Img 6817

ราชวงศ์จีน

  • 2100 BCE

    ราชวงศ์เซี่ย

    ราชวงศ์เซี่ย
    ปกครองจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อน พ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานซีในปัจจุบัน ใกล้แม่น้ำหวง กษัตริย์เซี่ยองค์แรกคือ พระเจ้าอวี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซี่ยนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป
  • Period: 2100 BCE to 1600 BCE

    ราชวงศ์เซี่ย

  • 1600 BCE

    ราชวงศ์ซาง

    ราชวงศ์ซาง
    ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1057-503 ปีก่อน พ.ศ.) ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์
  • Period: 1600 BCE to 1046 BCE

    ราชวงศ์ซาง

  • 1046 BCE

    ราชวงศ์โจว

    ราชวงศ์โจว
    นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
  • 1046 BCE

    ราชวงศ์โจวตะวันตก

    ราชวงศ์โจวตะวันตก
    เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า
  • Period: 1046 BCE to 256 BCE

    ราชวงศ์โจว

  • Period: 1046 BCE to 771 BCE

    ราชวงศ์โจวตะวันตก

  • 770 BCE

    ยุคชุนชิว

    ยุคชุนชิว
    เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า
  • Period: 770 BCE to 256 BCE

    ยุคชุนชิว

  • 221 BCE

    ราชวงศ์ฉิน

    ราชวงศ์ฉิน
    จิ๋นซีฮ่องเต้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว
  • Period: 221 BCE to 206 BCE

    ราชวงศ์ฉิน

  • 206 BCE

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
    เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้น ๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวง)
  • Period: 206 BCE to 220 BCE

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

  • 9

    ราชวงศ์ซิน

    ราชวงศ์ซิน
    ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้น ๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
  • Period: 9 to 23

    ราชวงศ์ซิน

  • 23

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
    ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง
    ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 (พ.ศ. 727) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก
  • Period: 23 to 220

    ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

  • 220

    ยุคสามก๊ก

    ยุคสามก๊ก
    โดยจุดเริ่มต้นของการแตกแยกเป็นสามก๊ก มีเค้ารางเริ่มจากการกบฏของโจรโพกผ้าเหลือง ทำให้ราชวงศ์ฮั่นอ่อนแอลง ตั๋งโต๊ะซึ่งเป็นแม่ทัพชายแดนจึงเข้ามาควบคุมอำนาจในเมืองหลวง นำไปสู่การแตกแยกกันของเหล่าขุนศึกทั่วสารทิศ และทำศึกสงครามต่อเนื่องกันตั้งแต่ ค.ศ. 189 ซึ่งในช่วงเวลานี้ มีเหล่าขุนศึก ขุนพล ขุนนาง และเสนาธิการที่ปรึกษาที่เก่งกล้า สร้างชื่อเสียงในการทำสงครามและการปกครองเป็นจำนวนมาก อาทิ กวนอู เตียวหุย จูล่ง จูกัดเหลียง ลิโป้ ซุนฮก กุยแก กาเซี่ยง สุมาอี้ ซุนเซ็ก จิวยี่ โลซก ลิบอง ฯลฯ
  • Period: 220 to 280

    ยุคสามก๊ก

  • 265

    ราชวงศ์จิ้นตะวันตก

    ราชวงศ์จิ้นตะวันตก
    สุมาเอี๋ยน (司马炎) สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตกใน ค.ศ. 265 (พ.ศ. 808) เข้าแทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ กระทั่งใน ค.ศ. 280 (พ.ศ. 823) ราชวงศ์จิ้นตะวันตกก็ปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น เป็นอันสิ้นสุดยุคสามก๊ก
  • Period: 265 to 317

    ราชวงศ์จิ้นตะวันตก

  • 317

    ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

    ราชวงศ์จิ้นตะวันออก
    การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420 หรือ พ.ศ. 860-963) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่าง ๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้น ๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่าง ๆ
  • Period: 317 to 420

    ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

  • 420

    ราชวงศ์เหนือใต้

    ราชวงศ์เหนือใต้
    หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 316 หรือ พ.ศ. 808-860) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนารัฐเว่ย์เหนือ(北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439 (พ.ศ. 982)
  • Period: 420 to 581

    ราชวงศ์เหนือใต้

  • 518

    ราชวงศ์สุย

    ราชวงศ์สุย
    สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160) (ค.ศ. 581-617)
  • Period: 518 to 617

    ราชวงศ์สุย