จีน

timeline ราชวงศจีน

  • Period: 2100 BCE to 1600 BCE

    ราชวงศ์เซี่ย (夏朝:Xià cháo)

    กษัตริย์เซี่ยองค์แรกคือ พระเจ้าอวี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซี่ยนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป
    ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานเกือบ 500 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ย (桀:Jié) ทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์
  • Period: 1046 BCE to 256 BCE

    ราชวงศ์โจว (周朝:Zhōu cháo)

    นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
  • Period: 770 BCE to 256 BCE

    ยุคชุนชิว (春秋:Chūnqiū)

    หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิวซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่าง ๆ เป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง หรือสมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง
  • Period: 206 BCE to 219

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

    เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้น ๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง
  • Period: 9 to 23

    ราชวงศ์ซิน

    ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้น ๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
  • Period: 23 to 220

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 (พ.ศ. 727) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
  • Period: 220 to 280

    ยุคสามก๊ก

    เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็นสามก๊ก โดยจุดเริ่มต้นของการแตกแยกเป็นสามก๊ก ราชวงศ์ฮั่นอ่อนแอลง ตั๋งโต๊ะซึ่งเป็นแม่ทัพชายแดนจึงเข้ามาควบคุมอำนาจในเมืองหลวงทำศึกสงครามต่อเนื่องกันตั้งแต่ ค.ศ. 189 ซึ่งในช่วงเวลานี้ มีเหล่าขุนศึก ขุนพล ขุนนาง และเสนาธิการที่ปรึกษาที่เก่งกล้าสร้างชื่อเสียงในการทำสงครามและการปกครองเป็นจำนวนมาก หลังจากทั้งสามก๊กทำสงครามแย่งชิงดินแดนกัน สุมาอี้ ขุนนางและแม่ทัพใหญ่ ก็ได้เข้ายึดอำนาจการบริหาร และเป็นจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานเพื่อสถาปนาราชวงศ์จิ้น
  • Period: 221 to 206

    ราชวงศ์ฉิน

    ราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เสียนหยาง สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น การก่อสร้างนี้ทำให้กลายเป็นกำแพงขนาดยาวนับหมื่นลี้ จึงเรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพงหมื่นลี้” หลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้สวรรคต เกิดความวุ่นวายขึ้นในราชวงศ์ ทำให้เกิดกบฏมากมาย หลิวปังสามารถรบชนะราชวงศ์ฉินได้ แต่เซี่ยงอี้ถือโอกาศยึดอำนาจ แต่หลิวปังก็รบชนะได้และสถาปนาราชวงศ์ฮั่น
  • Period: 265 to 317

    ราชวงศ์จิ้นตะวันตก

    สุมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตกใน ค.ศ. 265 เข้าแทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ กระทั่งใน ค.ศ. 280 ราชวงศ์จิ้นตะวันตกก็ปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น เป็นอันสิ้นสุดยุคสามก๊กต่อมาราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา
  • Period: 317 to 420

    ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

    การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420 หรือ พ.ศ. 860-963) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่าง ๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้น ๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่าง ๆ
  • Period: 420 to 581

    ราชวงศ์เหนือใต้

    หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตกภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้นหัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนารัฐเว่ย์เหนือ และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนืออีกฝ่ายทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังก์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง
  • Period: 581 to 618

    ราชวงศ์สุย

    สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่งสุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร
  • Period: 618 to 907

    ราชวงศ์ถัง

    ในรัชสมัยของถังไท่จง ราชวงศ์ถังมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุด สามารถเทียบได้กับยุคราชวงศ์ฮั่นในช่วงเรืองรองเป็นยุคสมัยที่มีความรุ่งเรื่องทั้งด้านการทหาร ศาสนา ศิลปะ การค้าขาย ราชวงศ์ถังได้ขยายอาณาเขตจนกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นหลังจากถังไท่จงสิ้นแล้ว ราชวงศ์ถังก็เริ่มเสื่อมโทรม กระทั่งพระสนมของถังไท่จงคือ พระนางบูเช็กเทียนก็ได้เข้ากุมอำนาจบริหารประเทศ กลายเป็นฮ่องเต้หญิงองค์แรกและองค์เดียวของจีน หลังจากสิ้นยุคของพระนางบูเช็กเทียนราชวงศ์ถังก็กลับคืนมาสู่คนในสกุลหลี่อีกครั้ง แต่ก็เป็นการเสื่อมถอยลง
  • Period: 907 to 960

    ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

    ในช่วงปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฏประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนักแล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักรต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา
  • Period: 960 to 1279

    ราชวงศ์ซ่ง

    เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง
  • Period: 1046 to 771

    ราชวงศ์โจวตะวันตก

    เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่าโดยราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่าง ๆ ต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ถือเป็นจุดสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก
  • Period: 1279 to 1368

    ราชวงศ์หยวน

    ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุคสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นสมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอาณาจักรโรมันถึง 4 เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฏ และสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวน จูหยวนจาง ได้ปราบปรามกลุ่มต่าง ๆ และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ
  • Period: 1368 to

    ราชวงศ์หมิง ( 1 )

    ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจางจูหยวนจาง เป็นผู้นำกองกำลังที่ทำศึกปราบราชวงศ์หยวน แล้วขับไล่มองโกลออกจากแผ่นดินจีนได้ จากนั้นสถาปนาตนขึ้นเป็นฮ่องเต้นที่เมืองนานกิง และสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น จักรพรรดิหมิงไท่จู่ปกครองประเทศนานกว่า 31 ปี หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หมิง ระบอบสอบจอหงวนนิยมสอบการเขียนบทความแบบแปดตอน
  • Period: 1368 to

    ราชวงศ์หมิง ( 2 )

    ช่วงปลายราชวงศ์หมิง สภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของรัฐบาลก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้นเสนาบดีเหล่าการเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น ”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้ายการต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น กองทหารชาวนาบุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์
  • Period: to 1046

    ราชวงศ์ซาง (商朝:Shāng cháo)

    ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหารข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ ในราชวงศ์ซางถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างเเพร่หลาย พวกเผ่าโจวได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจวหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินพระเจ้าโจวหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซาง
  • Period: to

    ราชวงศ์ชิง (2)

    ซึ่งภายหลังเกิด "ศึกกบฏราชวงศ์หมิง" ภายในประเทศจีน โดยกบฏเปิดประตูเมืองให้แมนจูเลียเข้ายึดครอง ทำให้ได้รับสมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ เป็นรัชสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การตรวจตราข้อบังคับของสังคม ศาสนา และ การค้าทางเรือที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งก็ว่าได้เพื่อบ่งบอกถึงอารยธรรมชนเผ่าของตนว่ามีศาสนาและอารยธรรมยาวนานระบบการว่าราชการที่เจริญที่สุดถอดแบบจากราชสมัย "ราชวงศ์ซ่ง" ยังมีการแบ่งลักษณะการปกครองออกเป็นหัวเมือง ๆ ทั้งหมด 18 มณฑลในประเทศจีน โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อ "จักรพรรดิราชวงศ์ชิง"
  • Period: to

    ราชวงศ์ชิง (1)

    บุกเบิกและสร้างราชวงศ์ชิงโดย เผ่านูรฮาชี (แมนจูเลีย) สมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ จักรพรรดิบนหลังม้า ปฐมกษัตริย์ชื่อ จักรพรรดิหวงไท่จี๋, ซุนจื่อ และคังซี และจักรพรรดิบัลลังก์เลือด หย่งเจิ้น จักรพรรดิเจ้าสำราญ เฉียนหลง ศึกล่าบัลลังก์ทอง เจี่ยชิ่ง และเต้ากวงมีจักรพรรดิรวมทั้งสิ้นในราชวงศ์ 13 พระองค์ ซึ่ง จักรพรรดิ ปูยี เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของ เผ่าแมนจูเลีย เป็นชนต่างชาติทางเหนือที่เข้ามาปกครองประเทศจีน ต่อจากราชวงศ์หมิง