-
400 BCE
ราชวงศ์นันทะ (Nanda Dynasty) ครองจักรวรรดิมคธและขยายอำนาจในอินเดียตอนเหนือ
ราชวงค์นันทะ เป็นราชวงศ์ที่ 5 ที่ปกครองแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตอนเหนือเมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช และอาจปกครองในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราชด้วย ราชวงศ์นันทะโค่นล้มราชวงศ์ศิศุนาคและขยายจักรวรรดิในพื้นที่อินเดียเหนือ ข้อมูลสมัยโบราณระบุพระนามกษัตริย์และระยะเวลาครองราชย์ไม่เหมือนกัน ข้อมูลศาสนาพุทธที่บันทึกใน มหาวงศ์ ระบุว่าราชวงศ์นี้ปกครองในช่วง ป. 345–322 ปีก่อน ค.ศ. แม้ว่าบางทฤษฎีจัดปีเริ่มต้นปกครองที่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช -
Period: 400 BCE to
ราชวงศ์นันทะ (Nanda Dynasty) ครองจักรวรรดิมคธและขยายอำนาจในอินเดียตอนเหนือ
-
396 BCE
ชัยชัยชนะของกรีกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 96
125 ปีที่แล้ว การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ได้คือกำเนิดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยโอลิมปิกเกมส์ 1896 มีชาติเข้าร่วมชิงชัยทั้งหมด 14 ชาติ นักกีฬาทั้งหมด 241 คน (ชายล้วน) แข่งขันกันใน 9 ชนิดกีฬา -
394 BCE
สงครามโครินธ์เริ่มต้นขึ้นระหว่างสปาร์ตาและพันธมิตรกรีกอื่นๆ
เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา สงครามนี้ออกเป็นสามช่วง โดยช่วงแรกเรียกว่า สงครามอาร์คีเดเมีย สงครามช่วงนี้จบลงในปีที่ 421 ก่อนคริสตกาล ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพนิซิอัส แต่ต่อมาในปีที่ 415 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลับยกทัพบุกซีรากูซาบนเกาะซิซิลี แต่ล้มเหลว ช่วงที่สามของสงคราม สปาร์ตาได้สนับสนุนให้มีการก่อกบฏขึ้นตามนครรัฐใต้อำนาจเอเธนส์ จนนำไปสู่ยุทธนาวีที่เอกอสพอทาไมที่เป็นจุดยุติสงครามในที่สุด เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีต่อมา -
387 BCE
เพลโตก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งแรกของโลกที่เรียกว่า "The Academy" ในเอเธนส์
เพลโตยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกด้วย นั่นคือ อะคาเดมี (The Academy) โรงเรียนที่เขาก่อตั้งขึ้นในกรุงเอเธนส์เมื่อประมาณ 387 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นรากฐานของระบบการศึกษาขั้นสูงในปัจจุบัน สถาบันแห่งนี้จัดการเรียนการสอนหลากหลายวิชา ทั้งการบริหาร วรรณกรรม ดนตรี ปรัชญา คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ -
371 BCE
สงครามเลอุคตรา (Leuctra) สปาร์ตาพ่ายแพ้ต่อธีบส์
สปาร์ตาพ้ายแพ้แก่กองทัพเมืองธีบส์ในยุทธการที่เล็กตราในปีต่อมากองทัพธีบส์ก็ำด้เข้ามารุกรานดินแดนสปาร์ตา และได้ทำการปลดปล่อยเหล่าเฮล็อต ซึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของสปาร์ตาเป็นเวลานานหลายร้อยปี -
359 BCE
ฟิลิปที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย
กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เกิดเมื่อ 382 ปีก่อน ค.ศ. มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359–336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช -
338 BCE
ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนียได้รับชัยชนะเหนือพันธมิตรของกรีกในสงครามเครอเนีย
กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เกิดเมื่อ 382 ปีก่อน ค.ศ. มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359–336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช -
336 BCE
อเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นครองราชย์หลังจากการสังหารฟิลิปที่ 2
เป็นจอมกษัตริย์กรีกโบราณแห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เป็นสมาชิกของราชวงศ์อาร์กีดขึ้นสืบบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาขณะมีวัยเพียง 20 ปี อเล็กซานเดอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของเขาไปกับการสู้รบอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในทวีปเอเชียและแอฟริกาตอนเหนือ และก่อนมีพระชนม์ครบสามสิบปี พระองค์ก็ได้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณ แผ่ไพศาลตั้งแต่กรีซไปจนถึงทางตะวันตกของอินเดีย พระองค์ไม่เคยปราชัยในศึกใดมาก่อนและได้รับการยอมรับนับถือเป็นหนึ่งในแม่ทัพผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์โลก -
331 BCE
ชัยชนะของอเล็กซานเดอร์มหาราชในยุทธการที่กอกาเมลา
เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นการสู้รบระหว่างทัพมาซิดอนร่วมกับสันนิบาตโครินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและทัพเปอร์เซีย นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองเออร์บิล ประเทศอิรักในปัจจุบัน -
327 BCE
การรุกรานของอเล็กซานเดอร์มหาราชทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
อเล็กซานเดอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของเขาไปกับการสู้รบอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในทวีปเอเชียและแอฟริกาตอนเหนือ และก่อนมีพระชนม์ครบสามสิบปี พระองค์ก็ได้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณ แผ่ไพศาลตั้งแต่กรีซไปจนถึงทางตะวันตกของอินเดีย พระองค์ไม่เคยปราชัยในศึกใดมาก่อนและได้รับการยอมรับนับถือเป็นหนึ่งในแม่ทัพผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์โลก -
Period: 327 BCE to
การรุกรานของอเล็กซานเดอร์มหาราชทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
-
323 BCE
การสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช
แปดเดือนหลังเฮฟีสเทียนเสียชีวิต อเล็กซานเดอร์สวรรคตในพระราชวังเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ที่กรุงบาบิโลนในวันที่ 11 หรือ 12 มิถุนายน 324 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุการสวรรคตไม่เป็นที่แน่ชัด พลูทาร์กระบุว่าอเล็กซานเดอร์เริ่มมีไข้ราว 14 วันก่อนสวรรคตและอาการหนักถึงขั้นตรัสไม่ได้ พระอาการไม่ดีขึ้นจนสวรรคตในที่สุด -
322 BCE
การล่มสลายของประชาธิปไตยในเอเธนส์
ประชาธิปไตยเอเธนส์ล่มสลายลงเพราะความเป็น
ประชาธิปไตยทำลายตัวมันเอง นั่นคือ การให้อำนาจการปกครองและการตัดสินใจแก่สภาประชาชนที่
เต็มไปด้วยมหาชนคนส่วนใหญ่ที่ยากจนไร้วิสัยทัศน์ เห็นแก่ตัว โง่เขลาและละโมซึ่งเอเธนส์ไปสู่ความหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะให้เสรีภาพทางความคิด
และการพูด แก่พลเมืองทุกคน ซึ่งหมายความว่า พลเมืองที่มีความรู้ความสามารถย่อมมี
โอกาสที่จะแสดงออกซึ่งความคิดและเหตุผลของตนในสภาประชาชนได้อย่างเสรี -
321 BCE
จันทรคุปต์ เมารยะ ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะ อาณาจักรใหญ่แห่งแรกในอินเดีย
พระเจ้าจันทรคุปตะ หรือ จันทคุตตะ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้รวบรวมแผ่นดินอินเดียให้เป็นปึกแผ่น พระราชบิดาของ พระเจ้าพินทุสาร และพระอัยกาของ พระเจ้าอโศกมหาราช -
Period: 321 BCE to
จันทรคุปต์ เมารยะ ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะ อาณาจักรใหญ่แห่งแรกในอินเดีย
-
305 BCE
อาณาจักรปโตเลมีในอียิปต์ก่อตั้งโดยปโตเลมีที่ 1
ป็นนายพลชาวกรีกมาซิโดเนียนักประวัติศาสตร์ และผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงก่อตั้งอาณาจักรทอเลมีที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อียิปต์และปกครองโดยราชวงศ์ทอเลมีตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสตกาล – 30 ปีก่อนคริสตกาล ทอเลมีทรงเป็นทั้งบาซิลีอุสและฟาโรห์แห่งอียิปต์ตั้งแต่ 305/304 ปีก่อนคริสตกาลจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในช่วงเวลาดังกล่าวอียิปต์กลายเป็นศูนย์กลางที่เจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเฮเลนิสต์ และเมืองอเล็กซานเดรียกลายเป็นแหล่งวัฒนธรรมกรีกอันยิ่งใหญ่ -
301 BCE
สงครามที่อิปซัส (Ipsus) แบ่งแยกจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์มหาราช
ยุทธการที่อิปซัส เป็นการสู้รบระหว่างราชวงศ์แอนติโกนีด นำโดยแอนติโกนัสที่ 1 มอน็อพธาลมอสกับพันธมิตรคาสแซนเดอร์-ไลซีมาคัส-เซลิวคัส ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไดแอโดไค อันเป็นการแย่งชิงอำนาจในหมู่แม่ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช -
283 BCE
หอสมุดอเล็กซานเดรียก่อตั้งขึ้นในอียิปต์
หอสมุดอะเล็กซานเดรีย ตั้งอยู่ในเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของโลกยุคโบราณ อุทิศแด่มิวส์ เก้าเทพธิดาแห่งศิลปะเจริญรุ่งเรืองภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ทอเลมีและเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษา จนถึงที่โรมันเอาชนะอิยิปต์ใน 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประกอบด้วย แหล่งรวมผลงานโดยหอสมุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าภัณฑสถานและเป็นสถานที่ที่มีนักวิชาการหลายท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดของการศึกษายุคโบราณ -
277 BCE
แอนติโอคัสที่ 1 ประกาศตนเป็นกษัตริย์ของจักรวรรดิเซลูซิด
จักรวรรดิซิลูซิดเป็นรัฐอารยธรรมกรีก มีเมืองหลวงคือซิลูเซียและแอนติออก จักรวรรดินี้ถูกสถาปนาโดยซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์ หลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอาของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล การแบ่งดินแดนนี้ทำให้ซิลูคัสได้ครอบครองบาบิโลเนีย ก่อนจะขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนจรดแม่น้ำสินธุ จักรวรรดิซิลูซิดในช่วงเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่อานาโตเลียกลาง ลิแวนต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน ไปจนถึงบางส่วนของปากีสถานในปัจจุบัน -
268 BCE
รัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งจักรวรรดิเมารยะ ส่งเสริมศาสนาพุทธและขยายอาณาจักรไปทั่วอินเดียและเอเชียใต้
จักรพรรดิอโศกหรือรู้จักกันในทั่วไปในพระนาม อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ ป. 268 ถึง 232 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์เป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธจักรพรรดิอโศกขยายดินแดนของจักรวรรดิจากสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะไปถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถานจนถึงบังกลาเทศ เกือบทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย ยกเว้นเพียงบางส่วนของที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทมิฬนาฑู, กรณาฏกะ และเกรละ ราชธานีในรัชสมัยคือปาฏลีบุตร (ใน มคธ, ปัจจุบันคือปัฏนา) และราชธานีชนบทที่ตักศิลา และ อุชไชนะ -
Period: 268 BCE to 232 BCE
รัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งจักรวรรดิเมารยะ ส่งเสริมศาสนาพุทธและขยายอาณาจักรไปทั่วอินเดียและเอเชียใต้
-
246 BCE
สงครามซีเรียครั้งที่สามระหว่างจักรวรรดิปโตเลมีและเซลูซิด
เป็นรัฐอารยธรรมกรีกที่ดำรงอยู่ระหว่าง 312–63 ปีก่อนคริสตกาล มีเมืองหลวงคือซิลูเซียและแอนติออก จักรวรรดินี้ถูกสถาปนาโดยซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์ หลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอาของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล การแบ่งดินแดนนี้ทำให้ซิลูคัสได้ครอบครองบาบิโลเนีย ก่อนจะขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนจรดแม่น้ำสินธุ จักรวรรดิซิลูซิดในช่วงเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่อานาโตเลียกลาง ลิแวนต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน ไปจนถึงบางส่วนของปากีสถานในปัจจุบัน -
241 BCE
สงครามแรกระหว่างโรมและกรีกเริ่มต้นขึ้น
เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด กับนครรัฐกรีกจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลังนำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย -
215 BCE
สงครามมาซิโดเนียครั้งแรกระหว่างโรมและฟิลิปที่ 5
เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐโรมันและกษัตริย์ฟิลิปที่ 5 แห่งมาซิโดเนีย สาเหตุสำคัญมาจากการที่ฟิลิปพยายามขยายอิทธิพลของมาซิโดเนียในดินแดนกรีกและคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับโรมันที่ต้องการป้องกันผลประโยชน์ของตนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะหลังจากที่โรมันชนะสงครามพิวนิกครั้งที่สองกับคาร์เธจ และต้องการรักษาความมั่นคงในดินแดนรอบๆ -
200 BCE
สงครามมาซิโดเนียครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น
การก่อการกำเริบในสาธารณรัฐมาซิโดเนีย พ.ศ. 2544 เป็นความขัดแย้งซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติแอลแบเนีย (NLA) เริ่มโจมตีกองกำลังรักษาความปลอดภัยของสาธารณรัฐมาซิโดเนียในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และลงเอยด้วยข้อตกลงโอริส -
197 BCE
โรมได้รับชัยชนะเหนือฟิลิปที่ 5 แห่งมาซิโดเนีย
พระเจ้าแอนทิโอคัสได้ยกทัพข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) เพื่อช่วยเหลือสันนิบาตอีโทเลียน โรมันจึงส่งกองทัพมาที่กรีซ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี โดยโรมันเป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแอนทิโอคัสจึงถอยทัพออกจากกรีซ ลูเชียส เอเซียติคัส แม่ทัพชาวโรมันยกทัพตามไปและปะทะกับกำลังของฮันนิบาลที่ใกล้แม้น้ำยูรีมีดอน ไมโอเนสซัสและแมกนีเซีย โดยฝ่ายโรมันและพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะทั้งหมด -
184 BCE
การล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะและการขึ้นมาของราชวงศ์ชุงคะ
ราชวงศ์เมารยะค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จนสูญสิ้นความสามารถในการควบคุมดินแดนภายในพื้นที่ปกครองส่วนต่าง ๆ สุดท้ายจึงล่มสลายลงอย่างสมบูรณ์ ภายใน 50 ปี หลังสิ้นสุดสมัยของพระองค์ -
Period: 184 BCE to
การล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะและการขึ้นมาของราชวงศ์ชุงคะ
-
150 BCE
อาณาจักรชุงคะ (Shunga) เจริญขึ้นมาแทนที่
เป็นราชวงศ์อินเดียโบราณจากกาดล้าว่าพื้นที่ของภาคกลางและตะวันออกควบคุมชมพูทวีปจากทั่ว 184-75 คริสตศักราช ราชวงศ์ก่อตั้งขึ้นโดยพุชยามิตราชันกาหลังจากการบัลลังก์ของราชวงศ์โมริยะ เมืองหลวงของมันคือPataliputraแต่จักรพรรดิในภายหลังเช่นบากาบาดรายังยื่นศาลที่ Besnagar (ปัจจุบันVidisha ) ในภาคตะวันออกของมัลวะ -
Period: 150 BCE to
อาณาจักรชุงคะ (Shunga) เจริญขึ้นมาแทนที่
-
146 BCE
โรมผนวกกรีซเข้ากับจักรวรรดิโรมัน
หลังจากสงครามระหว่างโรมันและกรีกสิ้นสุดลง ในปี 146 ก่อนคริสตกาล เมื่อโรมเอาชนะพันธมิตรกรีกที่เมืองโครินธ์ จึงทำให้กรีซกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันแม้กรีซจะตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน แต่โรมันได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกรีกอย่างมาก ทั้งในด้านศิลปะ ปรัชญา วรรณกรรม และศาสนา โดยเฉพาะแนวคิดแบบกรีกในเรื่องการศึกษาและวิทยาศาสตร์ -
133 BCE
เมืองเพอร์กามอนในเอเชียเล็กถูกโรมยึดครอง
เป็นจุดสูงสุดของความมีอิทธิพลของอารยธรรมกรีกในโลกยุคโบราณตั้งแต่ราวปี 323 จนถึงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษ (หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษก็เป็นได้) เป็นสมัยที่ตามมาจากสมัยกรีกคลาสสิก และตามมาทันทีด้วยการปกครองของโรมในบริเวณที่เคยปกครองโดยหรือมีอิทธิพลจากกรีซ – แม้ว่าวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณคดีของกรีซจะยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมของโรมัน -
50 BCE
การขึ้นมาของอาณาจักรสาตวาหนะ (Satavahana) ในภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย
สาตวาหนะ เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจากชุนนระ ประทิศฐาน ในรัฐมหาราษฏระ และ กรีมนคร ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้และตอนกลางของอินเดีย นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าราชวงศ์สาตวาหนะเริ่มปกครองในช่วงปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศักราช จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงแม้ว่านักวิชาการบางส่วนกำหนดจุดเริ่มต้นเร็วสุดที่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ตามปุราณะ แต่ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีมายืนยันราชวงศ์สาตวาหนะได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างความสงบในจักรวรรดิ และหยุดยั้งการเข้ามาของชาวต่างประเทศหลังจากการเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโมริยะ -
50 BCE
อาณาจักรอินโด-กรีกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
ในประวัติศาสตร์เรียก อาณาจักรยวนะ เป็นอาณาจักรกรีกสมัยเฮลเลนิสต์ที่ครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนของประเทศอัฟกานิสถานและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดียในปัจจุบันอาณาจักรนี้ดำรงอยู่นาน 2 ศตวรรษ มีผู้ปกครองกว่า 30 องค์ และมีการผสานวัฒนธรรมกรีก-อินเดียทางด้านภาษา สัญลักษณ์ และแนวคิด ดังที่ปรากฏบนเหรียญและแหล่งขุดค้นโบราณคดีการหลอมรวมนี้ส่งผลต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะพุทธแบบกรีก -
30 BCE
การสิ้นสุดของยุคเฮเลนนิสติกเมื่ออียิปต์ถูกโรมยึดครอง
อารยธรรมเฮลเลนิสต์จึงเป็นอารยธรรมที่ผสานระหว่างอารยธรรมกรีกกับอารธรรมของตะวันออกใกล้ ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และแยกตัวจากทัศนคติเดิมของกรีกต่ออารธรรมอื่นที่เคยถือว่าอารยธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมกรีกเป็นอารธรรมของอนารยชนแต่การผสานระหว่างอารยธรรมกรีกและอารยธรรมที่ไม่ใช่กรีกจะมากน้อยเท่าใดนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่แนวโน้มของความเห็นที่ตรงกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการปรับรับวัฒนธรรมใหม่เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้นส่วนประชากรโดยทั่วไปก็คงอาจจะดำรงชีวิตเช่นที่เคยทำกันมา -
27 BCE
ออกัสตัสขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งโรม
“ออกัสตัส ซีซาร์” ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน และเปลี่ยนการปกครองจากระบอบ “สาธารณรัฐ” เป็น “จักรวรรดิ” ทรงได้รับการยกย่องว่า กรุงโรมรุ่งเรืองอย่างที่สุดในรัชสมัยของพระองค์ -
4 BCE
พระเยซูคริสต์ประสูติ
การประสูติของพระเยซู หรือพระคริสตสมภพถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล -
1 CE
อาณาจักรกุษาณะ (Kushan Empire) เริ่มรุ่งเรือง
สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์ เจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์ -
64
การเผากรุงโรม และการปราบปรามคริสเตียน
เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงโรมซึ่งเผาทำลายเมืองไปหลายส่วน ตำนานเล่าว่าจักรพรรดินีโรอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาเมืองครั้งนี้ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ชัดเจน บางแหล่งอ้างว่าเขามองเห็นเหตุการณ์และบรรเลงเพลงขณะเมืองกำลังถูกเผา แม้จะไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าจักรพรรดิเป็นผู้กระทำหรือไม่ แต่ความเสียหายจากเพลิงไหม้ส่งผลต่อประชาชนอย่างมาก ทำให้เกิดความไม่พอใจ -
78
พระเจ้ากนิษกะ (Kanishka) แห่งอาณาจักรกุษาณะ เป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่
พระเจ้ากนิษกะ หรือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ทรงมีชื่อเสียงจากความสำเร็จด้านการทหาร การปกครอง และฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้กำหนดมหาศักราชขึ้นด้วย ที่สำคัญคือ ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา -
98
กรีกยังคงเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในจักรวรรดิโรมัน
กรีกยังคงเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมในจักรวรรดิโรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงจักรวรรดิโรมันตะวันออก (หรือจักรวรรดิไบแซนไทน์) ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล (กรุงคอนสแตนติโนเปิลหรืออิสตันบูลในปัจจุบัน) กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษา ศิลปะ และวรรณกรรมของกรีก วัฒนธรรมกรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะ สถาปัตยกรรม ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ในจักรวรรดิโรมัน -
320
ราชวงศ์คุปตะ ก่อตั้งขึ้น นำไปสู่ยุคทองของศิลปะ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ในอินเดีย
จักรวรรดิคุปตะ เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 โดยมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร -
Period: 320 to
ราชวงศ์คุปตะ ก่อตั้งขึ้น นำไปสู่ยุคทองของศิลปะ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ในอินเดีย
-
325
จักรพรรดิคอนสแตนตินประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมัน
คอนสแตนตินและจักรพรรดิ Licinius ได้ร่วมกันออก "พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน" (Edict of Milan) ซึ่งรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนา รวมถึงศาสนาคริสต์ นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ศาสนาคริสต์ได้รับการคุ้มครองจากการถูกกดขี่ หลังจากนั้น คอนสแตนตินได้ให้การสนับสนุนคริสต์ศาสนาเป็นอย่างมาก เช่น การสร้างโบสถ์ต่าง ๆ และการประชุมสภาไนเซียครั้งแรกในปี ค.ศ. 325 ที่เป็นการกำหนดหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์ -
330
กรุงคอนสแตนติโนเปิลก่อตั้งเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์)
การก่อตั้งกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงใหม่มีเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เนื่องจากเมืองนี้มีทำเลที่ตั้งที่ดีมากในการป้องกันการรุกรานและยังเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของการค้าและวัฒนธรรมระหว่างสองทวีป ยุโรปและเอเชีย นอกจากนี้ คอนสแตนตินยังต้องการสร้างเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิใหม่ที่ไม่ขึ้นกับกรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า กรุงคอนสแตนติโนเปิลจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนา การค้า และวัฒนธรรมของโลกไบแซนไทน์ และเป็นเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์ยาวนานของยุโรป -
395
การแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นตะวันตกและตะวันออก
การแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นตะวันตกและตะวันออกเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 3 ถึงต้นศตวรรษที่ 4 ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน (Diocletian) ซึ่งในปี ค.ศ. 285 เขาได้ตัดสินใจแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนเพื่อจัดการกับปัญหาทางการเมืองและการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จักรวรรดิที่กว้างขวางและซับซ้อนเกินไปสำหรับจักรพรรดิคนเดียวในการบริหารจัดการ -
499
อารยภัณฑ์ นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์อินเดีย เขียนงานวิชาการสำคัญ
อารยภัฏ หรือ อาริยภัฏ เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนแรกจากยุคคลาสสิกของคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์อินเดีย ผลงานของเขาอาทิเช่น การประมวลหลักคณิตศาสตร์-ดาราศาสตร์ รวมทั้งระบบเลขสิบตัว การใช้เลข ๐ ทศนิยม การที่โลกหมุนรอบตัวเอง การคำนวณจันทรคราส-สุริยคราส พีชคณิตและเรื่องสมการ -
Period: 499 to
อารยภัณฑ์ นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์อินเดีย เขียนงานวิชาการสำคัญ
-
529
จักรพรรดิจัสติเนียนปิดสถาบัน The Academy ของเพลโต
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 (Justinian I) แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ได้ปิด The Academy ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งโดยเพลโตในกรุงเอเธนส์เมื่อปี 529 หลังคริสต์ศักราช สถาบันนี้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางปรัชญาและวิทยาการมานานหลายศตวรรษ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรัชญากรีก โดยเฉพาะแนวคิดแบบเพลโตนิสต์ -
550
การล่มสลายของจักรวรรดิคุปตะ เนื่องจากการรุกรานของฮั่น
จักรวรรดิคุปตะเป็นยุคคลาสสิกของอินเดีย ราชอาณาจักรมคธในยุคนี้ก็อยู่สืบต่อมา แต่มิใช่ศูนย์อำนาจอีกหลังคุปตะล่มสลาย จนกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดอินเดียเหนือได้ทั้งหมด จึงเป็นจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของราชอาณาจักรมคธ -
Period: 550 to
การล่มสลายของจักรวรรดิคุปตะ เนื่องจากการรุกรานของฮั่น
-
606
รัชสมัยของพระเจ้าหรรษาวรรธนะ แห่งอาณาจักรทางตอนเหนือของอินเดีย
พระเจ้าหรรษวรรธนะ หรือ พระเจ้าศรีลาทิตย์ (ราว พ.ศ. 1140−1190) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่งราชวงศ์วรรธนะ ปกครองทางตอนเหนือ ปกครองราวปี พ.ศ. 1149 ถึง 1190 -
Period: 606 to 1190
รัชสมัยของพระเจ้าหรรษาวรรธนะ แห่งอาณาจักรทางตอนเหนือของอินเดีย
-
610
การเสด็จขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิ์เฮราคลิอุสแห่งไบแซนไทน์
จักรพรรดิ์เฮราคลิอุส (Heraclius) ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี ค.ศ. 610 โดยการขึ้นสู่บัลลังก์ของพระองค์เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จักรวรรดิกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองและการทหารอย่างหนักภายใต้การปกครองของจักรพรรดิฟอคัส (Phocas) ซึ่งเป็นผู้นำที่ไม่เป็นที่นิยม และมีปัญหาภายในจักรวรรดิและการโจมตีจากศัตรูภายนอก โดยเฉพาะจักรวรรดิเปอร์เซีย (Sassanid Empire) ที่เข้ารุกรานดินแดนไบแซนไทน์ -
712
การรุกรานของชาวอาหรับมุสลิมนำโดยมูฮัมหมัด บิน กาซิม ในแคว้นสินธ์
ศาสนาเริ่มการรุกรานอินเดียครั้งแรกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่8 เขารุกรานครอบครองที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธ์ และแพร่ขยายอารยธรรมของตนไปผสมกลมกลืนกับอารยธรรมของชาวพื้นเมืองดั่งเดิมของอินเดีย -
Period: 712 to
การรุกรานของชาวอาหรับมุสลิมนำโดยมูฮัมหมัด บิน กาซิม ในแคว้นสินธ์
-
730
การบูรณะศิลปะไอคอนในคริสตจักรไบแซนไทน์
การบูรณะศิลปะไอคอนในคริสตจักรไบแซนไทน์ หรือที่เรียกว่า การฟื้นฟูไอคอน (Iconoclasm) เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 8 และต้นศตวรรษที่ 9 หลังจากที่เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการใช้ภาพทางศาสนา (ไอคอน) ในคริสตจักรไบแซนไทน์ โดยเฉพาะภาพของพระเยซู พระแม่มารี และนักบุญต่างๆ -
1054
การแตกแยกระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรกรีกออร์โธด็อกซ์
การแตกแยกระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรกรีกออร์โธด็อกซ์ หรือที่เรียกว่า The Great Schism (การแตกแยกครั้งใหญ่) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1054 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้คริสตจักรคริสเตียนตะวันตกและตะวันออกแยกออกจากกันอย่างถาวร ซึ่งมีทั้งสาเหตุทางศาสนา การเมือง และวัฒนธรรมที่สั่งสมมานานหลายศตวรรษ -
1204
คอนสแตนติโนเปิลถูกปล้นโดยกองทัพครูเสดที่ 4
การปล้นกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยกองทัพครูเสดครั้งที่ 4 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1204 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ส่งผลร้ายแรงต่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของสงครามครูเสด -
1206
การก่อตั้งสุลต่านแห่งเดลี หลังจากการรุกรานของมุสลิมจากเอเชียกลาง
อาณาจักรสุลต่านแห่งเดลีปกครองอินเดียสืบต่อกันมาชั่ว 34 สุลต่าน ท่ามกลางความโหดเหี้ยมทารุณ การล้างผลาญชีวิต และการแย่งชิงอำนาจกันจนกระทั่ง ค.ศ.1526 แม่ทัพมุสลิมเชื้อสายเตอร์กมงโกล จากเปอร์เซีย ก็ได้ตั้งราชวงศ์โมกุลอันยิ่งใหญ่ขึ้นในอินเดีย ซึ่งปกครองอินเดียมาอย่างยาวนานจนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และสิ้นสุดวงศ์ใน ค.ศ.1858 -
Period: 1206 to
การก่อตั้งสุลต่านแห่งเดลี หลังจากการรุกรานของมุสลิมจากเอเชียกลาง
-
1453
คอนสแตนติโนเปิลล่มสลายภายใต้การโจมตีของจักรวรรดิออตโตมัน
การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิลภายใต้การโจมตีของจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1453 ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ซึ่งมีอายุยาวนานกว่า 1,100 ปี ต้องสิ้นสุดลง และยังเป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในประวัติศาสตร์ยุโรปและตะวันออกกลาง -
1526
การก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล โดยบาบูร์ หลังจากชัยชนะในยุทธการที่ปานิปัต
จักรวรรดิโมกุลเป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์เตมือร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี ค.ศ. 1526 ยุครุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในอนุทวีปอินเดีย นับแต่อ่าวเบงกอลทางตะวันออกไปในทางตะวันตก และจากแคว้นแคชเมียร์ทางเหนือไปจนถึงกาเวรีในทางใต้ ประชากรของจักรวรรดิในยุคนั้นมีประมาณ 110-150 ล้านคน ดินแดนในครอบครองมีมากกว่า 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร -
Period: 1526 to
การก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล โดยบาบูร์ หลังจากชัยชนะในยุทธการที่ปานิปัต
-
1556
รัชสมัยจักรพรรดิอักบาร์ (Akbar) แห่งจักรวรรดิโมกุล
จักรพรรดิอักบาร์ ขึ้นครองราชย์ในขณะมีอายุเพียง 13 พระชันษา ในปี ค.ศ. 1556 จนถึง ค.ศ. 1605 รัชสมัยของพระองค์ถือได้ว่าเป็นช่วงที่รุ่งเรืองมากที่สุดของจัก รวรรดิโมกุล ความโดดเด่นของพระองค์คือการที่ทรงเป็นมุสลิม แต่กลับทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ -
1571
การรบที่เลปันโต ออตโตมันพ่ายแพ้
การรบที่เลปันโต (Battle of Lepanto) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1571 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรป ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่ออำนาจของจักรวรรดิออตโตมันในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอำนาจทางทะเลของยุโรปในศตวรรษที่ 16 -
บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ก่อตั้งและเริ่มเข้ามามีบทบาททางการค้าในอินเดีย
บริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ หรือในเวลาต่อมาคือ บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน และยังมีหน้าที่ปกครองอาณานิคมในอนุทวีปอินเดีย บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ -
Period: to
บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ก่อตั้งและเริ่มเข้ามามีบทบาททางการค้าในอินเดีย
-
จักรวรรดิโมกุลเริ่มเสื่อมลงหลังการสิ้นพระชนม์ของออรังเซ็บ
จักรพรรดิออรังเซพทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปีค.ศ. 1658 เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดียเกือบทั้งหมด รัชสมัยของพระองค์นั้นกินเวลายาวนานถึง 49 ปีตั้งแต่ปีค.ศ. 1658 จนสวรรคตในปีค.ศ. 1707 ทรงเป็นจักรพรรดิผู้บุกเบิกและขยายอาณาจักร และยังเป็นจักรพรรดิที่มั่งคั่งที่สุดในรางวงศ์ (ในปีค.ศ. 1690) นอกจากนี้ยังมีชัยเหนืออาณาจักรทางตอนใต้ทำให้จักรวรรดิโมกุลนั้นมีขนาดถึง 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร และประชากรในปกครองประมาณ 100-150 ล้านคน -
การเติบโตและการเข้าควบคุมทางการเมือง
การเติบโตและการเข้าควบคุมทางการเมืองหลังจากจักรวรรดิโมกุลเริ่มเสื่อมถอยอำนาจของบริษัทอินเดียตะวันออกเริ่มขยายมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากชัยชนะในการรบที่พลาสซีย์ในปี 1757 ซึ่งนำโดยโรเบิร์ตไคลฟ์ ทำให้บริษัทสามารถเข้าควบคุมแคว้นเบงกอล และเริ่มก้าวเข้าสู่การควบคุมพื้นที่ภายในอินเดียบริษัทอินเดียตะวันออกเริ่มเปลี่ยนจากบริษัทการค้ามาเป็นผู้ปกครองในพื้นที่บางส่วนของอินเดีย โดยทำหน้าที่คล้ายรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงมีการจัดตั้งกองทัพเป็นของตนเองเพื่อรักษาอำนาจและป้องกันการคุกคามจากชาติตะวันตกอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส -
Period: to
การเติบโตและการเข้าควบคุมทางการเมือง
-
ยุทธการที่ปลาสซี นำไปสู่การที่บริษัทอินเดียตะวันออกครอบงำอินเดียทางเศรษฐกิจและการเมือง
ยุทธการที่ปลาศี เป็นการต่อสู้ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษกับแคว้นเบงกอลของจักรวรรดิโมกุลที่มีฝรั่งเศสหนุนหลัง[1] การต่อสู้เกิดขึ้นในภาคเบงกอลซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1757 ซึ่งกองทัพของบริษัทได้รับชัยชนะขาดลอยเหนือกองทัพโมกุล เป็นผลให้จักรวรรดิโมกุลต้องเสียดินแดนในเบงกอลให้แก่บริษัทอินเดีย เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราชอาณาจักรสามารถยึดครองอนุทวีปอินเดียได้ทั้งหมดในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า -
Period: to
ยุทธการที่ปลาสซี นำไปสู่การที่บริษัทอินเดียตะวันออกครอบงำอินเดียทางเศรษฐกิจและการเมือง
-
การปกครองอินเดียและผลกระทบ
บริษัทอินเดียตะวันออกควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดีย ผ่านการทำสนธิสัญญากับราชวงศ์ท้องถิ่นและการพิชิตทางทหาร บริษัทเก็บภาษีและควบคุมการผลิตสินค้าเช่น ฝ้าย ชา และเกลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผูกขาดการผลิตฝ้ายและเกลือ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นอำนาจของบริษัทในอินเดียดำเนินไปจนถึง กบฏซีปอย ซึ่งเป็นการลุกฮือครั้งใหญ่ของทหารอินเดียที่ต่อต้านการปกครองของบริษัท -
Period: to
การปกครองอินเดียและผลกระทบ
-
การปฏิวัติกรีกเพื่อเอกราชเริ่มต้นขึ้น
การปฏิวัติกรีกเพื่อเอกราช (Greek War of Independence) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1821 เป็นการต่อสู้ที่สำคัญเพื่อปลดปล่อยกรีซจากการปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีผลกระทบสำคัญทั้งในด้านการเมืองและวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ -
กรีซได้รับเอกราชจากออตโตมัน
กรีซได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมันหลังจากการปฏิวัติกรีกเพื่อเอกราช ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1821 และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1829 ด้วยการก่อตั้งราชอาณาจักรกรีซ (Kingdom of Greece) อย่างเป็นทางการ -
พระเจ้ากอตส์เฟรดถูกสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งกรีซ
กษัตริย์จอร์จที่ 1 ปกครองกรีซในช่วงเวลาที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศและสร้างเสถียรภาพในด้านการเมืองและสังคม เขามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของกรีซ -
การล่มสลายของบริษัท
หลังจากการกบฏซีปอย รัฐบาลอังกฤษมองว่าบริษัทไม่สามารถควบคุมอินเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงยุบบริษัทอินเดียตะวันออกลงในปี 1858 และให้อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลอังกฤษ ผ่านทางระบบราชการที่เรียกว่า British raj -
Period: to
การล่มสลายของบริษัท
-
อินเดียกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษหลังจากการปฏิวัติ
การปกครองโดยตรงในอินเดีย โดยดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1858 จนถึง 1947ภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การปกครองของบริเตนแห่งนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า อินเดีย ตามการใช้งานในปัจจุบัน รวมถึงพื้นที่ในปกครองของสหราชอาณาจักรโดยตรง ซึ่งเรียกแบบโดยรวมว่าบริติชอินเดีย ตลอดจนรัฐในปกครองของเจ้าพื้นเมือง แต่เนื่องจากบรรดารัฐดังกล่าวอยู่ภายใต้อธิปไตยชั้นสูงสุดโดยบริเตน จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวเรียกว่ารัฐมหาราชา บางครั้งภูมิภาคแห่งนี้เรียกว่า บริติช- อินเดีย หรือ จักรวรรดิอินเดีย ถึงแม้ว่าจะเป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการก็ตาม -
การปฏิวัติอินเดียครั้งใหญ่ การลุกฮือต่อต้านบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 เป็นการกบฏเพื่อต่อต้านการปกครองอินเดียของบริษัทอินเดียตะวันออกระหว่างค.ศ. 1857–1858 การกบฏเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1857 เมื่อซีปอย หรือทหารราบอินเดียที่ใช้ปืนเล็กยาวเป็นอาวุธที่บริษัอินเดียตะวันออกเกณฑ์มาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์และช่วยในการรบลุกฮือขึ้นที่เมืองเมรฐะทางตะวันออกเฉียงเหนือของเดลี ก่อนจะเกิดการกบฏอื่น ๆ โดยทหารและประชาชนตามมาในพื้นที่ลุ่มคงคาและอินเดียกลางการกบฏจบลงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1858 -
Period: to
การปฏิวัติอินเดียครั้งใหญ่ การลุกฮือต่อต้านบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
-
Period: to
การขึ้นมาของอาณาจักรสาตวาหนะ (Satavahana) ในภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย
-
การก่อตั้งสภาแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress)
พรรคคองเกรส หรือ คองเกรสเป็นพรรคการเมืองในประเทศอินเดียที่มีรากฐานอันแพร่หลาย เป็นหนึ่งในสองพรรคที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ควบคู่ไปกับพรรคภารติยชนตาพรรคคองเกรสก่อตั้งขึ้นในปี 1885 และเป็นพรรคชาตินิยมสมัยใหม่พรรคแรกที่เกิดขึ้นในจะจักรวรรดิบริเตนในเอเชียและแอฟริกาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา -
สงครามบอลข่านและการขยายดินแดนของกรีซ
สงครามบอลข่าน (Balkan Wars) เป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อการขยายดินแดนของกรีซอย่างมาก สงครามเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และมีผลกระทบใหญ่ต่อแผนที่การเมืองของภูมิภาคบอลข่าน -
มหาตมะ คานธี กลับสู่อินเดียและเริ่มขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชโดยสันติวิธี
เป็นนักกฎหมาย, นักชาตินิยมต้านลัทธิอาณานิคม และ นักจริยธรรมการเมืองชาวอินเดีย ผู้นำเอาหลักการต่อต้านโดยสันติวิธีมาใช้นำพาขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษสำเร็จ สันติวิธีของคานธีมีอิทธิพลต่อขบวนการสิทธิพลเมืองและเสรีภาพทั่วโลก คำนำหน้านาม มหาตมา (Mahātmā) เพื่อให้เกียรติ เริ่มนำมาใช้ในแอฟริกาใต้ในปี 1914 และปัจจุบันใช้นำหน้านามของคานธีอยู่ทั่วไปจนถึงปัจจุบัน -
สนธิสัญญาโลซานน์ กรีซและตุรกีแลกเปลี่ยนประชากร
สนธิสัญญาโลซานน์ (Treaty of Lausanne) เป็นข้อตกลงทางการเมืองที่สำคัญที่ลงนามในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดสงครามกรีก-ตุรกี (Greek–Turkish War) และกำหนดข้อตกลงใหม่ระหว่างกรีซและตุรกี รวมถึงการแลกเปลี่ยนประชากรที่มีผลกระทบต่อทั้งสองประเทศ -
การเดินทางของคานธีเพื่อการเลิกเกลือ (Salt March)
ไปทําเกลือที่เมืองฑัณฑิ (Dandi Salt March) ระยะทาง 241 ไมล์ ในเวลา 24 วัน (12 มีนาคม - 6 เมษายน 1930) ระหว่างทางมีผู้เข้าร่วม นับหมื่นคน พิธีสําคัญเริ่มขึ้นเมื่อคานธีหยิบ เกลือขึ้นมาพร้อมกับประกาศเจตนารมณ์แล้ว ปล่อยให้เกลือร่วงลงพื้น อันเป็นสัญลักษณ์ว่า ได้ทําลายกฎหมายเกลือของอังกฤษ -
กรีซถูกเยอรมันบุกในสงครามโลกครั้งที่ 2
ยุทธการที่กรีซ หรือชื่อรู้จักในเยอรมันคือ ปฏิบัติการมารีทเป็นปฏิบัติการบุกครองราชอาณาจักรกรีซ โดย ฟาสซิสต์อิตาลี และ นาซีเยอรมนี (เมษายน 1941) ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง ยุทธการเริ่มต้นจากรุกรานกรีซในเดือนตุลาคม 1940 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามอิตาลี-กรีซ และต่อเนื่องโดยการบุกครองโดยเยอรมนีในเดือน เมษายน 1941 ยุทธการจบลงด้วยการที่พลร่มเยอรมนียกพลขึ้นบกที่เกาะครีต (พฤษภาคม 1941) ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรแพ้ในกรีซแผ่นดินใหญ่ ยุทธการยังเป็นหนึ่งในยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการทัพบอลข่าน ของเยอรมนี -
อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ และแบ่งประเทศเป็นอินเดียและปากีสถาน
ในช่วงก่อนที่อินเดียและปากีสถานจะได้รับเอกราชนับตั้งแต่แยกจากกัน ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย-ปากีสถานก็ยังไม่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในแคชเมียร์ โดยหลังได้เอกราชไม่กี่สัปดาห์ ทั้งสองประเทศก็เริ่มสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงหุบเขาแคชเมียร์ ถือเป็นความขัดแย้งที่ยังหาทางออกไม่ได้มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นผลพวงจากความไม่ลงตัวในการแบ่งแยกประเทศ -
Period: to
อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ และแบ่งประเทศเป็นอินเดียและปากีสถาน
-
มหาตมะ คานธีถูกลอบสังหาร
ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1948 สิริอายุ 78 ปี ภายในพื้นที่ของบ้านพิรลา (ปัจจุบันคือคานธีสมฤตี) แมนชั่นขนาดใหญ่ในนิวเดลี ผู้ก่อเหตุคือนถูราม โคฑเส ชายวรรณะจิตปวันพรหมิณจากปูเณ นักลัทธิชาตินิยมฮินดูสมาชิกราษฏรียสวยัมเสวักสงฆ์ กองกำลังกึ่งกองทัพขวาจัดฮินดูและสมาชิกฮินดูมหาสภา โคฑเสมองว่าคานธีให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถานมากเกินไปในระหว่างการแบ่งอินเดียซึ่งเกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้า -
อินเดียประกาศใช้รัฐธรรมนูญและกลายเป็นสาธารณรัฐ
รัฐธรรมนูญอินเดีย เป็นกฎหมายสูงสุดของอินเดีย ถือเป็นรัฐธรมนูญแห่งชาติที่เขียนมือที่ยาวที่สุดในโลก -
สงครามอินเดีย-จีน
เป็นสงครามระหว่างจีนและอินเดียที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ข้อพิพาทชายแดนหิมาลัยเป็นสาเหตุหลักสำหรับการทำสงคราม แต่ก็มีสาเหตุอื่น ๆ ในพ.ศ. 2502 เกิดการก่อจลาจลในทิเบต อินเดียได้สนับสนุนทิเบตและให้ที่ลี้ภัยแก่องค์ดาไลลามะ อินเดียเริ่มมีนโยบายวางทหารตามแนวชายแดนรวมทั้งอีกหลายทางตอนเหนือของถนนสายเมคมาฮอน ส่วนทางทิศตะวันออกของสายควบคุมโดยจีน -
ยุคหลังเอกราช
อินเดียกลายเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลก มีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีโลก -
Period: to
ยุคหลังเอกราช
-
อินเดียทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรก
วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2567. “อินเดีย” ประกาศความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ในโครงการ “พุทธะแย้มสรวล” เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1974 (พ.ศ. 2517) ทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ 6 ในโลกที่จุดชนวนอาวุธนิวเคลียร์ต่อจากสหรัฐฯ โซเวียต สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และจีน -
การปฏิวัติกรีซและการล้มล้างกษัตริย์
สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์ได้แก่มุมมองสมภาคนิยมและการต่อต้านระบบชนชั้น การกำจัดระบบคู่แข่งที่อาจต่อต้านระบบอื่นที่จะเข้ามา การต่อต้านสถาบันที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและการสืบทอดแบบกรรมพันธุ์ ความเข้าใจในเรื่องพระมหากษัตริย์ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เข้ากับยุคสมัยหรือล้าหลัง และการต่อต้านกษัตริย์หรือราชวงศ์จำเพาะในอาณานิคมและอดีตอาณานิคมหลายแห่ง การเลิกล้มอิทธิพลกษัตริย์ในรัฐอาณานิคมถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้เอกราช ในราชอาณาจักรเครือจักรภพหลายแห่ง -
กรีซเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
1981 กรีซเข้าเป็นสมาชิก สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิกในปี 1986. 1987 ออก Single Act เพื่อพัฒนา EEC ให้เป็นตลาดร่วมหรือตลาดเดียวใน 1 มกราคม 1993 และเรียกชื่อใหม่ว่าประชาคมยุโรป (European Community) หรือ EC. 1992 ลงนามสนธิสัญญามาสทริชท์ (Treaty of Mastricht) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป -
นโยบายเศรษฐกิจเปิดตลาดเสรีของอินเดีย
นโยบายเศรษฐกิจของอินเดีย
อินเดียประกาศแนวทางการพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิด “New India” เมื่อปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับการที่อินเดียกำลังก้าวสู่ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจมูลค่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 จะมีจำนวนประชากรอายุ 15 – 34 ปี มากถึง 480 ล้านคน โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากนโยบายสำคัญ -
อินเดียทดสอบนิวเคลียร์อีกครั้งที่ Pokhran
หลังจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์คร้ังที่สอง (โปคราน 2) ในปี1998ก็เป็นที่ประจจักษท์ ทั่วกันว่า อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ที่มาของการครอบครองอาวุธ
นิวเคลียร์เริ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อเนห์รูกบาบาตกลงน้อยๆ เนห์รูเล็งเห็นว่านิวเคลียร์
จะเป็นแหล่งพลงังานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ
เนห์รูซึ่งนอกจากจะช่วยขจัดความยากจนในอินเดียแล้วยังจะช่วยกอบกู้ศักดิ์ศรีของอินเดีย
เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษมาเกือบ 190 ปี -
กรีซเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่
กีฬาโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่สำคัญ มีทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬากว่าพันคนเข้าร่วมการแข่งขันในหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาวห่างกันทุก 2 ปี -
การโจมตีมุมไบโดยกลุ่มก่อการร้าย
เหตุการณ์ 26/11 เป็นระลอกการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โดยสมาชิก 10 รายของลัชกาเรไตบา กลุ่มก่อการร้ายอิงศาสนาอิสลามที่ตั้งในปากีสถาน ก่อการกราดยิงหมู่และวางระเบิด 12 ครั้งในระยะเวลา 4 วัน ทั่วนครมุมไบ ประเทศอินเดีย -
นเรนทรา โมดี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย
เป็นนักการเมืองชาวอินเดียซึ่งเป็นประธานมนตรีอินเดียตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2014 หลังจากที่พรรคภารตียชนตาที่เขาเป็นหัวหน้า ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี 2014 -
การยกเลิกสถานะพิเศษของแคว้นจัมมูและแคชเมียร์
การตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาลอินเดีย ในการยกเลิกสถานะพิเศษของแคว้นจัมมูและแคชเมียร์ ซึ่งถูกกำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย โดยไม่มีการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจัมมูและแคชเมียร์ และเกิดขึ้นท่ามกลางการปิดกั้นเสรีภาพและการสื่อสารของพลเรือนอย่างสิ้นเชิง มีแนวโน้มทำให้ความตึงเครียดที่เป็นอยู่เลวร้ายลง ทำให้เกิดความแปลกแยกกับประชาชนของแคว้น เสี่ยงจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเดีย -
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอินเดีย
เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พบเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2563 เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดียตัวนี้มีชื่อว่า “B.1.617” จากการศึกษาทางทฤษฎีพบว่าการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์อินเดีย -
อินเดียพัฒนาทางเศรษฐกิจและเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก
เศรษฐกิจของอินเดีย มีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี พ.ศ. 2533 เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติและการลงทุนจากต่างประเทศ อินเดียเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าเกิดใหม่โดยมีจำนวนประชากรมหาศาล เช่นเดียวกับทรัพยากรทางธรรมชาติและบุคลากรมืออาชีพมีทักษะที่เพิ่มมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้ทำนายว่าในปี พ.ศ. 2563อินเดียจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก -
Period: to
อินเดียพัฒนาทางเศรษฐกิจและเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก