5f1d1f84f575450c8710c3ae 800x0xcover mqboxljx

อารยธรรมโบราณ

  • 3500 BCE

    อารยธรรมโบราณ

    อารยธรรมโบราณ
    อารยธรรมโบราณเริ่มต้น 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 ในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงอารยธรรมโบราณของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย อียิปต์
  • 3500 BCE

    อารยธรรมเมโสโปเตเมียกำเนิดขึ้น(ประมาณ 3500-3000 ปีก่อนคริสตกาล)

    อารยธรรมเมโสโปเตเมียกำเนิดขึ้น(ประมาณ 3500-3000 ปีก่อนคริสตกาล)
    อารยธรรมเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นประมาณช่วง 3500 ปีก่อนคริสตกาล (ประมาณ 3500-3000 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออิรักตอนใต้และบางส่วนของซีเรียและอิหร่าน ส่วนใหญ่เริ่มต้นที่เมืองสุเมเรียนเช่น อูรูค และอูร์ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นชัฏฏุลอะร็อบแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
  • Period: 3500 BCE to 330

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

    อารยธรรมของเมโสโปเตเมีย 1.สุเมเรียน 4,000-1,950 2.อัคคาด 2,750-1,950 3.บาบิโลเนียเก่า 2,600-1,750 4.อัสสิเรีย 2,700-612 5.ดาลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่ 612-539 6.เปอร์เซีย 539-330.
  • Period: 3150 BCE to 300 BCE

    อารยธรรมอียิปต์โบราณ

    อียิปต์โบราณ หรือไอยคุปต์ เพี้ยนเสียงมาจากภาษา Amarna มีช่วงเวลาเมื่อ3150–300BCE
  • 3100 BCE

    เริ่มต้นอารยธรรมอียิปต์โบราณ

    เริ่มต้นอารยธรรมอียิปต์โบราณ
    อารยธรรมอียิปต์โบราณ (Ancient Egypt) เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่สำคัญและเจริญรุ่งเรืองที่สุดในโลกโบราณ ตั้งอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศอียิปต์ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อารยธรรมนี้เจริญเติบโต อียิปต์โบราณเริ่มต้นประมาณ 3,100 ปีก่อนคริสตกาล (ประมาณ 2,600 ปีก่อนพุทธศักราช) และดำรงอยู่ยาวนานถึงเกือบ 3,000 ปี
  • 3100 BCE

    ยุคก่อนราชวงค์

    ยุคก่อนราชวงค์
    ยุคก่อนราชวงศ์ (Early Dynasty 3100-2686 ปีก่อน ค.ศ.)
    อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มต้นขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์
    เริ่มต้นกันที่ยุคก่อนราชวงศ์ ซึ่งเป็นยุคสมัยแรกของ อารยธรรมอียิปต์ ยุคสมัยนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อนาร์เมอร์ (Narmer) สามารถรวบรวมอียิปต์บน (Upper Egypt) และอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) เข้าด้วยกัน ได้สำเร็จในราว 3100 ปีก่อน ค.ศ. นาร์เมอร์ได้ กลายเป็นฟาโรห์ องค์แรกของอียิปต์ ความรุ่งเรืองของอารยธรรมอียิปต์เริ่มต้นขึ้นนับแต่ นั้น ยุคสมัยนี้ยังเป็นช่วงกำเนิดของตัวอักษรไฮโร กลิฟฟิกของชาวอียิปต์อีกด้วย
  • 3099 BCE

    ราชวงศ์เริ่มแรก (อียิปต์)

    ราชวงศ์เริ่มแรก (อียิปต์)
    3100 BCE
    ราชวงศ์เริ่มแรก (อียิปต์)
    ในคริสต์ศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาล นักบวชชาวอียิปต์ "มาเนโธ" (Manetho) ได้จำแนกและจัดกลุ่มกษัตริย์ หรือ "ฟาโรห์" ตั้งแต่เมเนสจนถึงช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ออกเป็น 30 ราชวงศ์ ซึ่งวิธีการจำแนกที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเขาเริ่มต้นประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการกับกษัตริย์ชื่อ "เมนี" (หรือ เมเนส/Menes ในภาษากรีก) ซึ่งเชื่อกันว่าได้รวมสองอาณาจักรแห่งอียิปต์ตอนบนและตอนล่างเข้าด้วยกัน
  • 3000 BCE

    ฟินิเชีย (กรีก)

    ฟินิเชีย (กรีก)
    2500 BCE
    ฟินิเชีย (กรีก)
    เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทร์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา
  • 2700 BCE

    ไมนอส(กรีก)

    ไมนอส(กรีก)
    ไมนอส (กรีก)
    บริเวณเหล่านี้อยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรายรอบด้วยอารยธรรมสำคัญของโลก คืออารยธรรม อียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ใกล้กับเกาะครีตซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมไมนอส (Minoan Civilization ประมาณปี 2700-1400 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่เกิดจากการผสมผสานอารยธรรมของดินแดนในแถบรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • 2686 BCE

    ยุคราชอาณาจักรเก่าอียิปต์

    ยุคราชอาณาจักรเก่าอียิปต์
    ยุคราชอาณาจักรเก่า (Old Kingdom 2686-2181 ปีก่อน ค.ศ.)
    2
    มหาพีระมิด สิ่งก่อสร้างสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นในยุค ราชอาณาจักรเก่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ 3 ขึ้นปกครอง อียิปต์ ยุคสมัยนี้ถูกเรียกว่า 'ยุคแห่งพีระมิด' (Age of the Pyramid) เพราะมีการสร้างพีระมิดขึ้นเป็น จำนวนมาก
    1
    ไม่ว่าจะเป็นพีระมิดของฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) ที่ ถือเป็นพีระมิดแห่งแรกของอียิปต์ รวมไปถึงมหา พีระมิดแห่งกีซ่า (Pyramid of Giza) และรูปปั้น สฟิงซ์ (Sphinx) ที่ล้วนถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยนี้ทั้ง
  • 2500 BCE

    เริ่มต้นอารยธรรมอินเดีย

    เริ่มต้นอารยธรรมอินเดีย
    เดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า “แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย
  • 2500 BCE

    อารยธรรมอินเดียเริ่มมีการสร้างเมืองและใช้โลหะะ

    อารยธรรมอินเดียเริ่มมีการสร้างเมืองและใช้โลหะะ
    สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
    (1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
    (2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
  • Period: 2500 BCE to

    อารยธรรมอินเดียโบราณ

    เดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย )
  • Period: 2181 BCE to 2055 BCE

    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 1 อารยธรรมอียิปต์

    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 1 • (First Intermediate 2181-2055 ปีก่อน ค.ศ.)
    1
    ปลายยุคราชอาณาจักรเก่า ราชวงศ์ที่ 7 และ 8 ปกครองอียิปต์ด้วยความอ่อนแอ ท้ายที่สุดความ แตกแยกทำให้แผ่นดินอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน
  • 2100 BCE

    ราชวงศ์เซีย (จีน)

    ราชวงศ์เซีย (จีน)
    เริ่มต้นการครองราชย์โดยการสืบสายโลหิต เป็นราชวงศ์แรกที่ ปกครองแบบพ่อสืบทอดให้ลูก โดยเริ่มจากพระเจ้าเซี่ยหวี่ ถึง พระเจ้าลวี่กุ่ย (เซี่ยเจี๋ย) เป็นช่วงที่ผู้ปกครองมักใช้อำนาจใน การยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว
    เป็นช่วงที่ผู้ปกครองไม่สนใจในการปกครองมีการแย่งชิง อำนาจ ในที่สุดถูกพวกซางรุกรานและยึดครอง
  • Period: 2100 BCE to

    อารยธรรมจีน

    ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่า อารยธรรมจีนมีอายุถึง 2100ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือการสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อ ประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไปในบางครั้งก็ถูกปกครอง โดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพการค้าและการยึดครอง
  • 2055 BCE

    ยุคอียิปต์กลาง

    ยุคอียิปต์กลาง
    ยุคราชอาณาจักรกลาง (Middle Kingdom 2055-1786 ปีก่อน ค.ศ.)
    1
    นครธีบส์ ศูนย์กลางของอียิปต์ในยุคราชอาณาจักร กลาง
    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเมื่อฟาโรห์เมนทูโฮ เทปที่ 2 (Mentuhotep II) รวบรวมแผ่นดินได้อีก ครั้ง เป็นจุดเริ่มต้นของราชอาณาจักรกลาง ซึ่งมี นครธีบส์ (Thebes) เป็นจุดศูนย์กลางของราช อาณาจักร
  • 2040 BCE

    ราชวงศ์กลางอียิปต์(รูปภาพราชวงศ์ที่12)

    ราชวงศ์กลางอียิปต์(รูปภาพราชวงศ์ที่12)
    ราชวงศ์กลาง (อียิปต์)
    ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ อเมนเนมเฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I) จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ วรรณคดีทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง ยุคนี้เป็นช่วงเดียวกันกับอารยธรรมบาบิโลนของพระเจ้าฮัมมูราบี
  • 2025 BCE

    อัลซีเรีย(เมโสโปเตเมีย)

    อัลซีเรีย(เมโสโปเตเมีย)
    อัสซีเรีย (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นอารยธรรมหลักในเมโสโปเตเมียโบราณที่เริ่มต้นในฐานะนครรัฐในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช แล้วพัฒนาเป็นรัฐอาณาเขตและกลายเป็นจักรวรรดิในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช
  • 2000 BCE

    หัวเสาร์กรีก

    หัวเสาร์กรีก
    หัวเสากรีก (กรีก)
    เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมเสาแบบคลาสสิกหนึ่งในสามแบบของกรีกโบราณ ที่มีลักษณะโคนเสาใหญ่และเรียวขึ้นไปจนถึงยอด ตามลำเสาเป็นร่องเว้าตามแนวตั้งยี่สิบร่องรอบเสา ตอนบนเป็นหัวเสาเรียบที่บานออกไปจากคอลัมน์ไปบรรจบกับแผ่นสี่เหลี่ยมที่ขวางกับคานแนวนอนที่วางเหนือเสา
  • 2000 BCE

    ชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)

    ชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)
    ชาวยิว (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนาพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่น ๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลก
  • 2000 BCE

    เริ่มต้นอารยธรรมกรีก

    เริ่มต้นอารยธรรมกรีก
    อารายธรรมกรีก
    อารยธรรมกรีกที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ประกอบด้วยอารยธรรมหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อารยธรรมของชาวกรีก โบราณหรืออารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic Civilizaton, ปี 750-336 ก่อนคริสต์ศักราช) และ อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic Civilization, ปี 336-31 ก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กรีกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมาซิโดเนีย (Macedonia) และเป็นอารยธรรมที่ผสมผสานกับความเจริญที่รับจากดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริม ให้เกิดอารยธรรมกรีกโดยรวมใจ
  • Period: 2000 BCE to 146 BCE

    อารยธรรมกรีก

    อารยธรรมกรีกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) เมืองหลวงของประเทศกรีซในปัจจุบัน เป็นอารยธรรมโลกตะวันตกที่เจริญรุ่งเรืองมาก มีช่วงเวลา2000–146BCE
  • 1900 BCE

    อัคคาเดียนชาวอามอไรต์(อารยธรรมเมโสโปเตเมีย)

    อัคคาเดียนชาวอามอไรต์(อารยธรรมเมโสโปเตเมีย)
    ชาวอามอไรต์ (1900-1600 B.C.) เป็นชนเผ่าที่มีอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียต่อจากอัคคาเดียน โดยสามารถก่อตั้งจักรวรรดิ “บาบิโลเนีย” ครั้งที่หนึ่งขึ้นได้ สืบทอดอารยธรรมต่อจากสุเมเรียน และมีการต่อยอดทางอารยธรรมดังนี้ - ด้านรัฐศาสตร์ ขยายอาณาเขต และสถาปนาเป็นจักรวรรดิบาบิโลเนีย
  • Period: 1786 BCE to 1567 BCE

    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 2 อารยธรรมอียิปต์

    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 2
    (Second Intermediate 1786-1567 ปีก่อน ค.ศ.)
    ตอนปลายยุคราชอาณาจักรกลาง เกิดความ แตกแยกภายใน แผ่นดินแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ อีก ครั้ง ก่อนที่ในเวลาต่อมาชาวฮิกโซส (Hyksos) จาก เอเชียตะวันตกจะเข้ารุกรานอียิปต์ และสามารถยึด ครองดินแดนทางตอนเหนือของอียิปต์ได้
  • 1766 BCE

    ราชวงศ์ชางหรือยิน (จีน)

    ราชวงศ์ชางหรือยิน (จีน)
    ราชวงศ์ชางหรือยิน (จีน)
    ศูนย์กลางความเจริญอยู่บริเวณแม่น้ำเหลืองในมลฑลเหอหนัน เหอ เป่ย ซันตุง เรื่องราวของราชวงศ์นี้ได้มาจากอักษรจีนที่จารึกบน กระดองเต่าและกระดูกวัว มีการแบ่งอาณาเขตเป็นแคว้นขึ้นต่อ กษัตริย์ การปกครองคล้ายระบบศักดินา มีชนชั้นปกครองที่ เข้มแข็งกองทัพมีประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องทำสงครามเผ่าต่า ตลอดเวลา และสร้างระบบความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์
  • 1700 BCE

    ศิลปวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ชาง(จีน)

    ศิลปวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ชาง(จีน)
    ศิลปวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ชาง (Shang Dynasty) ประมาณ 1700 ปีก คริสตกาล มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณลุ่มน้ำฮวงโห งานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น -การเขียนตัวอักษรบนกระดูกสัตว์ เพื่อทำเป็นกระดูกเสี่ยงทาย -การทำเครื่องสำริดโลหะ เช่นอาวุธ ภาชนะ -การทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องหยก เครื่องเคลือบ
  • 1600 BCE

    ราชวงศ์ซาง(อารยธรรมจีน)

    ราชวงศ์ซาง(อารยธรรมจีน)
    ราชวงศ์ซาง (จีน)
    เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin Dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป
  • 1600 BCE

    ไอโอเนียและไมซีเนีย(กรีก)

    ไอโอเนียและไมซีเนีย(กรีก)
    ไอโอเนียและไมซีเนีย(กรีก)
    โดยทั่วไปชาวกรีก โบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐ ของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนคร รัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีต
  • 1567 BCE

    ยุคราชอาณาจักรใหม่ อารยธรรมอียิปต์

    ยุคราชอาณาจักรใหม่ อารยธรรมอียิปต์
    สมัยราชอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom) ชาว อียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติและกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567-1085 ก่อนคริสต์ศักราช จึงเรียกช่วงการปกครองสมัยนี้ว่าสมัยราชอาณาจักรใหม่ สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาจในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียง จนเป็นจักรวรรดิอียิปต์
  • 1500 BCE

    อารยธรรมอินเดีย (แม่น้ำสินธุ)

    อารยธรรมอินเดีย (แม่น้ำสินธุ)
    1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม) “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่ ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดีย
  • 1100 BCE

    ดอเรียน(กรีก)

    ดอเรียน(กรีก)
    ดอเรียนอารยธรรมกรีด
    ปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและ ขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมี ความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์
  • 1100 BCE

    ราชวงศ์โจว (จีน)

    ราชวงศ์โจว (จีน)
    ราชวงศ์โจว (จีน)
    ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว
  • Period: 1085 BCE to 664 BCE

    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 3อารยธรรมอียิปต์

    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 3อารยธรรมอียิปต์
    (Thrid Intermediate 1085-664 ปีก่อน ค.ศ.)
    1
    ปลายยุคราชอาณาจักรใหม่ ปัญหาความแตกแยก ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง ในที่สุดแผ่นดินอียิปต์ก็ถูกแบ่ง แยกอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลานี้อียิปต์ถูกชนชาติต่าง ๆ เข้ารุกรานอยู่ อาทิ ชาวนูเบีย (Nubia) จากซูดาน ที่สามารถเข้ามาตั้งราชวงศ์ปกครองอียิปต์ได้ ก่อน ที่ในเวลาต่อมาจะเป็นชาวอัสซีเรีย (Assyria) ที่เข้า มามีอำนาจแทน
  • 1046 BCE

    ราชวงศ์โจว(จีน)

    ราชวงศ์โจว(จีน)
    ราชวงศ์โจว
    ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว
  • 1000 BCE

    อารยธรรมโรมัน

    อารยธรรมโรมัน
    อารายธรรมโรมัน
    อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทาง ตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในแหลมอิตาลีประมาณ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า "โรมัน" พวกโรมันได้ขยายอิทธพล เข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอารยธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช และดินแดนอื่นๆ ทั้งในยุโรปและแอฟริกาเหนือ
  • 1000 BCE

    อารยธรรมเปอร์เซีย

    อารยธรรมเปอร์เซีย
    อารายธรรมเปอร์เซีย
    ชนเผ่าเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาอินโด-ยุโรเปียน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณทางเหนือของทะเลดำ ได้ก่อตัวและขยายอำนาจครอบครองอารยธรรมโบราณอื่นๆ และได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองของโลกยุคโบราณ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช พระองค์ได้ดำเนินนโยบายขยายดินแดนของเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง
  • Period: 1000 BCE to 146 BCE

    อารยธรรมโรมัน

    อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทาง ตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในแหลมอิตาลีประมาณ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า "โรมัน" พวกโรมันได้ขยายอิทธพล เข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอารยธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช และดินแดนอื่นๆ ทั้งในยุโรปและแอฟริกาเหนือ ทำให้อารยธรรมของโลกตะวันออกซึ่งผสมผสานอยู่ในอารยธรรมกรีกได้ขยาย เข้าไปในทวีปยุโรป และเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน
  • 900 BCE

    อีทรัสกัน(โรมัน)

    อีทรัสกัน(โรมัน)
    อีทรัสกัน (โรมัน)
    ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวก อีทรัสคันได้ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดนของพวกละติน และสถาปนากษัตริย์ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปีก่อน คริสต์ศักราช หลังจากขยายอำนาจปกครองได้ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สูญเสียอำนาจ และผสมกลมกลืนกับพวกละติน จนกลายเป็นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความเจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคันสร้างไว้ให้แก่อารยธรรมโรมันคือ การนำตัวอักษรกรีก เข้ามาใช้ในแหลมอิตาลี
  • 800 BCE

    ชาวอัลซีเรียน(อารยธรรมเมโสโปเตเมีย)

    ชาวอัลซีเรียน(อารยธรรมเมโสโปเตเมีย)
    ชาวอัสซีเรียน (เมโสโปเตเมีย)
    เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของกรุงบาบิโลน ต่อมาสามารถก่อตั้งจักรวรรดิอัสซีเรียได้สำเร็จ มีเมืองหลวงคือ เมืองนิเนเวห์ ชาวอัสซีเรียเป็นชนเผ่าที่รบเก่ง ภายหลังสามารถกรีฑาทัพลงมายึดครองบาบิโลเนียได้สำเร็จ อัสซีเรียมีความเจริญสูงสุดในสมัยของพระเจ้า “อัสซูบานิปาล” (Assurbanipal) ก่อนจะถูกทำลายลงโดยกองทัพผสมของเหล่าอริ อัสซีเรียนรับอารยธรรมจากสุเมเรียนเช่นกัน และได้ฝากอารยธรรมของชาตินักรบ
  • 700 BCE

    อินเดียเริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้

    อินเดียเริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้
    700 ปีก่อนคริสตศักราช
    สมัยประวัติศาสตร์ในอารยธรรมอินเดีย
    สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด – อารยัน
  • Period: 664 BCE to 332 BCE

    ยุคปลายราชวงค์อารยธรรมอียิปต์

    ยุคปลายราชวงศ์
    (Late Period 664-332 ปีก่อน ค.ศ.)
    ช่วงรอยต่อครั้งที่ 3 สิ้นสุดลง เมื่อชาวอัสซีเรียน หมดอำนาจลงในอียิปต์ แม้ว่าชาวอียิปต์จะกลับมามี อำนาจอีกครั้ง แต่ก็เพียงช่วงสั้น ๆ เพราะยังคงถูก ชนชาติอื่นเข้ารุกรานเสมอ ซึ่งท้ายที่สุดอียิปต์ก็ตก อยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิเปอร์เซีย (Persian Empire)
  • 612 BCE

    ชาวคลาเดียน(เมโสโปเตเมีย)ไม่มีรูปภาพจริงมีภาพวาดเสหมือนใช้อ้างอิงผู้คนในสมัยนนั้น

    ชาวคลาเดียน(เมโสโปเตเมีย)ไม่มีรูปภาพจริงมีภาพวาดเสหมือนใช้อ้างอิงผู้คนในสมัยนนั้น
    ชาวคลาเดียน (เมโสโปเตเมีย)
    เป็นเผ่าที่เข้าร่วมกับเผ่าอื่นในการทำสงครามกับอัสซีเรีย จนสามารถเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ของอัสซีเรียได้ในที่สุด และได้สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นมาใหม่ รวมทั้งได้ดำเนินการรื้อฟื้นอารยธรรมเก่าแก่ของบาบิโลนด้วย อารยธรรมที่สำคัญของคาลเดียน
  • 600 BCE

    สมัยพระเวท

    สมัยพระเวท
    สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
  • 550 BCE

    สมัยราชวงศ์คปตะ

    สมัยราชวงศ์คปตะ
    สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
  • 336 BCE

    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (กรีก)

    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (กรีก)
    ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระ เจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ครอบ ครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมา ผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้า อะเล็กซานเดอร์มหาราช
  • 332 BCE

    ราชวงศ์ปโตเลมีเข้ายึดครอง

    ราชวงศ์ปโตเลมีเข้ายึดครอง
    ราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemaic Dynasty 332-30 ปีก่อน ค.ศ.)
    1
    การเข้ายึดครองอียิปต์ภายใต้การนำของพระเจ้าอ เล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) เป็น จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemy) ราชวงศ์เชื้อสายกรีกที่เข้ามาปกครอง อียิปต์ ราชินีที่มีชื่อเสียงของอียิปต์อย่างพระนาง คลีโอพัตรา (Cleopatra) ก็มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลานี้
  • Period: 332 BCE to 30

    ยุคราชวงศ์ปโตเลมี

    ยุคสมัยนี้เป็นสมัยแห่งความเรืองรองครั้งสุดท้าย ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ท้ายที่สุดราว 30 ปี ก่อน ค.ศ. อียิปต์ก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ โรบับ (Roman Empire) เป็นอันสิ้นสด
  • 320 BCE

    สมัยจักรรดิคปตะที่1

    สมัยจักรรดิคปตะที่1
    สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
  • 300 BCE

    สมัยพุทธกาล

    สมัยพุทธกาล
    สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่น สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
  • 280 BCE

    จิ๋นซีฮ่องเต้(จีน)

    จิ๋นซีฮ่องเต้(จีน)
    จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีน[ทรงก่อตั้งราชวงศ์ฉิน และไม่ทรงใช้ตำแหน่ง หวัง เหมือนพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ชางและราชวงศ์โจวก่อนหน้านี้ แต่ทรงใช้ตำแหน่ง หฺวังตี้ อันเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์จีนทรงใช้สืบ ๆ กันมาอีกสองพันปีเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้” ผู้เป็นจักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนนั้น ท่านได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 ยอดฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลแห่งดินแดน
  • 264 BCE

    สงครามพูวนิก (โรมัน)

    สงครามพูวนิก (โรมัน)
    โรมันได้ทำ สงครามพูนิก (Punic War) กับคาร์เทจ (Carthage) ถึง 3 ครั้ง คาร์เทจเป็นนครริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของทวีป แอฟริกาในเขตประเทศตูนิเชียปัจจุบัน ในอดีตเป็นอาณานิคมที่ชาวฟินิเซียนสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในเขตทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้เจริญเติบโตและมั่งคั่งพร้อมทั้งมีอาณานิคมของตนหลายแห่ง
  • 202 BCE

    ราชวงศ์ฮั่น (จีน)

    ราชวงศ์ฮั่น (จีน)
    ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นไท่จู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น 2 ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก
  • 200 BCE

    สมัยราชวงศ์กุษาณะ

    สมัยราชวงศ์กุษาณะ
    สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana ) เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
  • 42 BCE

    ทิเบริอุส (โรมัน)

    ทิเบริอุส (โรมัน)
    พระโอรสใน ลิเวีย ดรุสซิลลาพระชายาองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิออกุสตุส กับทิเบริอุส คลอดิอุส เนโร พระเชษฐาเลี้ยงและพระสวามีองค์ที่ 3 ในจูเลียผู้อาวุโส พระราชธิดาในจักรพรรดิออกุสตุส ทั้งเป็นพระราชโอรสบุญธรรมและรัชทายาทในจักรพรรดิออกุสตุสด้วย
  • 37

    กาลิกุลา (โรมัน)

    กาลิกุลา (โรมัน)
    พระราชนัดดา(หลานน้องชาย) และพระราชนัดดาบุญธรรมในจักรพรรดิทิเบริอุส ทั้งเป็นพระโอรสใน เยอร์มานิคัส; พระราชปนัดดาในจักรพรรดิออกุสตุส องค์ที่3
  • 41

    คลอดิอุส (โรมัน)

    คลอดิอุส (โรมัน)
    พระปิตุลาในจักรพรรดิกาลิกุลา พระอนุชาในเยอร์มานิคัส พระภาติยะในจักรพรรดิทิเบริอุส พระราชนัดดา(หลานน้องสาว)และพระราชนัดดาบุญธรรมในจักรพรรดิออกุสตุส ทรงได้รับการสถาปนาโดย เพรโทเรียนการ์ดเป็น จักรพรรดิโรมัน ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 41 ถึง 54 จักรพรรดิคลอดิอุสเป็นสมาชิกของ ราชวงศ์จูลิโอ- คลอเดียน เกิดใน ตระกูลดรูซัส
  • 54

    เนโร (โรมัน)

    เนโร (โรมัน)
    เนโร (โรมัน)
    พระราชนัดดา(หลานพี่ชาย), พระราชโอรสเลี้ยง, พระชามาดาและพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิคลอดิอุส ทั้งเป็นพระราชภาคิไนย(ลูกน้องสาว)ในจักรพรรดิกาลิกุลา พระราชปนัดดา(เหลนน้องชาย)ในจักรพรรดิทิเบริอุส พระราชนัดดาในเยอร์มานิคัส รวมทั้งเป็นพระราชปทินัดดา(ลื่อ)ในจักรพรรดิออกุสตุส
  • 69

    เวสปาเซียน (โรมัน)

    เวสปาเซียน (โรมัน)
    เป็น จักรพรรดิโรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 69 ถึง ค.ศ. 79 จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ครองราชย์ใน ปีแห่งจักรพรรดิทั้งสี่ พระองค์ ทรงก่อตั้ง ราชวงศ์ฟลาเวียน ซึ่งปกครองจักรวรรดิเป็นเวลา 27 ปี ยึดอำนาจภายใต้การสนับสนุนของกองทัพโรมันตะวันออก (ฝ่ายตรงข้ามของ จักรพรรดิวีเทลลิอุส)
  • 96

    เนอร์วา (โรมัน)

    เนอร์วา (โรมัน)
    แนร์วาเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตนิน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิโดมิเชียนเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 96 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 98 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิทราจันเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา
  • 98

    ทราจัน (โรมัน)

    ทราจัน (โรมัน)
    เป็นจักรพรรดิโรมันระหว่างปี ค.ศ. 98 ถึง 117 เป็นที่จดจำในฐานะจักรพรรดิที่ดีองค์ที่สองจากห้าจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เนอร์วา–แอนโทนีนเขาเป็นผู้ปกครองที่ใจบุญและเป็นจักรพรรดิทหารที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งปกครองการขยายกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โรมันซึ่งในช่วงเวลานั้น เมื่อถึงเวลาที่เขาสิ้นพระชนม์จักรวรรดิโรมันก็ได้ขยายอาณาเขตไปถึงขีดสุด เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นออพติมัส ('ผู้ดีที่สุด') จากวุฒิสภา โรมัน
  • 117

    เฮเดรียน (โรมัน)

    เฮเดรียน (โรมัน)
    เป็นจักรพรรดิโรมันตั้งแต่ ค.ศ. 117 ถึง 138 ฮาเดรียนเกิดที่เมือง Italicaซึ่งอยู่ใกล้กับเมือง Seville ในปัจจุบัน ในสเปน ซึ่งเป็นชุมชนชาวอิตาลีในHispania
  • 138

    อันโตนินุส ปิอุส (โรมัน)

    อันโตนินุส ปิอุส (โรมัน)
    อันโตนีนุส ปิอุสทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่สี่ในบรรดา “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และไม่ได้รับการขนานนามว่า “ปิอุส” จนกระทั่งเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิแล้ว การที่ทรงได้รับนามเช่นนั้นอาจจะมาจากการที่ทรงบังคับให้สภาเซเนทแต่งตั้งให้พระราชบิดาเลี้ยงเป็นเทพ
  • 161

    มาร์คัสออเรลิอัส (โรมัน)

    มาร์คัสออเรลิอัส (โรมัน)
    พระราชโอรสบุญธรรมและรัชทายาทในจักรพรรดิเฮเดรียน
  • 209

    คาราคัลลา (โรมัน)

    คาราคัลลา (โรมัน)
    พระราชโอรสใน จักรพรรดิเซปติมิอุส เซเวอรุส ทรงปกครองร่วมกับจักรพรรดิเซเวอรัสและ จักรพรรดิเกตา ตั้งแต่ค.ศ. 209 ถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 211 และทรงปกครองร่วมกับจักรพรรดิเกตาถึง ธันวาคม ค.ศ. 211
  • 221

    ราชวงศ์ฉินหรือจิ๋น (จีน)

    ราชวงศ์ฉินหรือจิ๋น (จีน)
    ราชวงศ์ฉินหรือจิ๋น (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
    - ราชวงศ์แรกของยุคจักรวรรดิจีน
    - จิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน ทรงสามารถรวบรวมการปกครองแผ่นดินของจีนให้เป็นหนึ่งเดียวได้เป็นครั้งแรก
    - ก่อสร้างกำแพงเมืองจีน เพื่อต่อต้านผู้รุกรานทางตอนเหนือ
    - เริ่มการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด
  • 266

    ราชวงศ์จิ๋น (จีน)

    ราชวงศ์จิ๋น (จีน)
    เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีน ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 420 ถูกก่อตั้งสถาปนาโดยซือหม่าหยานหรือสุมาเอี๋ยน (เมื่อขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า พระเจ้าจิ้นอู่ตี้) บุตรชายคนโตของซือหม่าเจาหรือสุมาเจียว ผู้ซึ่งเคยได้รับการสถาปนาตั้งตนเป็นจิ้นอ๋องมาก่อน ราชวงศ์จิ้นมีมาก่อนยุคสมัยสามก๊ก และถูกรับช่วงต่อโดยสิบหกอาณาจักรในแผ่นดินจีนตอนเหนือ และราชวงศ์หลิวซ่งในแผ่นดินจีนตอนใต้
  • 306

    คอนสแตนตินที่1 มหาราช (โรมัน)

    คอนสแตนตินที่1 มหาราช (โรมัน)
    คอนสแตนตินที่1 มหาราช (โรมัน)
    พระราชโอรสในจักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัส, ได้รับการสถาปนาโดยกองทัพของพระราชบิดา จักรพรรดิกาเรลิอัสยอมรับเป็นซีซาร์ตะวันตกในค.ศ. 306 ได้รับการแต่งตั้งเป็นออกุสตุส (ตะวันตก) ในค.ศ. 307 โดนแม็กซิเมียนหลัง การสวรรคตของเซเวอรัสที่ 2; ปฏิเสธการเนรเทศซีซาร์ในค.ศ. 309
  • 308

    ลิซินิอุสที่ 1

    ลิซินิอุสที่ 1
    พระชามาดาในจักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัส, ได้รับการสถาปนาเป็นออกุสตุสตะวันตกโดยจักรพรรดิกาเลริอัส ค.ศ. 308 , เป็นปฏิปักษ์กับมาเซนทิอุส; เป็นออกุสตุสตะวันออก ค.ศ. 311 หลังการสวรรคตของจักรพรรดิกาเลริอัส (ร่วมกับ แม็กซิมินัสที่ 2); ชนะแม็กซิมินัสในสงครามกลางเมืองเพื่อเป็นจักรพรรดิตะวันออกลำพัง ในค.ศ. 313; สถาปนา วาเลริอุส วาเลนส์ ค.ศ. 317, และ มาร์ติเนียน ในค.ศ. 324 ในฐานะออกุสตุสตะวันตก, เป็นปฏิปักษ์กับคอนสแตนติน
  • 367

    กราเทียน (โรมัน)

    กราเทียน (โรมัน)
    พระราชโอรสในจักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ 1, สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิ'น้อย' ในค.ศ. 367, และกลายเป็นจักรพรรดิ 'อาวุโส' (ฝั่งตะวันตก) หลังพระราชบิดาสวรรคต
  • 518

    ราชวงศ์สุย (จีน)

    ราชวงศ์สุย (จีน)
    ราชวงศ์สุย (จีน)
    จักรพรรดิสุยเหวิน ดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้
  • 618

    ราชวงศ์ถัง (จีน)

    ราชวงศ์ถัง (จีน)
    ราชวงศ์ถัง (จีน)
    เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 618 ถึง ค.ศ. 907 โดยในช่วงสั้น ๆ ระหว่าง ค.ศ. 690 ถึง ค.ศ. 705 ราชวงศ์อู่โจวได้เข้ามาแทนที่การปกครองของราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ถังสืบเนื่องต่อจากราชวงศ์สุยและสิ้นสุดลงเป็นยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร นักประวัติศาสตร์มักมองว่าราชวงศ์ถังเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมจีน และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมสากล[7] ดินแดนของราชวงศ์ถังที่ได้มาจากการต่อสู้ทางทหารในช่วงต้น เทียบได้กับดินแดนของราชวงศ์ฮั่น
  • 960

    ราชวงศ์ซ่ง (จีน)

    ราชวงศ์ซ่ง (จีน)
    ราชวงศ์ซ่ง (จีน)
    เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองระหว่างปี 960 ถึง 1279 ราชวงศ์นี้ก่อตั้งโดยจักรพรรดิซ่งไท่จู่ ผู้ซึ่งแย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์โจวยุคหลังและไปพิชิตส่วนที่เหลือของสิบอาณาจักร สิ้นสุดยุคห้าวงศ์สิบรัฐ ราชวงศ์ซ่งมักขัดแย้งกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์เซี่ยตะวันตก และราชวงศ์จินทางตอนเหนือของจีน
  • 1206

    สมัยสุลตานเดลฮี

    สมัยสุลตานเดลฮี
    สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
  • Period: 1206 to 1526

    สมัยสุลต่านเดนฮี(อารยธรรมอินเดีย)

    สุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
  • 1271

    ราชวงศ์หยวน (จีน)

    ราชวงศ์หยวน (จีน)
    ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1271 เมื่อมองโกลโค่นราชวงศ์ซ่งลงได้สำเร็จและยึดครองดินแดนจีนได้ทั้งหมด กุบไลข่านได้ประกาศตั้งราชวงศ์แบบจีนขึ้นอย่างเป็นทางการ[1] มีการตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน
  • 1271

    ราชวงศ์หยวน (จีน)

    ราชวงศ์หยวน (จีน)
    ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1271 เมื่อมองโกลโค่นราชวงศ์ซ่งลงได้สำเร็จและยึดครองดินแดนจีนได้ทั้งหมด กุบไลข่านได้ประกาศตั้งราชวงศ์แบบจีนขึ้นอย่างเป็นทางการ[1] มีการตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน
  • 1368

    ราชวงศ์หมิง (จีน)

    ราชวงศ์หมิง (จีน)
    ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น
  • 1526

    สมัยจักรวรรดิโมกุล

    สมัยจักรวรรดิโมกุล
    สมัยจักรวรรดิโมกุล ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858
    กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง
  • Period: 1526 to

    สมัยจักรวรรดิโมกุล(อารยธรรมอินเดีย)

    สมัยจักรวรรดิโมกุล ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858
  • สร้างทัชมาฮาล(อารยธรรมอินเดีย)

    สร้างทัชมาฮาล(อารยธรรมอินเดีย)
    ในปี ค.ศ. 1632
    กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง
  • ราชวงศ์ชิง (จีน)

    ราชวงศ์ชิง (จีน)
    ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงของชาวจีนฮั่นอยู่ในสภาพอ่อนแอ เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ
  • สมัยกลางและสมัยใหม่ในอารยธรรมอินเดีย

    สมัยกลางและสมัยใหม่ในอารยธรรมอินเดีย
    ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย (3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947