Pexels pixabay 159862

เส้นเวลาพลวัตแห่งประวัติศาสตร์โลก -K.Karn

  • 5000 BCE

    ยุคหินเก่า (Paleolithic Period)

    ยุคหินเก่า (Paleolithic Period)
    ลักษณะสำคัญ: มนุษย์ดำรงชีวิตแบบเร่ร่อนไปในบริเวณต่าง ๆ ล่าสัตว์และเก็บของป่า อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ วัฒนธรรม: การสร้างเครื่องมือจากหิน ภาพวาดบนผนังถ้ำ เช่น ภาพสัตว์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ วิทยาการสำคัญ: การใช้เครื่องมือหินอย่างง่าย เช่น ขวานหิน การค้นพบไฟและใช้ไฟในการทำอาหารและป้องกันสัตว์ร้าย ภาพประกอบ : ศิลปะยุคหินเก่าในถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน
  • Period: 5000 BCE to 3020 BCE

    ยุคหิน (Stone Age)

    เหตุที่ได้ชื่อว่า "ยุคหิน" เนื่องจากมนุษย์เริ่มพัฒนาเครื่องมือจากหิน โดยแบ่งเป็นยุคออกเป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่
  • Period: 5000 BCE to 680 BCE

    ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistorical Periods)

    ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือช่วงเวลาของมนุษยชาติก่อนที่จะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์มนุษย์ การแบ่งยุค:
    ยุคหิน (Stone Age)
    ยุคสำริด (Bronze Age)
    ยุคเหล็ก (Iron Age)
  • 4000 BCE

    ข้อมูลเพิ่มเติมยุคก่อนประวัติศาสตร์

    ข้อมูลเพิ่มเติมยุคก่อนประวัติศาสตร์
  • 4000 BCE

    ยุคหินกลาง (Mesolithic Period)

    ยุคหินกลาง (Mesolithic Period)
    ช่วงเวลา: ประมาณ 10,000 – 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ลักษณะสำคัญ: เป็นช่วงที่มนุษย์มีลักษณะการดำรงชีวิตในยุคเปลี่ยนผ่านระหว่างการล่าสัตว์-เก็บของป่า มนุษย์รู้จักการเลี้ยงสัตว์เพื่อช่วยในการล่าสัตว์ เช่น สุนัข และเริ่มมีการเพาะปลูกพืช แต่การดำรงชีวิตหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ วิทยาการสำคัญ: มนุษย์พัฒนาเครื่องมือให้มีขนาดเล็กลงและซับซ้อนขึ้น เช่น ธนู ลูกศร ภาพประกอบ : เครื่องมือยุคหินกลางแอฟริกา (MSA) จากถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้
  • 3800 BCE

    ยุคหินใหม่ (Neolithic)

    ยุคหินใหม่ (Neolithic)
    ระะยะเวลา: ประมาณ 8,000 - 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ลักษณะสำคัญ: มนุษย์เริ่มทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพระยะยาว ตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวรที่ราบลุ่มแม่น้ำ/พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เกิดการรวมกลุ่มเป็นหมู่บ้าน มีการสร้างบ้านเรือนจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดิน ไม้ และการฝังศพที่สะท้อนถึงพิธีกรรมทางศาสนา วิทยาการสำคัญ: เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรม การเพาะปลูกพืชเพื่อยังชีพ เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ เช่น แกะ แพะ วัว การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา ภาพประกอบ : เครื่องมือหินขัด
  • 3800 BCE

    ชุมชนในยุคหินใหม่ (AI-generated จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์)

    ชุมชนในยุคหินใหม่ (AI-generated จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์)
    ชุมชนเริ่มจากกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำและแหล่งอาหาร บ้านเรือนถูกสร้างจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น หิน ดินเหนียว และไม้ วางเรียงกันอย่างไม่เป็นทางการ แต่มีการแบ่งพื้นที่สำหรับการเก็บเกี่ยวและเลี้ยงสัตว์ สิ่งที่โดดเด่นคือการเริ่มมีการทำการเกษตร ทำให้ชุมชนมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานบ่อย ๆ ขอบคุณที่มาจาก Page Facebook : iURBAN
  • 3500 BCE

    ชนเผ่าสุเมเรียนหรือซูเมอร์

    ชนเผ่าสุเมเรียนหรือซูเมอร์
    การเพาะปลูกและชลประทาน
    การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม
    สถาปัตยกรรมซิกกูแรต
    ระบบคณิตศาสตร์ฐาน 60
  • 3500 BCE

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
    เกิดขึ้นประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส (บริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน) เมโสโปเตเมียมีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาเมือง การเขียน (เช่น อักษรรูปลิ่มหรือคูนิฟอร์ม) ระบบกฎหมาย ศาสนา และเทคโนโลยีการเกษตร อารยธรรมนี้ประกอบไปด้วยหลายเมืองรัฐ เช่น สุเมเรียน อัคคาเดียน บาบิโลเนียน และอัสซีเรียน ซึ่งต่างมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
  • Period: 3500 BCE to 2000 BCE

    ชนเผ่าสุเมเรียนหรือซูเมอร์

  • Period: 3482 BCE to 539 BCE

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

    เริ่มต้น: ประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส ล่มสลาย: ประมาณ 539 ปีก่อนคริสต์ศักราช เนื่องจากการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย
  • 3400 BCE

    ปวงเทพแห่งปฐมอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

    ปวงเทพแห่งปฐมอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
  • 3400 BCE

    ภูมิปัญญาในดินแดนเมโสโปเตเมีย

    ภูมิปัญญาในดินแดนเมโสโปเตเมีย
  • Period: 3200 BCE to 476

    ยุคโบราณ (Ancient history)

    ยุคโบราณ โดยทั่วไปเริ่มต้นตั้งแต่ มนุษย์เริ่มต้นของการเขียน บันทึก ประดิษฐ์ตัวอักษร จนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก เริ่มต้น : ประมาณ 3200 ปีก่อนคริสตกาล (แตกต่างกันตามภูมิภาค)
    สิ้นสุด: ประมาณ ค.ศ. 476 (การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก) อารยธรรมสำคัญ:
    เมโสโปเตเมีย (ซูเมอร์, บาบิโลน, อัสซีเรีย)
    อียิปต์โบราณ
    กรีกโบราณ
    โรมัน
    จีนโบราณ
    อินเดียโบราณ
    เปอร์เซีย
  • Period: 3000 BCE to 600 BCE

    ยุคโลหะ (Metal Age)

    ยุคโลหะเป็นช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งเกิดขึ้นหลังยุคหินและแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญ ยุคโลหะแบ่งออกเป็นสองยุคหลัก คือ ยุคสำริดและยุคเหล็ก ดังนี้: ยุคสำริด (Bronze Age) และ ยุคเหล็ก (Iron Age) *การเปลี่ยนผ่านยุคสมัยไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก
  • 2999 BCE

    ยุคสำริด (Bronze Age)

    ยุคสำริด (Bronze Age)
    ระยะเวลา: ประมาณ 3000 - 1200 BCE (แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค) ลักษณะสำคัญ: การผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก เรียกว่า "สำริด" การปกครอง: มีการสร้างเมืองขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างทางสังคม เช่น **เมืองอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณเริ่มเกิดขึ้นในช่วงนี้* ความเชื่อ: มีการสร้างศาสนาที่ชัดเจนและพิธีกรรมทางศาสนา การบูชาเทพเจ้าและวิญญาณ วัฒนธรรม: เกิดชนชั้น(หาผู้เชี่ยวชาญในการผลิตโลหะ) ระบบการค้าขยายเพื่อหาแหล่งวัตถุดิบ วิทยาการ: การพัฒนาเทคโนโลยีการชลประทาน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรและการทำโลหะ
  • 2500 BCE

    ชนเผ่าอัสซีเรียน

    วิทยาการสำคัญ: กองทัพที่แข็งแกร่ง: อัสซีเรียนมีกองทัพที่เป็นระบบมากที่สุดในยุคโบราณ ใช้เทคโนโลยีทางทหาร เช่น รถม้าและอาวุธเหล็ก
    ห้องสมุดแห่งนีนะเวห์ (Library of Nineveh): ห้องสมุดขนาดใหญ่ที่รวบรวมจารึกทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจำนวนมาก
  • Period: 2500 BCE to 609 BCE

    ชนเผ่าอัสซีเรียน

  • 2000 BCE

    ชนเผ่าอมอไรต์หรือบาบิโลน

    ชนเผ่าอมอไรต์หรือบาบิโลน
    อพยบจากซีเรียและยึดครองเผ่าสุเมเรียน มีการพัฒนาระบบการปกครองแบบใช้หลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน เริ่มต้นการปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี และจัดทำประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบี
  • Period: 1894 BCE to 539 BCE

    ชนเผ่าอมอไรต์หรือบาบิโลน

  • 1600 BCE

    อารยธรรมกรีกโบราณ

    อารยธรรมกรีกโบราณ
  • 1600 BCE

    อารยธรรมกรีก

    อารยธรรมกรีก
    ยุคกรีกมืด
    ช่วงเวลา: ประมาณ 1100–800 BCE
    หลังการล่มสลายของอารยธรรมไมซีนี อารยธรรมกรีกเข้าสู่ยุคมืด ซึ่งมีการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ยุคกรีกคลาสสิก
    ช่วงเวลา: ประมาณ 500–323 BCE
    เป็นยุคที่อารยธรรมกรีกเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะในด้านศิลปะ ปรัชญา การปกครองแบบประชาธิปไตย นครรัฐเอเธนส์เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและการปกครอง ยุคเฮลเลนิสติก
    ช่วงเวลา: 323–31 BCE หลังการเสียชีวิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช กรีกขยายไปทั่วเอเชีย แอฟริกา เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม จนกระทั่งถูกยึดครองโดยโรมันในที่สุด
  • Period: 1600 BCE to 16 BCE

    อารยธรรมกรีกโบราณ (Ancient Greek Civilization)

    อารยธรรมกรีกโบราณ (Ancient Greek Civilization) เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่ทรงอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์โลก มีการพัฒนาในด้านปรัชญา วิทยาศาสตร์ การเมือง และศิลปวัฒนธรรมที่ส่งผลต่ออารยธรรมตะวันตกในยุคต่อมา
  • 1200 BCE

    ยุคเหล็ก (Iron Age)

    ยุคเหล็ก (Iron Age)
    ช่วงเวลา: ประมาณ 1,200 – 600 BCE (แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค) การปกครอง: การปกครองในรูปแบบราชอาณาจักร มีโครงสร้างซับซ้อนมากขึ้น **เช่น เมโสฯ กรีกและโรมัน ความเชื่อ: ความเชื่อในเทพเจ้าและศาสนาหลายเทวนิยม วัฒนธรรม: การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร เช่น ไถเหล็ก เกิดขึ้นของการค้าระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ วิทยาการ: การใช้เหล็กแทนสำริด เครื่องมือมีความแข็งแรงมากขึ้น เทคนิคการถลุงแร่เหล็กและการตีเหล็ก การพัฒนาของการทหารและสงคราม ภาพประกอบ : ชุดเกราะ the Proto-Hittite layers at Kaman-Kalehöyük ประเทศตุรกี
  • 626 BCE

    ชนเผ่าเคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่

    ช่วงเวลา: ประมาณ 626–539 ปีก่อนคริสตกาล
    วิทยาการสำคัญ: การสร้างสวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon): หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (Nebuchadnezzar II)
    การฟื้นฟูเมืองบาบิโลน: ทำให้บาบิโลนกลับมาเป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง
  • Period: 626 BCE to 539 BCE

    ชนเผ่าเคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่

  • Period: 600 BCE to

    ยุคประวัติศาสตร์ (Historical periods)

    ยุคประวัติศาสตร์ไม่ได้เริ่มต้นพร้อมกันทั่วโลก แต่มีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและอารยธรรม โดยทั่วไปเราถือว่ายุคประวัติศาสตร์เริ่มต้นเมื่อมนุษย์เริ่มมีการบันทึกเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร
  • 550 BCE

    จักรวรรดิอะคีเมนิด : จักรวรรดิเปอร์เซีย

    ช่วงเวลา: 550–330 ปีก่อนคริสตกาล
    ผู้ก่อตั้ง: ไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
    วิทยาการสำคัญ:
    การปกครองแบบรวมศูนย์: ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ที่แบ่งจักรวรรดิออกเป็นแคว้น โดยมีผู้ปกครองท้องถิ่น และส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุม
    ถนนหลวงแห่งเปอร์เซีย : ถนนยาวที่เชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ทำให้การค้าและการเดินทางมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    ชาวเปอร์เซียให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา เช่น การฟื้นฟูวิหารของชาวยิวในเยรูซาเล็ม
    ภาษาราชการ : ใช้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการเพื่อให้การสื่อสารทั่วจักรวรรดิมีประสิทธิภาพ
  • 539 BCE

    จักรวรรดิเปอร์เซีย

    จักรวรรดิเปอร์เซีย
  • 539 BCE

    จักรวรรดิเปอร์เซีย

    จักรวรรดิเปอร์เซีย
    ช่วงเวลา: 539–331 ปีก่อนคริสตกาล
    วิทยาการสำคัญ: การปกครองที่ยืดหยุ่น: แม้ว่าชาวเปอร์เซียจะพิชิตเมโสโปเตเมีย แต่พวกเขายังคงอนุญาตให้ผู้ปกครองท้องถิ่นปกครองดินแดนของตนภายใต้การกำกับดูแล
    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: มีการสร้างถนนและระบบการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงดินแดนต่างๆ ในจักรวรรดิ
  • Period: 539 BCE to 311 BCE

    จักรวรรดิเปอร์เซีย (Persians)

  • 500 BCE

    ปรัชญา : วิทยาการสำคัญของอารยธรรมกรีก

    ปรัชญา : วิทยาการสำคัญของอารยธรรมกรีก
    โสเครตีส (Socrates): เป็นนักปรัชญาที่ส่งเสริมการตั้งคำถามและหาความจริง
    เพลโต (Plato): ผู้ก่อตั้งสำนักอคาเดมี (Academy) และพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เหนือกว่าประสบการณ์ทางกายภาพ
    อริสโตเติล (Aristotle): พัฒนาทฤษฎีที่ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ และการเมือง ข้อมูลเพิ่มเติม
    https://youtu.be/OMCCyC8w5Dc?si=A6nQyRssqKy6msW2
  • 247 BCE

    จักรวรรดิพาร์เธียน : จักรวรรดิเปอร์เซีย

    ผู้ก่อตั้ง: อาร์เซสที่ 1 (Arsaces I)
    วิทยาการสำคัญ: การสู้รบด้วยม้าและธนู (Parthian shot): ชาวพาร์เธียนเป็นนักรบม้าที่เก่งกาจ มีเทคนิคยิงธนูขณะขี่ม้าและถอยหนีซึ่งสร้างความได้เปรียบในการรบ
    การเป็นสะพานเชื่อมการค้าเส้นทางสายไหม: พาร์เธียนเป็นผู้ควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญระหว่างจีนกับโลกตะวันตก ทำให้จักรวรรดิร่ำรวยจากการค้าขาย
    การปกครองแบบกึ่งกระจายอำนาจ: ผู้ปกครองท้องถิ่นมีอำนาจมากขึ้นแต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกษัตริย์พาร์เธียน
  • 224

    จักรวรรดิซาเซเนียน : จักรวรรดิเปอร์เซีย

    ผู้ก่อตั้ง: อาร์แดชิเรสที่ 1
    วิทยาการสำคัญ: ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism): เป็นศาสนาหลักของจักรวรรดิและมีอิทธิพลต่อการปกครองและวัฒนธรรม
    สถาปัตยกรรมและศิลปะ: ซาเซเนียนเป็นที่รู้จักในเรื่องสถาปัตยกรรมและการสร้างโครงสร้างสำคัญ เช่น พระราชวัง ฟอร์ท และสะพาน
    ระบบการจัดการน้ำ (Irrigation systems): พัฒนาระบบชลประทานที่ซับซ้อนเพื่อสนับสนุนการเกษตรและการอยู่รอดของเมืองต่างๆ
    กฎหมายและการบริหาร: ซาเซเนียนมีระบบกฎหมายที่พัฒนาอย่างดีและระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิ
  • Period: 224 to 651

    จักรวรรดิซาเซเนียน : จักรวรรดิเปอร์เซีย

  • Period: 476 to 1492

    ยุคกลาง (Middle Ages)

    ช่วงเวลา: the 5th to the 15th century.
    เริ่มต้น: ประมาณ ค.ศ. 476 (การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก)
    สิ้นสุด: ประมาณ ค.ศ. 1453 (การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์) หรือ ค.ศ. 1492 (การค้นพบทวีปอเมริกา) การแบ่งช่วง:
    ยุคมืด (Dark Ages): ค.ศ. 476-1000
    ยุคกลางตอนต้น (Early Middle Ages): ค.ศ. 500-1000
    ยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages): ค.ศ. 1000-1300
    ยุคกลางตอนปลาย (Late Middle Ages): ค.ศ. 1300-1453/1492 : The Renaissance , The Enlightenment and the Age of Discovery.
  • 651

    การล่มสลายของจักรวรรดิเปอร์เซีย

    จักรวรรดิอะคีเมนิดล่มสลายเมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) พิชิตในปี 330 ปีก่อนคริสตกาล
    จักรวรรดิพาร์เธียนล่มสลายเมื่อถูกซาเซเนียนโค่นล้มในปี ค.ศ. 224
    จักรวรรดิซาเซเนียนล่มสลายเมื่อถูกพิชิตโดยชาวมุสลิม ในปี ค.ศ. 651 ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและศาสนาครั้งใหญ่ในดินแดนเปอร์เซีย
  • Period: 1493 to

    ยุคสมัยใหม่ (Modern Age)

    ระยะเวลา: คริสต์ศตวรรษที่ 18 - ปัจจุบัน
    ครอบคลุมเหตุการณ์สำคัญเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2