History of science curriculum in Thailand

By pp_taan
  • พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

    พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • การจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education)

    การจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education)
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจาริยางกูร) เรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น 1 เล่ม ชุดมูลบรรพกิจ เพื่อใช้เป็นบทหลักสูตรวิชาชั้นต้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแบบเรียนหลักสูตรและการสอบไล่ปี
  • กระทรวงศึกษาธิการ

    กระทรวงศึกษาธิการ
    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการก่อตั้ง กระทรวงธรรมการ ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ กระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่วังจันทรเกษมจนถึงปัจจุบัน
  • พระราชบัญญัติประถมศึกษา

    พระราชบัญญัติประถมศึกษา
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ขึ้น เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ทุกคนต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 14 ปี บริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2464
  • แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2475

    ในแผนการศึกษาฉบับนี้เน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือจริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดให้ศึกษาประถมบริบูรณ์เรียน 6 ชั้น คือ ชั้นประถมสามัญ 4 ชั้น ชั้นประถมวิสามัญ 2 ชั้น ส่วนการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมต้นและมัธยมปลาย ให้เรียนตอนละ 4 ปี สำหรับมัธยมปลายสามัญจะมีการสอนแผนกอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
  • แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2479

    ในสมัย พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีแผนการศึกษาฉบับนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผน ปีพ.ศ.2475 เนื่องจากว่า
    แผนการศึกษาฉบับปี 2475 น้ันมีระยะเวลาในการศึกษาสามัญยาวเกินสมควร คือต้องเรียนสายสามัญ 12 ปีและยังต้องเข้าเรียนต่อสายวิสามัญอีก แผนการศึกษา 2479 นี้กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษาเพียง 4 ปี ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการเร่งรัดให้ประชาชนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับโดยเร็ว
    โดยปรับปรุงใหเ้หมาะสมกับกาลสมัยมากข้ึน แต่ยังคงเน้นการศึกษาทั้ง 3 ด้านเหมือนเดิม
  • แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2494

    สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในแผนนี้ได้เพิ่มหัตถกรรม
    คือ การฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพเข้ามาอีกรวมเป็น 4 ส่วน จึงเป็นองค์สี่แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา
    (ได้อิทธิพลปรัชญาการศึกษาแบบอเมริกัน) และไดม้ีการกล่าวถึงการศึกษาพิเศษและการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ยกฐานะกองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญศึกษาขึ้นเป็นกรมประชาศึกษาเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ นอกจากนี้ ยัมีความพยายามขยาย
    การศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปีอีกด้วย
  • แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2503

    สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี แผนนี้ได้นำเอา แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 มาปรับปรุงใหม่ เพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคล โดยให้สอดคล้องกับการปกครองประเทศ แผนนี้ร่างโดยคณะกรรมการ 77 คนจากหลายสาขาอาชีพโดยมีหม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาในขณะนั้นเป็นประธาน จากแผนฯ นี้ได้ขยายการศึกษา
    ภาคบังคับเป็น 7 ปี เน้นให้การศึกษา 4 ส่วน และได้จัดระบบการศึกษา
    เป็น 7:3:2 (ประถม 7 ปี (ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 2 ปี) แผนนี้มีอายุการใช้ยาวนานที่สุดถึง 16 ปี
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509)

    แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 1 ได้เน้นหนักด้านการเร่งรัดพัฒนาการศึกษาในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอาชีวศึกษา ซึ่งประเทศไทยยังขาดผู้มีความรู้ระดับกลาง และขาดกำลังคนในสาขาวิชาต่างๆ เช่นวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เน้นการพัฒนาการศึกษาภาคบังคับให้แก่ประชาชน สร้างกำลังแรงงานในสายอาชีพ เน้นการผลิตครู อาจารย์ จะเห็นได้ว่าหลักสำคัญในแผนฯ ฉบับนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างทั่วถึง
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514)

    ในแผนพัฒนาการศึกษาฉบับนี้ ได้มีการเพิ่มในเรื่องของสังคม มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาการศึกษา เนื่องจากผลการประเมินแผนฯ ด้านการศึกษาของแผนการศึกษาที่ 1 พบว่า มีเยาวชนจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเข้ารับการศึกษา ส่วนการผลิตกำลังคนออกมาจากสถาบันอุดมศึกษา ก็ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม แผนนี้มุ่งปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ทั้งในเรื่องหลักสูตร แบบเรียน อาคารเรียน คุณวุฒิครู ส่งเสริม การศึกษาในโรงเรียนราษฎร์ มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา และประเด็นสำคัญคือ การจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับความต้องการกำลังคน
  • แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2512

    สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี มีพระบราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรให้คณะบุคคลหรือเอกชนได้มีส่วนร่วมในการให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดาในระดับชั้นอุดมศึกษาได้ด้วยจึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมความใน 23 แห่งประกาศเรื่องแผนการศึกษาแห่งชาติเสียใหม่ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคมพ.ศ.2503 และให้ใช้ความต่อไปน้ีแทน 23 การจัดให้มีสถานศึกษานั้นรัฐใช้ว้ิธีแบ่งแรงคือรัฐจัดเองบ้างและส่งเสริมให้คณะบุคคลหรือเอกชนจัดบ้าง ”ทั้งนี้ตังแต่วันที่20 มกราคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นไป
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519)

    ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพและการขยายปริมาณการศึกษา ตลอดจนการผลิตกำลังคนระดับต่างๆ ให้สนองความต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากการดำเนินการในแผนการศึกษาที่ 2 นั้น ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นในแผนพัฒนาการศึกษานี้จึงมุ่งแก้ไขปัญหาจากแผนพัฒนาการศึกษาที่ 2 โดยจัดการศึกษาอย่าง ประหยัด และเกิดประโยชน์มากที่สุด จะต้องสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย เน้นหนักในการพัฒนาการศึกษาทุกประเภท ทุกระดับ
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology

    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology
    ก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งดูแลเกี่ยวกับ ด้านส่งเสริม ค้นคว้าวิจัยหลักสูตร วิธีสอน. ด้านการส่งเสริม พัฒนาและฝึกอบรมครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา. ด้านการค้นคว้า ปรับปรุงเอกสาร สื่อและอุปกรณ์การศึกษา. ด้านการประเมินมาตรฐาน. การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษา. การวิจัยด้านการศึกษา เป็นต้น
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524)

    ได้ยึดถือเอาความมั่นคงปลอดภัยของชาติเป็นหลักเบื้องต้นในการพัฒนา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประเทศอย่างมาก ดังนั้น นโยบายการจัดการศึกษาจึงต้องมุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำของบุคคลในทางเศรษฐกิจ
  • แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2520

    สมัยพลเอกเกรียงศักด์ิ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีในแผนนี้ต้องการปรับปรุงแผนการศึกษาให้สนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสังคม เพื่อสามารถอบรมพลเมืองให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จัดระบบการศึกษาเป็น 6:3:3 โดยได้ลดช้ันประถมลง 1 ปีและเพิ่มชั้นมัธยมปลาย 1 ปี เท่าระบบปัจจุบนั แต่เวลาเรียนยังเป็น 12 ปี แผนการศึกษาฉบับบนี้ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นพิเศษ แผนการศึกษาแห่งชาติ2520 นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารประถมศึกษาคร้ังใหญ่
  • หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521

    หลักสูตรประถมศึกษา เรียนเกี่ยวกับกลุ่มทักษะ (ภาษาไทยและคณิตศาสตร์) กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ
  • หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524

    รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีการแยกรายวิชาเป็น วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี และวิชาชีววิทยา
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)

    เน้นเร่งรัดพัฒนาการศึกษาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ มุ่งเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ ความคิด และความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยธรรม คุณธรรม ตลอดจนมีพลานามัยสมบูรณ์
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534)

    มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความคิด คุณธรรม พลานามัยที่สมบูรณ์ มีทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  • หลักสูตรประถมศึกษา หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)

    ระดับประถมศึกษา มีการเพิ้มทักษะเครื่องมือการเรียนรู้
    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีการลงเรียนวิชาบังคับแกน บังคับเลือก เลือกเสรี และกิจกรรม
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539)

    เน้นให้พลเมืองมีคุณธรรม จริยธรรม ปัญญา และมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีความรู้และทักษะใน การประกอบอาชีพ สามารถพึ่งตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุขภายใต้การปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สิ่งที่แตกต่างจากแผนพัฒนาการศึกษา 6 อย่างเห็นได้ชัด คือการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรในแผนนี้จะเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากร การประกอบอาชีพ ต่างๆ เน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การศึกษาเพื่ออาชีพ รวมไปถึงระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาด้วย
  • แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2535

    ประกาศโดยนายอานันท์ ปันยารชุม นายกรัฐมนตรี แผนนี้ได้ปรุงมาจากแผนการศึกษา พ.ศ.2520 เพื่อให้ระบบการศึกษาสนองตอบความต้องการ
    และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนในสังคมไทยอย่างรวดเร็ว และสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการศึกษาในระบบ 6:3:3 โดยมุ่งจัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้านอย่างสมดุลและกลมกลืนกัน คือ ด้านปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย และด้านสังคม ตลอดจนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและสามารถพึ่งตนเองได้
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)

    การเน้นสร้าง ความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในประชาคมโลกบนฐานแห่งความเป็นไทย
  • พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2541

    มาตรา ๖ ให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะ ปฏิวตัิ ฉบบัที่ ๔๒ ลงวนัที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกโดยย่อว่า “สสวท.”
    มาตรา ๗ ให้สถาบันเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและ กฎหมายอื่น
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

    หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 23 กล่าวว่า การจัดการศึกษาอบรม ต้องเน้นความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสังคม ประวัติศาสตร์ ทักษะเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย ตลอดจนความรู้และทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ และเน้นการใช้ภาษาไทย
  • หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544

    สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหา แนวความคิดหลักวิทยาศาสตร์ และกระบวนการ สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
    สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่สาระที่ 5 : พลังงาน สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ และสาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)

    มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เก่ง ดี มีสุข โดยพัฒนาคนอย่างรอบด้าน สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิ ปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545

    มีการเปลี่ยนแปลงบางมาตรา เช่น มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545”, มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523, มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
    “การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
  • พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ๒)

    มีการเพิ่มเติมจาก พ.ศ.๒๕๔๑ ในมาตรา ๗ ข้อที่ ๑. เน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก ๒. ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการพัฒนาบุคลากร ๓. ค้นคว้า วิจัย พร้อมจัดทำแบบเรียน ๔. ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพและการประเมินมาตรฐานการศึกษา ๕. พัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ตลอดจนส่งเสริมการผลิตครู ๖. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่กระทรวง ทบววง กรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
  • หลักสูตรแกนกลางขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ.2551

    สิ่งที่แตกต่างจากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 คือ กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตร สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    เพื่อเป็นภาพรวมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความชัดเจนมากขึ้นสำหรับสถานศึกษาทุกแห่งใช้เป็นกรอบทิศทางในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่หลักสูตรแกนกลางได้กำหนดไว้
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 11 ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 – 2559)

    ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนา การศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2552 – 2559)

    เน้นศึกษาสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ออกแบบการศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของ ความสมดุล พอดี รู้จักพอประมาณ มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ ยั่งยืน
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564)

    มีหลักการสำคัญคือ “ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม
  • แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579

    “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21"
  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)

    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เปลี่ยนจาก 8 สาระ เป็น 4 สาระ ดังนี้ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ และสาระที่ 4 เทคโนโลยี
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562

    มีการเปลี่ยนแปลงมาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ “มาตรา ๓๒/๑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด