อารายธรรมโบราณ (รวม)

  • 3500 BCE

    อารายธรรมเมโสโปเตเมีย

    อารายธรรมเมโสโปเตเมีย
    “เมโสโปเตเมีย” เป็นคำในภาษากรีก แปลว่า “ระหว่างแม่น้ำ” หมายถึงดินแดนที่ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำ “ไทกริส” และ “ยูเฟรตีส” ปัจจุบันคือดินแดนของประเทศอิรัก อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นหลายด้าน ทั้งเป็นกลุ่มอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เท่าที่มีบันทึกหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และเป็นอารยธรรมที่เกิดจากการผสมผสานความรู้ และวิทยาการจากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน โดยเป็นการรับมา และต่อยอดความคิดตลอดระยะเวลานับพันปี
  • 3500 BCE

    ชาวสุเมเรียน (เมโสโปเตเมีย)

    ชาวสุเมเรียน (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นชนเผ่าที่ยึดครองดินแดนแถบนี้เป็นพวกแรกในหน้าประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะถูก ชาวอัคคาเดียน เข้ามายึดครอง อารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นจากชาวสุเมเรียน
  • Period: 3500 BCE to 538 BCE

    อารายธรรมเมโสโปเตเมีย

  • 3150 BCE

    อารายธรรมอียิปต์

    อารายธรรมอียิปต์
    “อียิปต์” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ไอยคุปต์” เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความเก่าแก่ไม่น้อยไปกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่อยู่ใกล้กัน ในสมัยโบราณ อียิปต์นั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ อียิปต์ตอนบน และอียิปต์ตอนล่าง โดยอียิปต์ตอนบน (พื้นที่สูงกว่า) จะอยู่ด้านทิศใต้ ส่วนอียิปต์ตอนล่าง (พื้นที่ต่ำกว่า) จะอยู่ทางด้านทิศเหนือบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ “ไนล์” ที่ไหลออกสู่ทะเล “เมดิเตอร์เรเนียน”
  • Period: 3150 BCE to 30 BCE

    อารายธรรมอียิปต์

  • 3100 BCE

    ราชวงศ์เริ่มแรก (อียิปต์)

    ราชวงศ์เริ่มแรก (อียิปต์)
    ในคริสต์ศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาล นักบวชชาวอียิปต์ "มาเนโธ" (Manetho) ได้จำแนกและจัดกลุ่มกษัตริย์ หรือ "ฟาโรห์" ตั้งแต่เมเนสจนถึงช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ออกเป็น 30 ราชวงศ์ ซึ่งวิธีการจำแนกที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเขาเริ่มต้นประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการกับกษัตริย์ชื่อ "เมนี" (หรือ เมเนส/Menes ในภาษากรีก) ซึ่งเชื่อกันว่าได้รวมสองอาณาจักรแห่งอียิปต์ตอนบนและตอนล่างเข้าด้วยกัน
  • Period: 3100 BCE to 2686 BCE

    ราชวงศ์เริ่มแรก (อียิปต์)

  • 3000 BCE

    อารายธรรมอินเดีย

    อารายธรรมอินเดีย
    อินเดียเป็นอารยธรรมของคนในแถบเอเชียใต้และมีอิทธิพลต่ออารยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก อารยธรรมอินเดียโบราณหรืออารยธรรมลุ่มแม้น้ำสินธุ จัดเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ดินแดนบริเวณนี้ประมาณ 3,000-2,500 ปีก่อนคริสตกาล จัดเป็นแหล่งอารยธรรมเมืองแห่งหนึ่งของโลกยุคโบราณ จากการขุดค้นพบ “เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) และเมืองฮารัปปา (Harappa)
  • Period: 3000 BCE to 2500 BCE

    อารายธรรมอินเดีย

  • 2686 BCE

    ราชวงศ์เก่า (อียิปต์)

    ราชวงศ์เก่า (อียิปต์)
    โดยเริ่มจากราชวงศ์ที่ 3 อียิปต์ประสบความวุ่นวายทางการเมือง มีการย้ายเมืองหลวงไปตามเมืองต่างๆ แต่หลังจากนั้นก็มีราชวงศ์อียิปต์ปกครองต่อมาอีก 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงษ์ที่ 9 และ 10 ในยุคนี้อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 3 ถึงราชวงศ์ที่ 6 ราชวงศ์ที่โดดเด่นในสมัยนี้คือ ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีการสร้างปิรามิดที่ยิ่งใหญ่มากมายโดยเฉพาะมหาปิรามิดของฟาโรห์คูฟูที่เมืองเซห์ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง
  • Period: 2686 BCE to 2181 BCE

    ราชวงศ์เก่า (อียิปต์)

  • 2500 BCE

    ฟินิเชีย (กรีก)

    ฟินิเชีย (กรีก)
    เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทร์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา
  • Period: 2500 BCE to 539 BCE

    ฟินิเชีย (กรีก)

  • 2040 BCE

    ราชวงศ์กลาง (อียิปต์)

    ราชวงศ์กลาง (อียิปต์)
    ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ อเมนเนมเฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I) จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ วรรณคดีทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง ยุคนี้เป็นช่วงเดียวกันกับอารยธรรมบาบิโลนของพระเจ้าฮัมมูราบี
  • Period: 2040 BCE to 1782 BCE

    ราชวงศ์กลาง (อียิปต์)

  • 2025 BCE

    อัสซีเรีย (เมโสโปเตเมีย)

    อัสซีเรีย (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นอารยธรรมหลักในเมโสโปเตเมียโบราณที่เริ่มต้นในฐานะนครรัฐในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช แล้วพัฒนาเป็นรัฐอาณาเขตและกลายเป็นจักรวรรดิในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช
  • Period: 2025 BCE to 609 BCE

    อัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)

  • 2000 BCE

    อารายธรรมกรีก

    อารายธรรมกรีก
    อารยธรรมกรีกที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ประกอบด้วยอารยธรรมหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อารยธรรมของชาวกรีก โบราณหรืออารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic Civilizaton, ปี 750-336 ก่อนคริสต์ศักราช) และ อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic Civilization, ปี 336-31 ก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กรีกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมาซิโดเนีย (Macedonia) และเป็นอารยธรรมที่ผสมผสานกับความเจริญที่รับจากดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริม ให้เกิดอารยธรรมกรีกโดยรวมใจ
  • 2000 BCE

    ไมนวน (กรีก)

    ไมนวน (กรีก)
    บริเวณเหล่านี้อยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรายรอบด้วยอารยธรรมสำคัญของโลก คืออารยธรรม อียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ใกล้กับเกาะครีตซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization ประมาณปี 2000-1400 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่เกิดจากการผสมผสานอารยธรรมของดินแดนในแถบรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • 2000 BCE

    หัวเสากรีก (กรีก)

    หัวเสากรีก  (กรีก)
    เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมเสาแบบคลาสสิกหนึ่งในสามแบบของกรีกโบราณ ที่มีลักษณะโคนเสาใหญ่และเรียวขึ้นไปจนถึงยอด ตามลำเสาเป็นร่องเว้าตามแนวตั้งยี่สิบร่องรอบเสา ตอนบนเป็นหัวเสาเรียบที่บานออกไปจากคอลัมน์ไปบรรจบกับแผ่นสี่เหลี่ยมที่ขวางกับคานแนวนอนที่วางเหนือเสา
  • 2000 BCE

    ชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)

    ชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนาพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่น ๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลก
  • Period: 2000 BCE to 1400 BCE

    ไมนวน (กรีก)

  • Period: 2000 BCE to 1000 BCE

    หัวเสากรีก (กรีก)

  • Period: 2000 BCE to 1600 BCE

    ชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)

  • 1900 BCE

    ชาวอมอไรต์ (เมโสโปเตเมีย)

    ชาวอมอไรต์ (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นชนเผ่าที่มีอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียต่อจากอัคคาเดียน โดยสามารถก่อตั้งจักรวรรดิ “บาบิโลเนีย” ครั้งที่หนึ่งขึ้นได้ สืบทอดอารยธรรมต่อจากสุเมเรียน และมีการต่อยอดทางอารยธรรม
  • 1600 BCE

    ไอโอเนียและไมซีเนีย(กรีก)

    ไอโอเนียและไมซีเนีย(กรีก)
    โดยทั่วไปชาวกรีก โบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐ ของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนคร รัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีต
  • 1600 BCE

    ราชวงศ์ชาง (จีน)

    ราชวงศ์ชาง (จีน)
    เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin Dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป
  • Period: 1600 BCE to 1046 BCE

    ราชวงศ์ชาง (จีน)

  • Period: 1600 BCE to 1100 BCE

    ไอโอเนียและไมซีเนีย (กรีก)

  • 1570 BCE

    ราชวงศ์ใหม่ (อียิปต์)

    ราชวงศ์ใหม่ (อียิปต์)
    และมีชัยเหนือชาวฮิกโซส จึงเริ่มราชวงศ์ที่ 18 และขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนซีเรีย ปาเลสไตน์และฟินิเซีย เพาะมีอาณาเขตกว้างมากขึ้น สมัยนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “สมัยจักรพรรดิ” (Empire) แต่ในช่วงหลังๆ อำนาจการปกครองจากส่วนกลางค่อยลดลง เหล่าขุนนางที่ปกครองเมืองที่หางไกลก็เริ่มแข็งขืนต่ออำนาจมากขึ้นจนถึงประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล
  • Period: 1570 BCE to 332 BCE

    ราชวงศ์ใหม่ (อียิปต์)

  • 1500 BCE

    สมัยพระเวท (อินเดีย)

    สมัยพระเวท (อินเดีย)
    สมัยพระเวทเป็นยุคสมัยที่ซึ่งพระเวทได้ประพันธ์ขึ้น พระเวทเป็นงานเขียนบันทึกบทขับร้องพิธีสวดของชาวอินโด-อารยัน วัฒนธรรมพระเวทนั้นแพร่หลายอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียในปัจจุบัน ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของอินเดียยังคงมีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป พระเวท ในปัจจุบันเป็นคัมภีร์ที่สักการะโดยชาวฮินดู และได้รับการถ่ายทอดแบบมุขปาถะด้วยภาษาสันสกฤตแบบพระเวท
  • Period: 1500 BCE to 600 BCE

    สมัยพระเวท (อินเดีย)

  • 1100 BCE

    ดอเรียน (กรีก)

    ดอเรียน (กรีก)
    ปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและ ขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมี ความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรู้แบบมาจาก อักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่เข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงนั้น
  • Period: 1100 BCE to 750 BCE

    ดอเรียน (กรีก)

  • 1046 BCE

    ราชวงศ์โจว (จีน)

    ราชวงศ์โจว (จีน)
    ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว
  • Period: 1046 BCE to 256 BCE

    ราชวงศ์โจว (จีน)

  • 1000 BCE

    อารายธรรมเปอร์เซีย

    อารายธรรมเปอร์เซีย
    ชนเผ่าเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาอินโด-ยุโรเปียน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณทางเหนือของทะเลดำ ได้ก่อตัวและขยายอำนาจครอบครองอารยธรรมโบราณอื่นๆ และได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองของโลกยุคโบราณ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช พระองค์ได้ดำเนินนโยบายขยายดินแดนของเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง
  • 1000 BCE

    อารายธรรมโรมัน

    อารายธรรมโรมัน
    อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทาง ตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในแหลมอิตาลีประมาณ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า "โรมัน" พวกโรมันได้ขยายอิทธพล เข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอารยธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช และดินแดนอื่นๆ ทั้งในยุโรปและแอฟริกาเหนือ
  • Period: 1000 BCE to 146 BCE

    อารายธรรมโรมัน

  • 800 BCE

    ชาวอัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)

    ชาวอัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)
    เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของกรุงบาบิโลน ต่อมาสามารถก่อตั้งจักรวรรดิอัสซีเรียได้สำเร็จ มีเมืองหลวงคือ เมืองนิเนเวห์ ชาวอัสซีเรียเป็นชนเผ่าที่รบเก่ง ภายหลังสามารถกรีฑาทัพลงมายึดครองบาบิโลเนียได้สำเร็จ อัสซีเรียมีความเจริญสูงสุดในสมัยของพระเจ้า “อัสซูบานิปาล” (Assurbanipal) ก่อนจะถูกทำลายลงโดยกองทัพผสมของเหล่าอริ อัสซีเรียนรับอารยธรรมจากสุเมเรียนเช่นกัน และได้ฝากอารยธรรมของชาตินักรบ
  • Period: 800 BCE to 732 BCE

    ชาวอัสซีเรียน

  • 612 BCE

    ชาวคลาเดียน (เมโสโปเตเมีย)

    ชาวคลาเดียน (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นเผ่าที่เข้าร่วมกับเผ่าอื่นในการทำสงครามกับอัสซีเรีย จนสามารถเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ของอัสซีเรียได้ในที่สุด และได้สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นมาใหม่ รวมทั้งได้ดำเนินการรื้อฟื้นอารยธรรมเก่าแก่ของบาบิโลนด้วย อารยธรรมที่สำคัญของคาลเดียน
  • Period: 612 BCE to 538 BCE

    ชาวคลาเดียน

  • 600 BCE

    อีทรัสกัน (โรมัน)

    อีทรัสกัน (โรมัน)
    ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวก อีทรัสคันได้ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดนของพวกละติน และสถาปนากษัตริย์ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปีก่อน คริสต์ศักราช หลังจากขยายอำนาจปกครองได้ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สูญเสียอำนาจ และผสมกลมกลืนกับพวกละติน จนกลายเป็นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความเจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคันสร้างไว้ให้แก่อารยธรรมโรมันคือ การนำตัวอักษรกรีก เข้ามาใช้ในแหลมอิตาลี
  • Period: 600 BCE to 500 BCE

    อีทรัสกัน (โรมัน)

  • 336 BCE

    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (กรีก)

    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (กรีก)
    ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระ เจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ครอบ ครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมา ผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้า อะเล็กซานเดอร์มหาราช
  • Period: 336 BCE to 323 BCE

    พระเข้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (กรีก)

  • 264 BCE

    สงครามพูวนิก (โรมัน)

    สงครามพูวนิก (โรมัน)
    โรมันได้ทำ สงครามพูนิก (Punic War) กับคาร์เทจ (Carthage) ถึง 3 ครั้ง คาร์เทจเป็นนครริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของทวีป แอฟริกาในเขตประเทศตูนิเชียปัจจุบัน ในอดีตเป็นอาณานิคมที่ชาวฟินิเซียนสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในเขตทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้เจริญเติบโตและมั่งคั่งพร้อมทั้งมีอาณานิคมของตนหลายแห่ง
  • Period: 264 BCE to 146 BCE

    สงครามพูวนิก (โรมัน)

  • 206 BCE

    ราชวงศ์ฮั่น (จีน)

    ราชวงศ์ฮั่น (จีน)
    ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นไท่จู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น 2 ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก
  • Period: 206 BCE to 9

    ราชวงศ์ฮั่น (จีน)

  • 266

    ราชวงศ์จิ๋น (จีน)

    ราชวงศ์จิ๋น (จีน)
    เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีน ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 420 ถูกก่อตั้งสถาปนาโดยซือหม่าหยานหรือสุมาเอี๋ยน (เมื่อขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า พระเจ้าจิ้นอู่ตี้) บุตรชายคนโตของซือหม่าเจาหรือสุมาเจียว ผู้ซึ่งเคยได้รับการสถาปนาตั้งตนเป็นจิ้นอ๋องมาก่อน ราชวงศ์จิ้นมีมาก่อนยุคสมัยสามก๊ก และถูกรับช่วงต่อโดยสิบหกอาณาจักรในแผ่นดินจีนตอนเหนือ และราชวงศ์หลิวซ่งในแผ่นดินจีนตอนใต้
  • Period: 266 to 420

    ราชวงศ์จิ๋น (จีน)

  • 518

    ราชวงศ์สุย (จีน)

    ราชวงศ์สุย (จีน)
    จักรพรรดิสุยเหวิน ดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้
  • Period: 581 to 618

    ราชวงศ์สุย (จีน)

  • 618

    ราชวงศ์ถัง (จีน)

    ราชวงศ์ถัง (จีน)
    เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 618 ถึง ค.ศ. 907 โดยในช่วงสั้น ๆ ระหว่าง ค.ศ. 690 ถึง ค.ศ. 705 ราชวงศ์อู่โจวได้เข้ามาแทนที่การปกครองของราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ถังสืบเนื่องต่อจากราชวงศ์สุยและสิ้นสุดลงเป็นยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร นักประวัติศาสตร์มักมองว่าราชวงศ์ถังเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมจีน และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมสากล[7] ดินแดนของราชวงศ์ถังที่ได้มาจากการต่อสู้ทางทหารในช่วงต้น เทียบได้กับดินแดนของราชวงศ์ฮั่น
  • Period: 618 to 907

    ราชวงศ์ถัง (จีน)

  • 960

    ราชวงศ์ซ่ง (จีน)

    ราชวงศ์ซ่ง (จีน)
    เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองระหว่างปี 960 ถึง 1279 ราชวงศ์นี้ก่อตั้งโดยจักรพรรดิซ่งไท่จู่ ผู้ซึ่งแย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์โจวยุคหลังและไปพิชิตส่วนที่เหลือของสิบอาณาจักร สิ้นสุดยุคห้าวงศ์สิบรัฐ ราชวงศ์ซ่งมักขัดแย้งกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์เซี่ยตะวันตก และราชวงศ์จินทางตอนเหนือของจีน
  • Period: 960 to 1279

    ราชวงศ์ซ่ง (จีน)

  • 1271

    ราชวงศ์หยวน (จีน)

    ราชวงศ์หยวน (จีน)
    ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1271 เมื่อมองโกลโค่นราชวงศ์ซ่งลงได้สำเร็จและยึดครองดินแดนจีนได้ทั้งหมด กุบไลข่านได้ประกาศตั้งราชวงศ์แบบจีนขึ้นอย่างเป็นทางการ[1] มีการตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน
  • Period: 1271 to 1368

    ราชวงศ์หยวน (จีน)

  • 1368

    ราชวงศ์หมิง (จีน)

    ราชวงศ์หมิง (จีน)
    ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น
  • Period: 1368 to

    ราชวงศ์หมิง (จีน)

  • ราชวงศ์ชิง (จีน)

    ราชวงศ์ชิง (จีน)
    ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงของชาวจีนฮั่นอยู่ในสภาพอ่อนแอ เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ
  • Period: to

    ราชวงศ์ชิง (จีน)