รวมทั้งในพระนามของฟาโรห์แห่งอียิปต์