Inbound6708358736335724709

สงคราม

  • สาเหตุ​

    ญี่ปุ่นต้องการขยายดินแดนของตนมายังแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออก มาตั้งแต่สมัยอัครมหาเสนาบดี โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (ปลายศตวรรษที่ 16) ญี่ปุ่นเข้ารุกรานเกาหลีในระหว่างปี ค.ศ. 1592 - 1598 แต่ไม่สามารถยึดครองเกาหลีได้
  • ราชวงศ์ชิง

    ราชวงศ์ชิง
    ในปี ค.ศ. 1636 ได้เกิดกบฎชาวนานำโดย หลี่ จื้อเฉิง นำกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิง นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์หมิง หลี่ จื้อเฉิงได้ตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิก่อตั้งราชวงศ์ชุนขึ้นมาแทน ในขณะเดียวกันผู้นำราชวงศ์ชิง จักรพรรดิซุ่นจื้อ ได้เริ่มนำกองทัพรุกรานแผ่นดินจีนและล้อมกรุงปักกิ่ง อู๋ ซานกุ้ย แม่ทัพราชวงศ์หมิงผู้ทรยศ ได้แอบติดต่อกับกองทัพแมนจูลับ ๆ และเปิดประตูป้อมด่านซันไห่ ทำให้กองทัพแมนจูแปดกองธง นำโดยตัวเอ่อร์กุ่น เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จ ราชวงศ์ชุนล่มสลาย
  • ราชวงศ์ชิง

    ราชวงศ์ชิง
    ในปี ค.ศ. 1637 หฺวัง ไถจี๋ โอรสของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้นำกองทัพขับไล่กองทัพราชวงศ์หมิงออกจากคาบสมุทรเหลียวตง และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ ชื่อว่า ราชวงศ์ชิง
  • จักรพรรดิเมจิ

    จักรพรรดิเมจิ
    ญี่ปุ่นได้เผชิญหน้ากับการมาถึงของ "กองเรือดำ" ในบัญชาของพลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี จากสหรัฐอเมริกา เข้ามายังอ่าวเอโดะและบังคับให้รัฐบาลโชกุนเปิดประเทศ การเปิดประเทศนี่เองทำให้รัฐบาลโชกุนเผชิญหน้ากับฝ่ายกบฎ (ฝ่ายหัวสมัยใหม่)จักรพรรดิเมจิเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852 ในตำหนักเล็ก ๆ
  • สา​เหตุ​

    หลังจากนั้นสองศตวรรษผ่านไป ยุคของรัฐบาลเอะโดะ เสื่อมถอยลงเมื่อญี่ปุ่นถูกพลเรือจัตวา เพอร์รี ยกกองเรือปิดอ่าว บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี ค.ศ. 1853 เปิดตลาดทำการค้ากับ สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1854
  • จักรพรรดิเมจิ

    จักรพรรดิเมจิ
    ในปี 1864 ฝ่ายกบฎแคว้นโชชูพยายามบุกวังหลวงจนเกิดเป็นการต่อสู้กับฝ่ายโชกุนจนเสียงปืนใหญ่ดังสนั่นทั่วทั้งวังหลวง ในขณะนั้นเจ้าชายมุตสึฮิโตะในวัย 11 ชันษาตกใจถึงกับเป็นลม การที่รัชทายาทอ่อนแอเช่นนี้ได้สร้างความวิตกต่อตระกูลนากายามะอย่างมาก หลังไซโงกลายมาเป็นพระอาจารย์ ไซโงได้เปลี่ยนสนามของวังหลวงเป็นลานประลอง เขาอบรมสั่งสอนเจ้าชายมุตสึฮิโตะในแบบของนักรบ ทั้งวิชาฟันดาบ, ยิงธนู, ขี่ม้า, มวยปล้ำ เจ้าชายองค์น้อยผู้บอบบางได้เติบใหญ่เป็นนักรบจากการอบรมของไซโง
  • สาเหตุ​

    และมาสิ้นสุดลงเมื่อจักรพรรดิเมจิ ขึ้นครองราชย์ ต่อจากจักรพรรดิโคเมที่สวรรคตในปี ค.ศ. 1867 จักรพรรดิองค์ใหม่ทรงนำญี่ปุ่นไปสู่ความทันสมัยในแบบชาติอุตสาหกรรมตะวันตก มีการส่งนักเรียนไปศึกษาในชาติยุโรปตะวันตกเพื่อให้นำวิชาความรู้กลับมาพัฒนาญี่ปุ่นให้เจริญทัดเทียมกับมหาอำนาจตะวันตก[2]
  • กองทัพบกญี่ปุ่น

    กองทัพบกญี่ปุ่น
    การพัฒนากองทัพบกญี่ปุ่นในช่วงแรกของยุคเมจิ นั้น มีแนวคิดตามแบบของกองทัพบกฝรั่งเศส มีที่ปรึกษาทางทหารของฝรั่งเศสเดินทางไปยังญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.1872 ในปี ค.ศ.1873 ก็เริ่มมีการตั้งโรงเรียนทหารและโรงงานสร้างปืนใหญ่ตามแบบ
  • ความขัดแย้งเหนือคาบสมุทรเกาหลี

    ความขัดแย้งเหนือคาบสมุทรเกาหลี
    โดยมีอิทธิพลของญี่ปุ่นกำลังฉายแสงรุ่งโรจน์ เหล่าขุนนางเสนาบดีเหล่านี้จึงคิดตีจากราชสำนักจีนไปสร้างสัมพันธ์ใหม่กับญี่ปุ่นและชาติตะวันตก หลังจีนพ่ายแพ้ชาติตะวันตกในสงครามฝิ่นและสงครามจีน-ฝรั่งเศส ยิ่งทำให้ประจักษ์ชัดเจนว่า จีนไม่สามารถต่อต้านอิทธิพลของชาติตะวันตกได้เลย 1876 หลังเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างพวกชาตินิยมเกาหลีกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นบีบให้เกาหลีต้องลงนามใน สนธิสัญญากังฮวาที่ให้เกาหลีต้องเปิดตลาดการค้าให้ญี่ปุ่นและชาติอื่นซึ่งเท่ากับว่าเป็นการประกาศให้นานาชาติรับรู้ว่าเกาหลีเป็นอิสระจากจีน
  • ความขัดแย้งเหนือคาบสมุทรเกาหลี

    ความขัดแย้งเหนือคาบสมุทรเกาหลี
    ในฐานะประเทศที่เพิ่งพัฒนาใหม่ ญี่ปุ่นหันไปมองเกาหลี (ราชวงศ์โชซ็อน) ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของญี่ปุ่น ในด้านความมั่นคงเพราะ เกาหลีอยู่ใกล้ชิดกับญี่ปุ่น ถือเป็นจุดที่ชาติอื่นสามารถเข้ามาโจมตีญี่ปุ่นได้ ญี่ปุ่นจึงหวังที่จะส่งทหารเข้าควบคุมคาบสมุทรเกาหลีก่อนเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในอดีต เกาหลีเป็นประเทศราชของจีนมาอย่างยาวนานจนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง ความเสื่อมถอยของราชวงศ์ชิงมีผลกระทบมาถึงเหล่าเสนาบดีของราชวงศ์โชซ็อนซึ่งครองราชย์มายาวนานตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14
  • จักรวรรดิต้าชิง (จีน)

    จักรวรรดิต้าชิง (จีน)
    กองทัพเป่ย์หยาง ถือเป็นกองทหารที่ทันสมัยที่สุดของจีน มีอาวุธที่ถือว่าดีที่สุด แต่ปัญหาสำคัญก็คือ ขวัญกำลังใจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในช่วงเวลาสงครามก็ยังมีการเบียดบังเบี้ยเลี้ยงทหารตลอดเวลาราชวงศ์ชิงในเวลานั้นยังไม่มีกองทัพแห่งชาติ ตั้งแต่ กบฏแมนแดนสันติ กองทัพก็แตกแยกเป็นหลายเผ่าเช่น แมนจู, มองโกล, หุย และกองทัพของชาวฮั่นเองก็มีกองทัพที่เป็นอิสระต่อกันตามภูมิภาคต่าง ๆ
  • กองเรือเป่ย์หยาง

    กองเรือเป่ย์หยาง
    กองเรือเป่ย์หยางเป็น 1 ใน 4 กองเรือที่ทันสมัยกองหนึ่งของราชวงศ์ชิงตอนปลายและถือเป็นกองเรือที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียตะวันออก ในช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งนี้ กล่าวได้ว่า เป็นกองเรือที่ดีที่สุดในเอเชีย และเป็นกองเรือที่ดีที่สุดเป็นอันดับแปดของโลกในช่วงของทศตวรรษที่ 1880 โดยกำลังหลักมีเรือประจัญบานหุ้มเกราะ 2 ลำซึ่งต่อจากเยอรมัน, เรือลาดตระเวนแบบต่าง ๆ 11 ลำ, เรือปืน 6 ลำ, เรือตอร์ปิโด 12 ลำ
  • การปฏิวัติกัปซิน

    ในปี ค.ศ. 1884 พวกนิยมญี่ปุ่นก็พยายามก่อการปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลเกาหลีสายอนุรักษ์ที่นิยมจีน จีนเข้าแทรกแซงโดย นายพลหยวน ซื่อไข่ ส่งทหารจีนเข้ามาช่วยปราบปรามกลุ่มกบฏครั้งนี้อย่างรุนแรง การปราบปรามนี้ไม่เพียงแต่พวกกบฏชาวเกาหลีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังทำให้สถานทูตญี่ปุ่นเกิดเพลิงไหม้ เจ้า
  • กองทัพบกญี่ปุ่น

    กองทัพบกญี่ปุ่น
    ปี ค.ศ.1886 ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเป็นแบบกองทัพบกเยอรมัน โดยเฉพาะแบบฉบับของกองทัพปรัสเซีย และประยุกต์หลักนิยม, รูปแบบและโครงสร้างของกองทัพมาให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น
  • กองทัพบกญี่ปุ่น

    กองทัพบกญี่ปุ่น
    ช่วงปี ค.ศ. 1890 กองทัพญี่ปุ่นก็มีการจัดกำลังแบบสมัยใหม่ เป็นกองทัพที่มีรูปแบบการฝึกตามแบบกองทัพของชาติตะวันตก มีความพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์และยุทธปัจจัย นายทหารได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและมีความรู้ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี
  • ขนวนเหตุ​

    ในปี ค.ศ. 1893, คิม โอ คยุน นักปฏิวัติชาวเกาหลีที่นิยมญี่ปุ่นถูกลอบสังหารในเมืองเซี่ยงไฮ้ เพราะเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ มีการกล่าวหาว่า ผู้ลอบสังหารเป็นคนของหยวนซื่อไข่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนรัฐบาลเกาหลีที่นิยมจีน ศพของคิม โอ คยุน ถูกส่งกลับโดยเรือรบของจีน นัยว่าเป็นการเตือนพวกกบฏที่นิยมญี่ปุ่นไม่ให้เคลื่อนไหว
  • ความปราชัยของกองเรือเป่ย์หยาง

    ความปราชัยของกองเรือเป่ย์หยาง
    การรบทางเรือครั้งนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาคอรัปชั่นภายในกองทัพเรือเป่ย์หยางของจีนแล้ว การขาดการฝึกและศึกษาให้ชำนาญไม่ว่าจะเป็นวิชาการปืนใหญ่และการเดินเรือ รวมถึงการฝึกในระดับกองเรือ เช่นการแปรกระบวนรบ ยุทธนาวีครั้งนี้มีชื่อเป็นทางการว่า ยุทธนาวีที่แม่น้ำยาลู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยุทธนาวีที่ทะเลเหลือง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ.1894 เป็นการปะทะกันทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งนี้ สมรภูมิที่เกิดการปะทะกันนี้เกิดในทะเลเหลือง ใกล้ปากแม่น้ำยาลู
  • เหตุการณ์​

    เวลา 7:00 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1894, เรือลาดตระเวน โยะชิโนะ, นะนิวะ และอะกิตสึชิมะ กำลังลาดตระเวนในทะเลเหลือง นอกฝั่งอาซาน, ชุงเชินนัมโด, เกาหลี ได้เข้าสกัดกั้นเรือลาดตระเวน จื้อหย่วนของจีน และเรือปืน กวางอี่ ทั้งสองลำออกจากอาซานเพื่อพบกับเรือปืนของจีนอีกลำคือ เรือ เชาเจียง ที่กำลังคุ้มกันเรือลำเลียงไปยังอาซาน เรือจีนทั้งสองลำมิได้ถอยกลับไปตามที่เรือญี่ปุ่นยิงเตือนตามกฎการเดินเรือสากล, และเมื่อเรือของญี่ปุ่นเปลี่ยนเข็มไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เรือจีนก็เปิดฉากยิง.
  • ต่อ

    ซึ่งจุดนี้ทำให้สมรรถนะของกองเรือทั้งสองฝ่ายต่างกันอย่างมาก แม้ว่าทางจีนจะมีการจ้างนายทหารต่างชาติจำนวนมากมาเป็นที่ปรึกษา อย่างพันโท ฟอน ฮันเนเค่น ซึ่งรอดชีวิตจากเกาเชิงซึ่งถูกญี่ปุ่นยิงจมในพุงโด ก็เป็นที่ปรึกษาให้กับแม่ทัพ ติง หรู่ชาง และยังมีนายทหารต่างชาติอีกหลายนายที่เป็นผู้ช่วยของฟอน ฮันเนเค่น บางคนก็รับหน้าที่เป็นรองผู้บังคับการเรือเจิ้นหย่วน​
  • เหตุการณ์​

    เหตุการณ์​
    อีกส่วนก็คิดว่า จะนำกองเรือไปทางใต้เพื่อปะทะกับกองเรือญี่ปุ่น ดังนั้นผู้บัญชาการกองเรือของจีนคือ ฟาง โป๋เชียน ผู้บังคับการเรือลาดตระเวน จื้อหย่วน จึงเลือกทางสายกลางคือ การคำนึงถึงความปลอดภัยของกองเรือ ตามนโยบายของแม่ทัพคือ หลี่หงจาง และนโยบายของจักรพรรดิกวางสู ที่ต้องไม่เสียศักดิ์ศรีปูมเรือของฝ่ายญี่ปุ่นบันทึกการรบครั้งนี้ไว้ว่า
  • เหตุการณ์​การต่อสู้​ในเกาหลี​

    เหตุการณ์​การต่อสู้​ในเกาหลี​
    ปูมเรือของฝ่ายญี่ปุ่นบันทึกการรบครั้งนี้ไว้ว่า เวลา 7:00 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1894, เรือลาดตระเวน โยะชิโนะ, นะนิวะ และอะกิตสึชิมะ กำลังลาดตระเวนในทะเลเหลือง นอกฝั่งอาซาน, ชุงเชินนัมโด, เกาหลี ได้เข้าสกัดกั้นเรือลาดตระเวน จื้อหย่วนของจีน และเรือปืน กวางอี่ ทั้งสองลำออกจากอาซานเพื่อพบกับเรือปืนของจีนอีกลำคือ เรือ เชาเจียง ที่กำลังคุ้มกันเรือลำเลียงไปยังอาซาน เรือจีนทั้งสองลำมิได้ถอยกลับไปตามที่เรือญี่ปุ่นยิงเตือนตามกฎการเดินเรือสากล, และเมื่อเรือของญี่ปุ่นเปลี่ยนเข็มไปทางทิศใต้
  • เหตุการณ์​การต่อสู้​ในเกาหลี​

    เหตุการณ์​การต่อสู้​ในเกาหลี​
    หลังจากทหารญี่ปุ่นเข้าจัดการล้มล้างรัฐบาลเดิมของเกาหลีที่นิยมจีน แล้วสถาปนารัฐบาลชุดใหม่ที่นิยมญี่ปุ่น สิ่งที่ทำต่อมาคือ การขับไล่ทหารกองทัพเป่ย์หยางของจีนออกจากดินแดนเกาหลี กำลังของญี่ปุ่นที่มาถึงชุดแรกจำนวน 8 พันนาย ภายใต้การบัญชาการของพลโท โอชิมะ โยชิมะสะ ก็เดินทัพมุ่งลงใต้จากโซล มายังเมืองอาซาน ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งตะวันตกของเกาหลีที่ตอนนี้มีกำลังทหารจีน 3,500 นาย ประจำการอยู่ ส่วนกำลังหนุนที่มากับเรือ เกาเชิง ถูกเรือรบญี่ปุ่นจัดการไปเรียบร้อยแล้ว
  • สงคราม​จีน​-ญี่ปุ่น​ครั้งที่1

    สงคราม​จีน​-ญี่ปุ่น​ครั้งที่1
    เป็นการรบทางเรือที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรกนี้ โดยเป็นการปะทะกันระหว่าง กองเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นกับกองเรือเป่ย์หยาง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1894 นอกฝั่งเมืองท่าอาซางเปียงยางhttps://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E2%80%93%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87
  • ขนวนเหตุ

    ขนวนเหตุ
    และในปี ค.ศ. 1895 ญี่ปุ่นก็ได้ทำการลอบสังหารพระราชินีมินหรือจักรพรรดินีเมียงซองแห่งเกาหลี เพราะเห็นว่าพระนางเป็นตัวการที่ขัดขวางให้ญี่ปุ่นไม่สามารถกระทำการได้อย่างเต็มที่
  • กองทัพบกญี่ปุ่น

    กองทัพบกญี่ปุ่น
    ในปี ค.ศ.1885 จาโค๊บ เมคเกล ที่ปรึกษาทางทหารชาวเยอรมัน ได้เสนอแนะให้มีการปรับโครงสร้างสายการบังคับบัญชาของกองทัพใหม่ โดยแบ่งเป็นกรมและกองพล ปรับปรุงเรื่องการส่งกำลังบำรุง, การขนส่ง และอื่น ๆ (เช่นการเพิ่มรถบรรทุกให้พอเพียง) และมีการจัดตั้งกรมทหารปืนใหญ่และกรมช่าง ที่มีสายการบังคับบัญชาเป็นอิสระ
  • จักรวรรดิญี่ปุ่น

    จักรวรรดิญี่ปุ่น
    ช่วงเริ่มเกิดวิกฤตกาล กองเรือแห่งจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น มีกำลังทางเรือดังนี้ เรือประจัญบานรุ่นใหม่ 12 ลำ (ทั้งนี้รวมทั้งเรือยังไม่ขึ้นระวางประจำการ คือ อิสึมิ ที่เข้าประจำการในระหว่างสงคราม), เรือลาดตระเวนทะกะโอะอีก 1 ลำ เรือตอร์ปิโด 22 ลำ, นอกจากนั้นยังมีเรือช่วยรบ/เรือสินค้าติดอาวุธ และเรือโดยสารที่ดัดแปลงมาเป็นเรือช่วยรบอีกจำนวนมาก หลักนิยมของญี่ปุ่นขณะนั้นไม่ได้หวังพึ่งอานุภาพของเรือประจัญบาน แต่ให้ความสำคัญกับการใช้เรือรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง อย่างเรือลาดตระเวน และเรือตอร์ปิโด
  • การวางระเบิดทางรถไฟ

    การวางระเบิดทางรถไฟ
    พันเอก เซชิโร อิตะงะกิ พันโท คันจิ อิชิวะระ พันเอก เคนจิ โดะอิฮะระ และพันตรี ทะกะโยะชิ ทะนะกะได้สำเร็จแผนการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1931แต่หลายกองพลเกิดจากการรวมกันของสองกองพลหรือมากกว่า จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 4,000-5,000 นาย กำลังพลของกองทัพจีนคณะชาติถ้าเทียบกับกองพลญี่ปุ่นแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกัน
  • ครั้ง​ที่​สอง

    ครั้ง​ที่​สอง
    สงครามเป็นผลพวงจากนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นที่มีมายาวนานหลายทศวรรษเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและทางทหารเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงแหล่งแร่วัตถุดิบ อาหาร และแรงงาน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำมาซึ่งการเพิ่มความตึงเครียดให้กับการปกครองของญี่ปุ่น นักการเมืองฝ่ายซ้ายต้องการที่จะมีสิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปและสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับแรงงาน การเพิ่มผลผลิตสิ่งทอจากโรงทอผ้าจีนเป็นการส่งผลกระทบต่อการผลิตของญี่ปุ่น
  • ครั้งที่สอง​

    ครั้งที่สอง​
    ซึ่งท้ายที่สุดด้วยการก้าวขึ้นสู่อำนาจของกลุ่มทหารนิยมลัทธิฟาสซิสต์ กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำโดยฮิเดกิ โทโจ คณะรัฐมนตรีของสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ (Imperial Rule Assistance Association) ภายใต้พระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ในปี ค.ศ. 1931 อุบัติการณ์มุกเดนได้ช่วยจุดชนวนด้วยการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น​งบ ฝ่ายจีนต้องพบความปราชัยและญี่ปุ่นได้ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นมาใหม่, หมั่นโจวกั๋ว นักประวัติศาสตร์หลายคนได้กล่าวอ้างว่า ปี ค.ศ. 1931 เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม
  • กองทัพซุ่ยหยวน

    กองทัพซุ่ยหยวน
    เป็นความพยายามโดยกองทัพมองโกเลียในและกองทัพมหาฮั่นอันชอบธรรม ทั้งสองกองทัพได้ถูกก่อตั้งขึ้นและสนับสนุนโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น เพื่อเข้าควบคุมมณฑลซุ่ยหยวนจากสาธารณรัฐจีน ความพยายามในการบุกครองได้ปฏิบัติการทั้งหมดได้ถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่เสนาธิการญี่ปุ่น การทัพครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนมากเนื่องจากขาดการฝึกฝนและขวัญกำลังใจที่ตกต่ำในหมู่ทหารชาวมองโกเลียและผู้ที่ให้ความร่วมมือคนอื่นๆ
  • สงครามจีน-ญี่ปุ่น​ครั้งที่สอง

    สงครามจีน-ญี่ปุ่น​ครั้งที่สอง
    ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 จุดเริ่มด้วยเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นที่บานปลายจนต้องสู้รบกัน แหล่งข้อมูลบางแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนยุคปัจจุบันได้มีการถือจุดเริ่มต้นของสงครามคือญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931[6]
  • ครั้งที่สอง

    ครั้งที่สอง
    ในช่วงแรก ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะครั้งใหญ่, ได้เข้ายึดครองทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหลวงของจีนคือนานกิงในปี ค.ศ. 1937 ภายหลังจากความล้มเหลวในการหยุดยั้งญี่ปุ่นในยุทธการที่อู่ฮั่น รัฐบาลกลางของจีนได้ย้ายไปยังฉงชิ่ง (จุงกิง) ในส่วนภายในของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1939 แม้ว่าจะยังคงครอบครองส่วนหนึ่งของแผ่นดินจีนอยู่ ญี่ปุ่นได้ยอมจำนนในที่สุด เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร
  • ครั้ง​ที่​สอง​

    ครั้ง​ที่​สอง​
    จีนได้ต่อสู้รบกับญี่ปุ่นด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ภายหลังญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในปี ค.ศ. 1941 สงครามได้รวมไปถึงความขัดแย้งที่อื่น ๆ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะที่เป็นเขตของแนวรบที่สำคัญที่ถูกเรียกว่า เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย นักวิชาการบางคนได้ถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 1937 คือจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
  • กองทัพปฏิวัติชาติ

    กองทัพปฏิวัติชาติ
    กองทัพปฏิวัติชาติมีเจียงไคเช็กเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปฏิวัติชาติเป็นที่รับรู้ว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธแบบครบวงจรของจีนในช่วงสงครามแต่หลายกองพลเกิดจากการรวมกันของสองกองพลหรือมากกว่า จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 4,000-5,000 นาย กำลังพลของกองทัพจีนคณะชาติถ้าเทียบกับกองพลญี่ปุ่นแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกันหลังจากบทเรียนความพ่ายแพ้ของจีนในการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งไม่นิ่งนอนใจต่อการคุกคามของญี่ปุ่นอีกต่อไป
  • วัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่น

    วัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่น
    ภาพยนตร์เรื่อง เซ็นโซโตะนิงเง็น เป็นภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นได้จัดทำขึ้นมาเอง เนื้อเรื่องสะท้อนเหตุการณ์ของสงครามจากมุมมองฝ่ายญี่ปุ่นถึงความโหดร้ายของการกองทัพญี่ปุ่นที่เข้าไปรุกรานประเทศจีนและได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น
  • วัฒนธรรมสมัยนิยมจีน

    วัฒนธรรมสมัยนิยมจีน
    ภาพยนตร์เรื่อง บนภูเขาไท่หาง (จีนอังกฤษ)​ เป็นภาพยนตร์สงครามที่สร้างในปี ค.ศ. 2005 เกี่ยวกับสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่นซึ่งในระหว่างที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานประเทศจีนในช่วงแรกนั้นรัฐบางสาธารณรัฐจีนที่ปกครองโดยพรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ) ได้ทำการต่อต้านรับมือการรุกรานของญี่ปุ่นแต่ประสบความล้มเหลว จนฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีน กองทัพที่แปดของนายพลจูเต๋อได้ไปตั้งหลักที่ภูเขาไท่หางและทำสงครามกองโจรกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะในที่สุด
  • ราชวงศ์ชิง

    ราชวงศ์ชิง
    ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองของราชวงศ์ชิง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตของจักรวรรดิต้าชิงโดยรวมเอเชียกลางและบางส่วนของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่าและเวียดนาม สิ่งนำไปสู่การรบครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่า สิบการทัพใหญ่ ในปลายสมัยของราชวงศ์ชิง ถือว่าได้เป็นยุคตกต่ำของราชวงศ์ การปกครองของราชวงศ์เป็นไปด้วยความล้มเหลว เกิดการฉ้อโกง สังคมเสื่อมโทรม ภาวะอดอยาก อีกทั้งต้องประสบกับการถูกรุกรานจากบรรดาชาตินักล่าอาณานิคม
  • ราชวงศ์ชิง

    ราชวงศ์ชิง
    ในปี พ.ศ. 2442 ทำให้ชาวจีนรู้สึกอัปยศอดสูเป็นอย่างมาก จักรพรรดิกวางสูได้ทรงพยายามทำการปฏิรูปพัฒนาประเทศให้ทันสมัยแต่แผนการของพระองค์กลับถูกทำลายลงโดย พระนางซูสีไทเฮา ซึ่งถือเป็นผู้ขัดขวางการพัฒนาสู่สมัยใหม่ของจักรวรรดิต้าชิงโดยมีขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร. ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำ ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ซึ่งเป็นการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจ
  • จักรพรรดิกวังซฺวี่

    จักรพรรดิกวังซฺวี่
    ในปี พ.ศ. 2455 ดร.ซุน ยัดเซ็น ได้กล่าวยกย่องสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ จากการปฏิรูปการศึกษาของพระองค์ ซึ่งได้ยิมยอมและสนับสนุนที่จะให้ชาวจีนเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก ภายหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน นักประวัติศาสตร์ ฟาน เวิ่นหลัน (范文澜) ได้กล่าวถึงจักรพรรดิกวังซฺวี่ว่า "เป็นชาวแมนจูชั้นสูงผู้ยอมรับแนวคิดของชาวตะวันตก
  • ราชวงศ์ชิง

    ราชวงศ์ชิง
    และใน พ.ศ. 2455 จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นเวลานับ 5,000 ปีของประวัติศาสตร์จีน ถงเหมิงฮุ่ยได้เปลี่ยนแปลงประเทศนำไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย และมีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐจีน
  • สาธารณรัฐจีน

    สาธารณรัฐจีน
    ความคับแค้นไม่พอใจต่อราชวงศ์ชิงทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของประเทศและลุกฮือขึ้นเปลี่ยนแปลงการปกครองจนทำให้เกิดขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง ทำให้ประเทศจีนได้ อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก
  • การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น

    การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น
    วิกฤตการณ์จี๋หนาน
    แก้
    ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “วิกฤตการณ์จี๋หนาน
  • การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น

    การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น
    ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “วิกฤตการณ์จี๋หนาน” สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481
  • การโจมตีทางรถไฟ

    การโจมตีทางรถไฟ
    วันที่ 18 กันยายน 1931 หนึ่งวันหลังจากเหตุการมุกเดน ศูนย์บัญชาการใหญ่แห่งกองทัพจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ได้ตัดสินในใช้นโยบายการจำกัดขอบเขตไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป จึงมีคำสั่งถึงผู้บัญญาการกองทัพคันโต แต่คำสั่งจากโตเกียวกลับบิดเบือน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพคันโต ผู้พันชิเงะรุ ฮนโจ กลับออกคำสั่งให้กองทัพของเขาขยายขอบเขตการปฏิบัติการอย่างรวดเร็วตามเส้นทางรถไฟสายแมนจูเรียใต้
  • การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น

    การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น
    ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก
  • ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน

    ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน
    ญี่ปุ่นจึงเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผยภายหลังกรณีมุกเดน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 หลังจากการประทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม
  • การรุกรานแมนจูเรีย

    การรุกรานแมนจูเรีย
    เมื่อตอนเช้าของวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1931 ปืนใหญ่ได้ถูกติดตั้งไว้ที่ที่พักของนายทหารญี่ปุ่นทำการเปิดฉากระดมยิงใส่ที่ตั้งของทหารจีน เพื่อที่จะตอบโต้ทหารจีนตามข้อกล่าวหาในการรุกรานทางรถไฟ กองกำลังทางอากาศเพียงเล็กน้อยของจีนซึ่งนำโดยจาง เซวเหลียงถูกทำลาย ทหารจีนต้องถอนกำลังออกจากค่าย Beidayingทหารญี่ปุ่นเพียงห้าร้อยนายโจมตีที่ตั้งของทหารจีนจำนวนเจ็ดพันนาย แต่เนื่องจากทหารจีนส่วนมากเป็นทหารใหม่หรือทหารเกณฑ์ จึงไม่อาจต้านทานทหารญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์เหนือกว่าได้เลย
  • การต่อต้านที่สะพานเนิ่นเจียง

    การต่อต้านที่สะพานเนิ่นเจียง
    การต่อต้านที่สะพานเนิ่นเจียง หรือ การต่อต้านที่สะพานแม่น้ำเนิ่น เป็นยุทธการขนาดเล็กระหว่างกองกำลังของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน กับกองทัพญี่ปุ่นและกองกำลังที่เข้าร่วม เกิดขึ้นหลังอุบัติการณ์มุกเดนในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองแมนจูเรียเมื่อ ค.ศ. 1931 ก่อนที่สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองจะเริ่มขึ้น เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการทัพเจียงเฉียว การต่อต้านที่สะพานเนิ่น
  • การบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น

    การบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น
    การรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น เป็นเหตุการณ์ที่กองทัพคันโตของจักรวรรดิญี่ปุ่น เข้ารุกรานดินแดนแมนจูเรียของจีน ในเหตุการณ์สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 ภายหลังการบุกยึดดินแดนมุกเดน ต่อมาเกิดการเจรจาพักรบตางกู ญี่ปุ่นได้ครอบครองดินแดนแมนจูเรียกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
  • ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน

    ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน
    ภายหลังจากกรณีมุกเดน เกิดการประทะกันอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2475 กำลังทหารของจีนและญี่ปุ่นได้เปิดการประทะกันในกรณี 28 มกราคม ผลจากการประทะกันครั้งนี้ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้น ทำให้ทางกองทัพจีนไม่สามารถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้
  • การป้องกันเมืองฮาร์บิน

    การป้องกันเมืองฮาร์บิน
    การป้องกันเมืองฮาร์บิน เกิดขึ้นในช่วงแรกของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทัพการบุกครองแมนจูเรียโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932
  • การปราบปรามความไม่สงบในหมั่นโจวกั๋ว

    การปราบปรามความไม่สงบในหมั่นโจวกั๋ว
    การปราบปรามความไม่สงบในหมั่นโจวกั๋ว เป็นการทัพต่อต้านการก่อกบฏของญี่ปุ่นในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเพื่อปราบปรามการต่อต้านด้วยอาวุธที่มีต่อรัฐหุ่นเชิดของหมั่นโจวกั๋วที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ๆจากกองกำลังทหารอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นหลายหน่วยในเขตยึดครองแมนจูเรียและต่อมากองทัพร่วมต่อต้านญี่ปุ่นทางภาคเหนือของคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการครั้งนี้ได้ถูกดำเนินการโดยกองทัพคันโตแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังทหารที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของรัฐบาลหมั่นโจวกั๋ว
  • อุบัติ​เหตุ เซี่ยงไฮ้​

    อุบัติ​เหตุ เซี่ยงไฮ้​
    กรณี 28 มกราคม หรือ อุบัติการณ์เซี่ยงไฮ้ (28 มกราคม — 3 มีนาคม 1932) เป็นความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐจีนและจักรวรรดิญี่ปุ่น เกิดขึ้นในเขตการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศในเซี่ยงไฮ้ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติ เจ้าหน้าที่กองทัพบกญี่ปุ่น ซึ่งได้ท้าทายเจ้าหน้าที่ระดับสูง ได้กระตุ้นก่อให้เกิดการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นในเขตนานาชาติของเมืองเซี่ยงไฮ้ กลุ่มม็อบชาวจีนได้เข้าโจมตีภิกษุชาวพุทธของญี่ปุ่นและสังหารหนึ่งรูป เกิดการสู้รบอย่างหนักและจีนก็ไม่ได้ยื่นร้องเรียนต่อสันนิบาตชาติ
  • ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน

    ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน
    ในปี พ.ศ. 2476 ญี่ปุ่นเข้าโจมตีบริเวณกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ให้อำนาจญี่ปุ่นมีเหนือดินแดนเร่อเหอ อีกทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนกับเมืองปักกิ่ง - เทียนจิน ญี่ปุ่นพยายามยุยงให้มีความแตกแยกภายในกันเองของจีน เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของจีนให้อ่อนแอลง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่อนของรัฐบาลจีนคณะชาติดีว่า ภายหลังการเดินการขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีน อำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่
  • การป้องกันกำแพงเมืองจีน

    การป้องกันกำแพงเมืองจีน
    ในช่วงการทัพ ญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จในการเข้ายึดครองจักหวัดเร่อเห่อของมองโกเลียในจากขุนศึกชาวจีน จาง เสฺวเหลียง และผนวกมันเข้ากับรัฐหุ่นเชิดที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ของหมั่นโจวกั๋ว จากชายแดนทางใต้ขยายไปยังถึงกำแพงเมืองจีน
  • ยุทธการที่เร่อเหอ

    ยุทธการที่เร่อเหอ
    เป็นส่วนที่สองของปฏิบัติการเนกกะ(Operation Nekka) การทัพครั้งนี้โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการเข้ายึดครองจังหวัดเร่อเหอของมองโกเลียในจากขุนศึกชาวจีน จาง เสฺวเหลียงและผนวกมันเข้ากับรัฐหุ่นเชิดของหมั่นโจวกั๋ว การรบครั้งนี้ได้ต่อสู้รบตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม ค.ศ. 1933
  • ปฏิบัติการในมองโกเลียใน (ค.ศ. 1933-36)

    ปฏิบัติการในมองโกเลียใน (ค.ศ. 1933-36)
    ช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ถึง 1936 เป็นส่วนหนึ่งการรุกรานเหนือของจีนอย่างต่อเนื่องโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการเริ่มต้นทำสงครามอย่างเป็นทางการในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1931 การบุกครองแมนจูเรียทำให้เกิดการสถาปนารัฐหุ่นเชิดของหมั่นโจวกั๋ว และในปี ค.ศ. 1933 ปฏิบัติการเนกกะคือการแย่งชิงมณฑลเจโหวจากสาธารณรัฐจีน รัฐ
  • ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน

    ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน
    ปกครองในมณฑลเหอเป่ย์ ในปีเดียวกันจีนจำต้องลงนามในข้อตกลงชิน-โดะอิฮะระอีกฉบับหนึ่ง เป็นการกำจัดอำนาจของรัฐบาลก็กมินตั๋งออกจากฉาเห่ย์ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐบาลแห่งชาติจีนจึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนดังกล่าวอีกต่อไป ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาปกครองตนเองเหอเป่ย์ตะวันออกขึ้น ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะการปกครองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเหม่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดแห่งที่สองโดยได้ส่งเจ้าชายมองโกลเดมชูงดอมรอปช์ไปปกครองและให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจ
  • การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว

    การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากได้ระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 ตั้งแต่สะพานมาร์โคโปโล เมื่อสงครามรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเมืองปักกิ่งถูกโจมตีโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเนื่องจากกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่มีการรับมือแบบไม่มีประสิทธิภาพทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเป่ยผิงและเทียนจินอย่างง่ายดาย
  • ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้

    ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้
    ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ เป็นหนึ่งในยี่สิบสองครั้งของการต่อสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ(์NRA) ของสาธารณรัฐจีน(ROC) และกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น(IJA) ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 และเป็นหนึ่งในการต่อสู้รบครั้งใหญ่ที่สุดและนองเลือดมากที่สุดของสงครามทั้งหมด ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามว่า "สตาลินกราดบนแม่น้ำแยงซี"[2] มันจบลงด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น
  • เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล

    เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล
    หลังจากกรุงปักกิ่งและเทียนจินถูกยึดครอง ที่ราบจีนตอนเหนือก็ตกเป็นเป้าการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นที่มีอาวุธทันสมัยต่อจนถูกยึดครองทั้งหมดในปลายปีนั้น กองทัพจีนก๊กมินตั๋งและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้รบไปแต่ล่าถอยไปโดยตลอดจนกระทั่งได้รับชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นอย่างยากเย็นที่ไทเออซวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2480
  • ยุทธการที่ซูโจว

    ยุทธการที่ซูโจว
    ยุทธการที่ซูโจว เป็นการรบระหว่างสาธารณรัฐจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลังจากที่ญี่ปุ่นยึดเมืองนานกิงได้ก็เริ่มโจมตีเมืองซูโจวต่อ ในเดือนมีนาคม 1938 กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองมณฑลซานตงทั้งหมด ทหารสาธารณรัฐจีน 64 กองพล 600,000 นายรวมพลที่ชายฝั่งทางทิศใต้ในมณฑลเจียงซูทันทีเพื่อโจมตีตอบโต้การรุกรานของญี่ปุ่น
  • ยุทธการที่นานกิง

    ยุทธการที่นานกิง
    ยุทธการที่นานกิง เริ่มหลังจากยุทธการเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1937 และสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม 1937 ถึงกองกำลังญี่ปุ่นไม่กี่วันหลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้ย้ายเมืองหลวงไปยังอู่ฮั่น การสังหารหมู่ที่นานกิงเกิดขึ้นหลังจากญี่ปุ่นยึดเมืองดังกล่าวได้สำเร็จ
  • ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน

    ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน
    หนึ่งในยุทธการในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ที่ทำการสู้รบบริเวณกรุงเป่ย์ผิง (กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน สมัยนั้นเรียกว่า เป่ย์ผิง) และเมือง เทียนสิน (เทียนจินในปัจจุบัน) ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น
  • ยุทธการฉางชา

    ยุทธการฉางชา
    ยุทธการฉางชา (17 กันยายน – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1939) เป็นความพยายามครั้งแรกของญี่ปุ่นในการยึดครองฉางชา ประเทศจีน ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
  • ยุทธการที่ช่องเขาคุนหลุน

    ยุทธการที่ช่องเขาคุนหลุน
    เป็นหนึ่งในยุทธการของความขัดแย้งระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน โดยรอบบริเวณช่องเขาคุนลุ้น ซึ่งเป็นตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของมณฑลกวางสี โดยกองทัพญี่ปุ่นวางแผนที่จะตัดเสบียงของจีนที่เชื่อมโยงกับอินโดจีนฝรั่งเศส แต่กองทัพจีนสามารถต่อสู้กับการโจมตีได้รับชัยชนะในที่สุด[1]
  • การรุกฤดูหนาว

    การรุกฤดูหนาว
    เป็นหนึ่งในการรบที่สำคัญระหว่างกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งกองทัพจีนได้เปิดฉากการรุกตอนโต้กลับที่สำคัญบนหลายแนวรบเป็นครั้งแรกของพวกเขา แม้ว่าการโจมตีครั้งนี้จะล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์แต่เดิม แต่บางครั้งการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นแรงผลักดันอย่างหนักต่อกองทัพญี่ปุ่น เช่นเดียวกับความตกใจอย่างมากต่อกองบัญชาการทหารสูงสุดของญี่ปุ่นซึ่งไม่คาดคิดว่ากองทัพจีนจะสามารถเปิดฉากปฏิบัติการการรุกขนาดใหญ่เช่นนี้ได้
  • การสังหารหมู่ฉางเจี้ยว

    การสังหารหมู่ฉางเจี้ยว
    เป็นการสังหารหมู่ต่อพลเรือนชาวจีนโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เมืองฉางเจี้ยว, มณฑลหูหนานการสังหารหมู่ของกองทัพญี่ปุ่นได้รับคำสั่งจากนายพลชุนโระกุ ฮาตะ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่น การสังหารได้ดำเนินไปเป็นระยะเวลากว่า 4 วัน ตั้งแต่ 9 มีนาคม ถึง 12 มีนาคม ค.ศ. 1943, พลเรือนจีนกว่า 30,000 คนถูกสังหาร
  • ครั้งที่สอง

    ครั้งที่สอง
    ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 1945 กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตได้รุกรานรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นคือรัฐแมนจูกัว มันเป็นการทัพครั้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองและใหญ่ที่สุดของสงครามโซเวียต–ญี่ปุ่นในปี 1945 ที่ได้กลับมาสู้รบกันอีกครั้งระหว่างสหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังจากสงบศึกกันเป็นเวลาเกือบหกปี ผลประโยชน์ที่ได้รับของโซเวียตคือ แมนจูกัว, เหม่งเจียง (มองโกลเลีย), ดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ การที่โซเวียตเข้าสู่สงครามและความพ่ายแพ้ของกองทัพคันโตแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
  • ปฏิบัติการจิ่นโจว

    ปฏิบัติการจิ่นโจว
    ปฏิบัติการจิ่นโจว(Jinzhou (Chinchow) Operation) เป็นปฏิบัติการทางทหารในปี ค.ศ. 1931 ในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย ซึ่งเป็นเหตุการณ์เบื้องต้นที่มีส่วนทำให้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองลุกลามในปี ค.ศ. 1937