-
สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781- พ.ศ.1921)
สมัยสุโขทัยจะมีการจัดการศึกษาที่ บ้าน วัด วัง และแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1.ฝ่ายอาณาจักร สำหรับผู้ชายที่เป็นทหารจะเรียนศิลปะป้องกันตัว ศึกษาตำราพิชัยยุทธ์
คัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ ส่วนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี เย็บปักถักทอ กิริยามารยาท
2. ฝ่ายศาสนาจักร จะเป็นการบวชเรียน ศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ความกตัญญูรู้คุณ
ต่อแผ่นดิน ต่อพ่อแม่ -
Period: to
การศึกษาสมัยโบราณ (สมัยกรุงสุโขทัย,สมัยกรุงศรีอยุธยา,สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)
ช่วงการศึกษาในสมัยโบราณจะเน้นการศึกษาไปที่ผู้ชาย และการศึกษาสำหรับผู้ชายจะเป็นการบวชเรียน
เรียนในวัดกับพระ หรือไม่ก็เป็นการเรียนศิลปะป้องกันตัวเพื่อเป็นทหาร ปกป้องแผ่นดินไทย ส่วนผู้หญิง
จะเป็นการเรียนงานบ้านงานเรือน ทำอาหาร งานฝีมือ ภายในบ้านหรือวังเท่านั้น -
พ่อขุนรามทางประดิษฐ์อักษรไทย
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามท่านทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ทำให้งานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น
มีการสอนภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ หนังสือไตรภูมิพระร่วงและ
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ -
พ่อขุนรามให้ชาวจีนเข้ามาสอนปั้นเครื่องชามสังคโลก
พ่อขุนรามได้ให้ชาวจีนเข้ามาสอนปั้นเครื่องชามสังคโลก จึงทำให้กลายเป็นอาชีพของชาวสุโขทัยในสมัยนั้น
และเป็นเอกลักษณ์ของชาวสุโขทัยจนมาถึงปัจจุบันนี้ -
อยุธยา (พ.ศ.1893-2310)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เริ่มมีการพัฒนาการศึกษาเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม
อย่างมากมีชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าขาย เช่นโปรตุเกส ที่เข้ามาและมาซึ่งการพัฒนาการศึกษา
การศึกษาในสมัยอยุธยายังคงมีความคล้ายกับสมัยสุโขทัย เพียงแต่จะมีการเรียนวิชาสามัญ
เรียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือจินดามณี เรียนอ่านเขียน เลข วิชาพื้นฐานการประกอบอาชีพ -
ก่อตั้งโรงเรียนมิชชันนารี
ชาวโปรตุเกสได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย อีกทั้งยังเข้ามาก่อตั้งโรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนมิชชันนารี เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และมีการสอนวิชาสามัญควบคู่ไปด้วย -
บทบาทของวัดในการศึกษา สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
การศึกษาในสมัยอยุธยา วัด ยังคงมีบทบาทสำคัญอยู่มาก ผู้ชายยังคงต้องมาเรียนอ่านเขียนที่วัดกับพระ
ซึ่งแสดงให้เห็นได้จาก สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงส่งเสริมพุทธศาสนาโดยทรงวางกฎเกณฑ์
ไว้ว่าประชาชนคนใดไม่เคยบวชเรียนเขียนอ่านมาก่อน จะไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ -
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2311 - พ.ศ.2411)
การศึกษาในสมัยนี้คล้ายกับสมัยอยุธยา บ้านและวัดยังคงมีบทบาทเหมือนเดิม -
แต่งวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสาตร์
และมีการแต่งวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อีกทั้งยังมีการสังคายนาพระไตรปิฏกอีกด้วย -
มีการเรียนวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์
สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงสงเสริมให้มีการเรียนวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์
โดยจัดตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมราชวัง เป็นสถานศึกษาวิชาดังกล่าวเพิ่มขึ้น -
แบบเรียนไทย ประถม ก กา
พระบาทสมเด็กพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีแบบเรียน ประถม ก กา และประถมมาลา
ถือว่าเป็นแบบเรียนเล่มที่ 2 และ 3 ต่อจากหนังสือจินดามณี -
เริ่มเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในประเทศไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีชาวยุโรปเดินทางเข้ามามากขึ้น ประกอบกับการนำ
เครื่องจักรพลังงานไอน้ำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมไทย จึงได้มีการจัดการเรียนวิชาธรรมชาติวิทยา
หรือวิชาวิทยาศาตร์ -
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)
ได้วางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุด คือ การขยายการศึกษาทั่วในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองให้กว้างขวางออกไป และที่สำคัญที่สุดพระองค์ทรงเห็นว่า การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงและขยายออกไปให้ถึงประชาชนให้มากที่สุด -
สมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2411-2475)
ในช่วงสมัย พ.ศ. 2411-2453 ประเทศไทยมีการปฏิรูปในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง สังคม กฎหมาย รวมทั้งการศึกษา การศึกษาตามระบบโรงเรียนได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และกลายเป็นรากฐานที่สำคัญทำให้เกิดพระราชบัญญัติประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2464 รัฐได้พยายามที่จะขยายการศึกษาออกไปสู่ประชาชน โดยมุ่งเน้นในระดับประถมศึกษาเป็นสำคัญ -
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468)
ทรงมีพระบรมราโชบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญ คือ ส่งเสริมการขยายการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป ออกไปให้กว้างขวาง โดยได้ออกพระราชบัญญัติบังคับเด็กเข้าเรียน ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้ทรงพยายามส่งเสริมการศึกษาด้านวิชาชีพและการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป ได้แก่ มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งทรงส่งเสริมจัดการศึกษาเพื่อสร้างความรู้สึกรักชาติให้กับประชาชนด้วย -
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2475)
ได้ทรงวางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญ คือ ขยายการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาออกไปให้กว้างขวาง ส่งเสริมการเรียนวิชาชีพในโรงเรียนทุกระดับ โดยเฉพาะระดับประถมศึกษา รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ -
สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – 2503
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณญาสิทธิราช
มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎรทุกชนชั้น และช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๓
ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับถาวร ฉบับชั่วคราว และฉบับแก้ไข จำนวน ๑๕ ฉบับ -
Period: to
หลังการปกครองระบอบประชาธิปไตย- ปัจจุบัน
-
ระยะแรกสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 - 2485)
นโยบายในการจัดการศึกษาในช่วง ๑๐ ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะเป็นการ ขยายการศึกษาระดับ ประถมศึกษาออกไปให้มากยิ่งขึ้นและให้ความสำคัญมากกว่าระดับอื่น ส่วนในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดม ศึกษานั้น เป็นการขยายด้านปริมาณและปรับปรุงคุณภาพ -
ระยะที่สองสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2485- 2593)
ประเทศตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม นโยบายการบริหารราชการ แผ่นดิน จึงเน้นหนักในด้านการทหาร และการป้องกันประเทศ ส่วนในด้านการศึกษา จึงไม่ค่อยชัดเจนนัก ภายหลังสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๘) รัฐบาลได้ปรับปรุงการศึกษาของชาติหลายประการ นโยบายในการจัดการศึกษาได้เด่นชัดขึ้นทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ ปริมาณ และคุณภาพในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา โดยรัฐบาลต้องเอาใจใส่และทำนุบำรุง การศึกษาของชาติ ทุกระดับ -
ระยะที่สาม (พ.ศ. 2493 - 2503)
เป็นช่วงที่มีการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านและทุกระดับที่ปรากฏเด่นชัดที่สุด
ในยุคนี้ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๕
๒. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๙
๓. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔ -
ในระหว่างปี พ.ศ. 2503 – 2520
ได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๙ ท่าน เข้ามาบริหารราชการ และได้วางแนวนโยบายในการ
บริหารงานการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดยจัดเอาแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2503 เป็นแผนแม่บท
ในยุคนี้ ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาหรือได้มี การประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503
และต่อมาในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้ถือเอาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503
เป็น แผนแม่บท และดำเนินการ -
ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๕๒๐ กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันให้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓ และปรับปรุงหลักสูตรระดับการศึกษา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่สำคัญ คือ มีการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น ๗ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๐๖ -
โอนการศึกษษประชาบาลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้มีการโอนการศึกษาประชาบาลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในยุคนี้มีจุดที่น่าสนใจ คือ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๑๗ การศึกษาในสายอาชีวศึกษามีผู้สนใจจะเข้าศึกษาน้อยมาก แต่เพิ่มมากขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๙ -
ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๑ มุ่งให้ ผู้เรียนสามารถนำ ประสบการณ์ที่ได้จาก การเรียนไปใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการ ดำรงชีวิต ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม รู้จักคิดวิจารณ์ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และเน้นให้มีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร ๖ ปี โดยยึดเด็กเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ และ หลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนต้น พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่มุ่งวางพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถ ความถนัด -
เปลี่ยนแปลงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายให้สอดคล้องกับมัธยมต้น
้ตั้งแต่ปีการศึกษา๒๕๒๔ โครงสร้างของหลักสูตรจัดให้เรียนทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก วิชาบังคับมีทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพ เน้นความสำคัญของวิชาการงานและอาชีพ การเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน ส่วนการวัดและประเมินผลใช้ระบบหน่วยการเรียน แทนระบบหน่วยกิตที่ใช้ตาม หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๑๘ -
Period: to
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5
เน้นนโยบายและแนวทางพัฒนาการศึกษาโดยส่วนรวม ดังนี้
1. นโยบายด้านปริมาณ จัดและส่งเสริมการศึกษาในทุกลักษณะงานทั้งในระบบและนอกระบบ เด็กที่มีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ได้มีโอกาสเข้าเรียนทุกคน
2. นโยบายด้านคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาในเมืองและชนบทให้ใกล้เคียงกัน
3. นโยบายด้านความเสมอภาค มุ่งกระจายสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
4. นโยบายจัดสรรและการใช้ทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาและการบริหารการศึกษา ระดมการใช้ทรัพยากรภายในท้องถิ่น ชุมชนร่วมกันพัฒนาการศึกษา -
การศึกษายึดแนวนโยบายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 9
การจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มุ่งยึดแนวนโยบายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545- พ.ศ. 2549) ได้จัดแผนการศึกษาระยะ เวลา 15 ปีเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาการอย่างบูรณาการคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านและสอดรับกับวิสัยทัศน์ แนวนโยบาย มาตรการและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมไทย -
หลักสูตรการศึกษาใหม่ 6 กลุ่มสาระ
ลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลดชั่วโมงเรียน
เพิ่มโครงงาน หรือกิจกรรมนอกห้องรียน
ก. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2
แบ่งการจัดการศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มสาระ ได้แก่
1.บ้านของเรา โลกของเรา
2.ชีวิตกับการเรียนรู้
3.เด็กในวิถีประชาธิปไตย
4.ศิลปะและพลานามัยเพื่อชีวิต
ข. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป
แบ่งการจัดการศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระ ได้แก่
1.กลุ่มภาษาและวรรณกรรม
2.วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
3.เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)
4.สังคมและความเป็นมนุษย์
5.โลก ภูมิภาคและอาเซียน
6.ชีวิตกับโลกของงาน